ปภ.เตือนหลับในรถสตาร์ทเครื่องยนต์ ..เสี่ยงเสียชีวิตไม่รู้ตัว

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--9 ก.พ.--กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือนห้ามนอนหลับในรถที่สตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้ พร้อมแนะหากจำเป็นต้องใช้รถเป็นที่นอนหลับชั่วคราวระหว่างการเดินทาง ให้จอดรถในบริเวณที่ปลอดภัยแล้วดับเครื่องยนต์ทันที แง้มกระจกลงข้างละประมาณ 2 – 3 นิ้ว เพื่อระบายอากาศ จะช่วยให้อากาศในห้องโดยสารถ่ายเทสะดวกขึ้น ทำให้ปลอดภัยจากการสูดดมสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ส่งผลให้เสียชีวิตโดยไม่รู้ตัว นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า หลายคนคงไม่คาดคิดว่าการนอนหลับในรถที่สตาร์ทเครื่องยนต์ไว้เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต บ่อยครั้งจึงมักได้ยินข่าวมีผู้เสียชีวิตด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์จากการสูดดมก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ที่มีส่วนผสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสารพิษเข้าสู่ร่างกาย เพราะการสตาร์ทรถทิ้งไว้ ทำให้ไอเสียและก๊าซพิษจากภายนอกถูกพัดลมแอร์ดูดเข้ามาในห้องโดยสารส่งผลให้ผู้ที่นอนหลับในรถสูดดมสารพิษเข้าสู่ร่างกายทีละนิดจนเสียชีวิต เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอแนะวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องหากจำเป็นต้องจอดรถนอนในระหว่างการเดินทาง ดังนี้ หากมีอาการง่วงนอนในขณะขับขี่ ให้จอดรถพักในบริเวณที่ปลอดภัยและเหมาะสม เช่น สถานีบริการน้ำมัน จุดพักรถริมทาง ป้อมตำรวจทางหลวง เป็นต้น เพื่อพักล้างหน้า ดื่มกาแฟ และปรับเปลี่ยนอิริยาบถ จะช่วยให้ร่างกายคลายอาการง่วงนอน กรณีที่จำเป็นต้องหลับในรถ เมื่อจอดรถแล้วให้ดับเครื่องยนต์ทันที เพื่อป้องกันการเคลิ้มหลับ พร้อมลดระดับกระจกลงทุกข้างๆ ละประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อระบายอากาศและรับลมจากภายนอก จากนั้นให้บิดกุญแจไปที่จังหวะออน เพื่อให้ระบบไฟฟ้าทำงาน แล้วจึงเปิดสวิทซ์แอร์ เมื่อเปิดแล้วให้หาปุ่มที่เขียนว่า A/C ซึ่งพัดลมแอร์จะช่วยให้อากาศภายในห้องโดยสารรถหมุนเวียนและถ่ายเทสะดวกขึ้น ที่สำคัญ ไม่ควรนอนหลับในรถเป็นเวลานานเกินไป ควรพักหลับประมาณ 30 – 40 นาที ให้คลายอาการอ่อนล้า เมื่อหายจากอาการง่วงนอนแล้วค่อยเดินทางต่อ จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุง่วงหลับใน และการเสียชีวิตจากการนอนหลับในรถ สุดท้ายนี้ เพื่อความปลอดภัย ผู้ขับขี่ไม่ควรใช้รถเป็นสถานที่พักหลับเพราะการสูดดมก๊าซพิษปริมาณมากเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เสียชีวิตได้โดยไม่รู้ตัว -กผ-

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+วิบูลย์ สงวนพงศ์วันนี้

NT ร่วม ปภ. ทดสอบระบบ Cell Broadcast ในพื้นที่ครั้งแรก แจ้งผลมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ครอบคลุม เสริมความพร้อมระบบเตือนภัยแห่งชาติ

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติผ่านเทคโนโลยี Cell Broadcast เป็นครั้งแรกของประเทศในลักษณะเสมือนจริงในพื้นที่ระดับเล็ก ภายในอาคารและบริเวณโดยรอบ ประกอบด้วย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ศาลากลางจังหวัดสงขลา และอาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา กรุงเทพมหานคร โดยผลการทดสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนไปยัง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกั... NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง — กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้...

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...