ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ จับมือคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ฮาลาล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--22 มี.ค.--pla communication

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ จับมือคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ฮาลาลผลักดันประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำตลาดอาหารฮาลาลโลก ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานแถลงข่าวความร่วมมือด้านการ ยกระดับคุณภาพและการมาตรฐานฮาลาล ตามแนวทาง “ศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ” ระหว่าง คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมเปิดตัวศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลฯ บริเวณ ชั้น 12 ที่ใช้สำหรับการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ เพื่อสร้างศักยภาพบุคลากรฮาลาล ในการตรวจประเมินรับรองและให้คำปรึกษาฮาลาล โดยการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมฮาลาลสนับสนุนการดำเนินงาน ดังเช่น การตรวจประเมินด้วยระบบอิเล็คโทรนิกเต็มระบบเป็นที่แรกในโลก รองศาสตราจารย์ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ ตลาดฮาลาล มีการแข่งขันสูงทั้งด้านคุณภาพและราคา ผู้ครอบครองตลาดส่วนใหญ่คือ ประเทศที่พัฒนาแล้วที่มิใช่ประเทศมุสลิม ที่ได้รับการยอมรับในภาพลักษณ์ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ หากประเทศไทยประสงค์แข่งขันในระยะยาวอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพการรับรองฮาลาลขององค์กรในศาสนาอิสลามให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เสริมด้วยการพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร เห็นความสำคัญด้านนี้จึงได้ร่วมกับ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างหลักสูตรและจัดอบรมบุคลากรฮาลาล ประจำสำนักงาน เพื่อสร้างแนวทาง “ศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ” พร้อมภาพลักษณ์ “วิทยาศาสตร์ฮาลาล อัตลักษณ์ประเทศไทย” ให้เป็นที่ปรากฏ โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ยังผลักดันอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลไทยให้ก้าวเข้าสู่ระบบธุรกิจสร้างสรรค์ (Creative Business) อย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยบูรณาการนวัตกรรมของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในงาน World Halal Research Summit 2011 จากประเทศมาเลเซีย เข้ากับระบบการผลิตและการตรวจประเมินได้แก่ ระบบการบริหารจัดการเพื่อการผลิตอาหารฮาลาลปลอดภัยตามมาตรฐาน HAL-Q ( Hygiene-Assurance-Liability Quality System ) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ SILK เพื่อการควบคุมโลจิสติกส์ตามศาสนบัญญัติอิสลาม (Shariah-compliant ICT Logistics Kontrol) ระบบการตรวจวิเคราะห์ซับซ้อนทางนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล และสบู่ดินเพื่อการชำระล้างสิ่งสกปรกตามบัญญัติในศาสนาอิสลามหรือนญิส ที่พัฒนาขึ้นโดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ซึ่งได้รับการรับรองฮาลาลจากประเทศไทย อินโดนีเซียและสิงค์โปร์ และได้รับการวินิจฉัย (ฟัตวา) โดยคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานครว่าสามารถชำระล้างนญิสทุกชนิด ปัจจุบันนี้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสิบประเทศที่ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลใหญ่ที่สุดในโลก แต่ละปีผลิตภัณฑ์อาหารจากประเทศไทยส่งออกสู่ตลาดโลกไม่ต่ำกว่า 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในส่วนนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ส่งออกสู่ 57 ประเทศมุสลิม โดยมีโรงงานอาหาร ฮาลาลปลอดภัยในเขตกรุงเทพมหานครกว่า 250 โรงงานมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในบทบาทดังกล่าว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ : คุณกุลวีณ์ (ปลา) โทร 081 755 0645 ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : โทร 02-218 1054 ต่อ 109-113 -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลวันนี้

โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ร่วมกับยูนิโคล่ แถลงข่าวโครงการ Happy Gloves "ถุงมือปันสุข เพื่อน้อง เพื่อโลก" และพิธีส่งมอบถุงมือเพื่อเด็กพิการทางสมอง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ร่วมกับบริษัท ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) จัดงานแถลงข่าวโครงการ Happy Gloves "ถุงมือปันสุข เพื่อน้อง เพื่อโลก" และพิธีส่งมอบถุงมือเพื่อเด็กพิการทางสมอง เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2568 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารบริหารและปฏิบัติการ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ และ คุณโยชิทาเกะ วาคากุวะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) เป็นประธานในงานแถลงข่าวและพิธีมอบถุงมือในครั้งนี้ Happy Gloves "ถุงมือปันสุข เพื่อน้อง" เป็น

นางสมบัติศิริ เชาวกุล (ที่ 2 จากขวา) กรรม... efin Group ผนึกจุฬาฯ เสริมทักษะฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์ ปั้นกำลังคนยุค AI — นางสมบัติศิริ เชาวกุล (ที่ 2 จากขวา) กรรมการ บริษัท ออนไลน์แอสเซ็ท จำกัด หรือ efin ...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานจัด... จุฬาฯ ยกพื้นที่สยามสแควร์ให้เกษตรกรไทยขายสินค้าเกษตรคุณภาพ ส่งตรงจากฟาร์มไกลสู่ใจกลางเมือง — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงก...

โรงพยาบาลหัวเฉียว ร่วมกับ ชีวามิตร จัดการ... โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดการบรรยายวิชาการ เรื่อง "Palliative care" — โรงพยาบาลหัวเฉียว ร่วมกับ ชีวามิตร จัดการบรรยายวิชาการ เรื่อง "Palliative Care" โดยได้รับ...