วิศวฯ จุฬาฯ เปิดตัวโครงการความร่วมมือระหว่างคณะฯ กับภาคอุตสาหกรรม เตรียมพร้อมรับมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 58

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--5 มิ.ย.--4D Communications

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงวิสัยทัศน์แห่งการขับเคลื่อนประเทศ ในโอกาส วันคล้ายวันสถาปนาคณะฯ ครบ 99 ปี ด้วยการประกาศเดินหน้าโครงการความร่วมมือระหว่าง คณะวิศวฯ จุฬาฯ กับภาคอุตสาหกรรมอย่างเป็นทางการ เพื่อปูทางสู่ความแข็งแกร่งในด้าน การพัฒนาศาสตร์ทางวิศวกรรมของไทย ทั้งในส่วนของบริษัทสมาชิกตลอดจนการพัฒนาทักษะของ เหล่าคณาจารย์และนิสิตรุ่นใหม่ของคณะฯ ให้พร้อมเพื่อรับมือกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่กำลังจะมาถึงในปี 2558 นี้ รศ. ดร.บุญสม เลิศหิรัญวงศ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยล่าสุดว่า ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวฯ จุฬาฯ ครบรอบ 99 ปีในปีนี้ คณะฯ ต้องการที่จะสร้างสรรค์โครงการ พิเศษขึ้นเพื่อเสนอเป็นอีกหนึ่งพลังหลักในการสร้างความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ให้แก่ศาสตร์ด้านวิศวกรรมและ ภาคอุตสาหรรมเพื่อผลในเชิงภาพรวมอย่างเป็นรูปธรรม จึงเป็นที่มาของการเปิดตัวโครงการความร่วมมือ ระหว่างคณะวิศวฯ จุฬาฯ กับภาคอุตสาหกรรม (Industrial Liaison Program) หรือ ILP ในครั้งนี้ “คณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการพัฒนาศาสตร์ ทางวิศวกรรมของประเทศ ทั้งในส่วนของการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีในภาคเอกชนและการพัฒนากระบวนการ เสริมสร้างและส่งต่อความรู้จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญไปสู่อาจารย์รุ่นใหม่และนิสิตของคณะฯ จึงเป็นที่มาของการ ก่อตั้งโครงการ ILP ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือในลักษณะของการเป็นสมาชิกโครงการ โดยทางคณะฯ จะมอบหมายผู้ประสานงานโครงการเพื่อดูแลสมาชิกแต่ละบริษัทอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สมาชิกมั่นใจได้ว่าจะได้รับ ประโยชน์อย่างเต็มที่จากสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่โครงการ ILP ได้จัดเตรียมไว้ให้ อาทิเช่น การเข้าเยี่ยมชมโรงงาน และการให้คำปรึกษาโดยกลุ่มคณาจารย์ของคณะฯ ที่มีความเชี่ยวชาญทางวิศวกรรมในทุกด้าน รวมไปถึงการให้บริการอื่นๆ เช่น การทดสอบทางวิศวกรรม การเป็นสมาชิกห้องสมุดคณะฯ การเข้าร่วมฟังและเสนอหัวข้อในการบรรยายพิเศษที่จัดขึ้นโดยคณะฯ การใช้บริการสถานที่และสิ่งอำนวย ความสะดวกต่าง ๆ ของคณะฯ รวมไปถึงการอำนวยความสะดวกในการคัดเลือกนิสิตในการฝึกงานภาคฤดูร้อน และการจ้างงานบัณฑิตใหม่ เป็นต้น” รศ. ดร.บุญสม เลิศหิรัญวงศ์ กล่าว ทั้งนี้ ปัจจุบันโครงการความร่วมมือระหว่างคณะวิศวฯ จุฬาฯ กับภาคอุตสาหกรรม (Industrial Liaison Program) หรือ ILP ได้มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการแล้ว ได้แก่ กลุ่มบริษัทเอไอเอส โดยคุณสมประสงค์ บุญยะชัย ซึ่งถือเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งรายแรกของโครงการ ILP ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมของคณะฯ สำหรับในส่วนของ การสนับสนุนโครงการนั้น ทางคณะฯ ถือว่าสมาชิกทุกท่านเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการร่วมพัฒนานิสิตวิศวกรรม รุ่นใหม่ให้มีทักษะทางด้านวิศวกรรมที่ตรงต่อความต้องการของภาคเอกชน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 ที่จะถึงนี้ -กผ-

ข่าวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน+จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันนี้

'สินิตย์' เตรียมเยือนกัมพูชา ร่วมวงประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลักดันร่างวิสัยทัศน์ฯ ภายหลังปี 2568 และการพัฒนาที่ยั่งยืน

'สินิตย์' เตรียมประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 21 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา 10 พ.ย.นี้ ร่วมสรุปผลการดำเนินงาน ทั้งการอัปเกรด ATIGA การฟื้นฟูเการท่องเที่ยวหลังโควิด-19 ผลการประเมินความพร้อมของติมอร์-เลสเต เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ก่อนชงสุดยอดผู้นำอาเซียน พร้อมถกรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน-ขนส่ง-เกษตรและป่าไม้ ผลักดันแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน และความเป็นกลางทางคาร์บอน นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรี

ภายใต้สภาพแวดล้อมของการเปลี่ยนแปลงที่ผันผ... เปิดรับสมัครแล้ว!!! หลักสูตร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขั้นสูง (Advance HR : Survival Beyond Tomorrow) — ภายใต้สภาพแวดล้อมของการเปลี่ยนแปลงที่ผันผวน รวดเร็ว ...

วันที่ 22 กรกฎาคม 2562 ได้มีการจัดพิธีเปิ... อพวช.ร่วมสมาคมวิทย์ฯ เปิดค่ายประกวดโครงงานวิทย์ ASPC 2019 — วันที่ 22 กรกฎาคม 2562 ได้มีการจัดพิธีเปิด "ค่ายประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซี...

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เดินหน้าขับเคลื่อน ก... “คุณวุฒิวิชาชีพ โอกาสในการทำงานในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” — สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เดินหน้าขับเคลื่อน การเทียบเคียงกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ สู่ กรอบคุณวุฒิอ้างอิ...