ใช้ชีวิตดี ความดันโลหิตดี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--17 พ.ค.--สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี

องค์การอนามัยโลกกล่าวว่าทั่วโลกมีผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเกือบถึงพันล้านคน ซึ่งสองในสามของจำนวนนี้อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา โดยพบว่าคนในวัยผู้ใหญ่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทยเรา มี 1 คน ใน 3 คน ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง และเป็น 1 ในสาเหตุสำคัญของการตายก่อนวัยอันควร และคาดว่าในปี พ.ศ. 2568(ค.ศ.2025) ในประชากรกว่า 1.56 พันล้านคน จะเป็นความดันโลหิตสูง แต่ละปีประชากรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้เสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 1.5 ล้านคน นายแพทย์ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่าสถานการณ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ (จังหวัดอำนาจเจริญ นครพนม อุบลราชธานี มุกดาหาร ศรีสะเกษ ยโสธรและสกลนคร) พบว่าในปี 2544 – 2552 มีสถิติการตายแนวโน้มสูงมากที่สุดคือจังหวัดอุบลราชธานี และในปี 2553 พบว่ามีสถิติการตายสูงสุดคือจังหวัดอุบลราชธานี 7.74 คน ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือจังหวัดยโสธร 3.71 คน ต่อประชากรแสนคน และน้อยที่สุดคือจังหวัดสกลนคร 1.16 คน ต่อประชากรแสนคน นายแพทย์ศรายุธ กล่าวอีกว่า เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการ แต่โรคความดันโลหิตสูงสามารถทำให้เกิดโรคแก่ร่างกาย เช่นทำให้หัวใจต้องทำงานหนักอาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งของโรคอัมพาต และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ผู้ที่ไม่ได้รักษาความดันโลหิตสูงจะมี โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น 3 เท่า มีโอกาสเกิดโรคหัวใจวายเพิ่มขึ้น 6 เท่า มีโอกาสเกิดโรคอัมพาตเพิ่มขึ้น 7 เท่า ดังนั้นการรักษาความดันโลหิตสูงจึงเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่างๆข้างต้น โดยการตรวจวัดความดันเป็นระยะ ควรรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์โดยการลดน้ำหนักลง 10% สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน งดอาหารเค็มหรือเกลือไม่ควรได้รับเกลือเกิน 6 กรัมต่อวัน รับประทานอาหารไขมันต่ำ งดการสูบบุหรี่ รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำโดยการออกกำลังวันละ 30-45 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วัน รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียม สำหรับวันความดันโลหิตสูงโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปี ทางกระทรวงสาธารณสุข และสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ได้กำหนดคำขวัญรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก คือ “ใช้ชีวิตดี ความดันโลหิตดี” เพื่อเตือนใจให้ประชาชนตระหนักถึงการใช้ชีวิตมีความสัมพันธ์กับความดันโลหิต ด้วย -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวศรายุธ อุตตมางคพงศ์+โรคความดันโลหิตสูงวันนี้

แพทย์เตือน กินอาหารรสเค็ม เสี่ยงความดันโลหิตสูง

แพทย์เตือนการกินอาหารรสเค็มจัด กินผักผลไม้น้อย ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ มีภาวะเครียด และอายุที่เพิ่มขึ้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความดันโลหิตสูง นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จ.อุบลราชธานี (สคร.7) เปิดเผยว่า การกินอาหารรสเค็มจัด กินผักผลไม้น้อย ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ มีภาวะเครียด และอายุที่เพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จะมีระดับความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท

นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงา... สคร.10 อุบลฯ เตือน ประชาชนระวังโรคหน้าหนาว โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ — นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี (สคร....

สคร.10 อุบลฯ เตือนภัยจากการจุดประทัดช่วงเ... สคร.10 อุบลฯ เตือนภัยจากการจุดประทัดออกพรรษา เจ็บปีละเกือบ 700 คน — สคร.10 อุบลฯ เตือนภัยจากการจุดประทัดช่วงเทศกาลออกพรรษา เจ็บปีละเกือบ 700 คน กลุ่มเด็กแ...

นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงา... สคร.10 อุบลฯ แนะวิธีป้องกันไวรัสซิกา ย้ำไม่ให้ยุงเกิด ไม่ให้ยุงกัด ป้องกันซิก้าได้ 100 % — นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1...

สคร.10 อุบลฯ ประกาศเตือนเกษตรกรระวังโรคฉี... สคร.10 อุบลฯ เตือน ฝนตกทำโรคฉี่หนูระบาด พบ 5 จังหวัดอีสานใต้ป่วยกว่าสามร้อยราย — สคร.10 อุบลฯ ประกาศเตือนเกษตรกรระวังโรคฉี่หนู เนื่องจากฝนตกหนัก ทำให้มีน้...

นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงา... สคร.10 อุบลฯ เผย หน้าฝน ไข้หวัดใหญ่ระบาด ตั้งแต้ต้นปี พบผู้ป่วยแล้ว ห้าหมื่นกว่า ราย — นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จ....

สคร.10 อุบลฯ เตือนเกษตรกร ผู้มีแผลที่เท้า... สคร.10 อุบลฯ เตือนเกษตรกร ผู้มีแผลที่เท้าและลงแช่น้ำเป็นเวลานาน ให้ระวังโรคฉี่หนู — สคร.10 อุบลฯ เตือนเกษตรกร ผู้มีแผลที่เท้า และลงแช่น้ำเป็นเวลานาน ให้ระ...