จากความสำเร็จของประเทศอินเดีย ปัจจุบัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใกล้จะได้รับหนังสือรับรอง ว่าปราศจากโรคโปลิโอ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--10 พ.ค.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์

จำนวนสมาชิกโรตารีที่มีมากกว่า 35,000 คน จาก 160 ประเทศทั่วโลก จะมารวมตัวกันในกรุงเทพฯ เพื่อร่วมการประชุมใหญ่ประจำปีของโรตารีสากล โดยหัวข้อหลักของการประชุมคือความสำเร็จล่าสุดในการผลักดันเพื่อกวาดล้างโรคโปลิโอในทวีปเอเชีย ในเดือนกุมภาพันธ์ ประเทศอินเดียซึ่งอดีตเคยเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคโปลิโอที่ถูกส่งออกไปนอกประเทศมากที่สุดในโลก บัดนี้ได้กลายมาเป็นประเทศสุดท้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก) ที่ได้ก้าวพันจากการมีโรคโปลิโอเป็นโรคเฉพาะถิ่น และหากอินเดียสามารถปราศจากโรคโปลิโอได้ 3 ปี จะทำให้ภูมิภาคนี้ซึ่งรวมถึงประเทศไทยได้รับหนังสือรับรองว่าปราศจากโรคโปลิโอ ประเทศไทยปราศจากโรคโปลิโอตั้งแต่ พ.ศ. 2544 โดยในต้นทศวรรษที่ 1980 ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยโรคโปลิโอประมาณ 300 รายในแต่ละปี และใน พ.ศ. 2533 หรือ 2 ปี หลังจากที่โรตารีได้ช่วยเปิดตัว โปรแกรมการริเริ่มกวาดล้างโรคโปลิโอทั่วโลก พร้อมกับพันธมิตรผู้นำ ได้แก่ องค์การอนามัยโลก ยูนิเซฟ และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวนผู้ป่วยโรคโปลิโอได้ลดลงไปอย่างมาก นับตั้งแต่นั้นมา จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคโปลิโอทั่วโลกได้ลดลงไป 99% จากเดิม 350,000 รายต่อปี เหลือไม่ถึง 700 รายใน พ.ศ. 2554 ทั้งนี้ ยังเหลือ 3 ประเทศที่ยังคงมีการระบาดของโรคโปลิโอ ได้แก่ อัฟกานิสถาน ไนจีเรีย และปากีสถาน อย่างไรก็ตาม ประเทศอื่นๆ ยังคงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจาก “การนำเข้า” มาจากประเทศที่มีการระบาด ในปัจจุบัน สโมสรโรตารีทั่วโลกได้บริจาคเงินมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (30.7 พันล้านบาท) เพื่อใช้ผลักดันการกวาดล้างโรคโปลิโอ การประชุมโรตารีสากลจะเน้นเรื่องการกวาดล้างโรคโปลิโอ ในวันอังคารที่ 8 พฤษภาคม - ดร. บรู๊ซ อิลวอร์ด ผู้ช่วยอธิบดีสำหรับโรคโปลิโอ การประสานงานสถานการณ์ฉุกเฉินและการประสานงานระหว่างประเทศขององค์การอนามัยโลก จะให้ข้อมูลล่าสุดของการกวาดล้างโรคโปลิโอ (วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม 11:00 น.) ที่ห้องชาเลนเจอร์ฮอลล์ 1 และ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี (ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค อารีน่า) - ตามด้วยการแสดงแสงเลเซอร์ในห้องประชุมเพลนารี เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองของสมาชิกโรตารี สำหรับความสำเร็จในการระดมเงินทุนเพิ่มเติมได้อีก 200 ล้านเหรียญสหรัฐ (6.1 พันล้านบาท) สำหรับการกวาดล้างโปลิโอนอกเหนือจากเงินจำนวน 355 พันล้านเหรียญสหรัฐ (10.9 พันล้านบาท) ที่ได้รับจาก มูลนิธีบิลล์และเมลินดา เกทส์ โดยเงินจำนวนทั้งหมดนี้จะนำไปใช้เพื่อการให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโรคที่สามารถป้องกันได้โดยวัคซีนซึ่งโรคดังกล่าวยังคงทำให้เด็กเป็นอัมพาตอยู่อย่างต่อเนื่อง - ในวันเดียวกันนี้ ผู้นำโรตารีจะหารือยเกี่ยวกับกลยุทธ์เพื่อทำให้กลุ่มประเทศ จี8 และรัฐบาลผู้ร่วมบริจาคอื่นๆ ให้บริจาคเงินที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานให้บรรลุผล (14:30 น. –16:00 น. วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม) ณ ห้องจูปิเตอร์ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี (ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค อารีน่า) การประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างเข้มข้นนี้ประกอบไปด้วยผู้แทนและผู้ร่วมอภิปราย ซึ่งได้แก่ อาซิซ เมมอน ประธานโปลิโอพลัสโรตารี ประเทศปากีสถาน ไซมอน มอสส ประธานร่วมของโครงการความยากจนทั่วโลก โรเบิร์ต เพนนิคอทท์ สมาชิกโรตารี ซึ่งได้เดินทางไปยังประเทศออสเตรเลียเพื่อสร้างความตระหนักและเพิ่มเงินทุนเพื่อการกวาดล้างโรคโปลิโอ และ เอซรา เทสโฮม ฮีโร่ของไทม์ แมกกาซีน เกี่ยวกับสุขภาพทั่วโลก และสมาชิกโรตารีที่เป็นผู้นำทีมอาสาสมัครการให้วัคซีน มากว่า 10 ปี โรตารี เป็นองค์กรสากลของผู้นำด้านธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญที่บำเพ็ญประโยชน์และช่วยสร้างสวัสดิการและสันติภาพในโลก โรตารีมีสมาชิกชายและหญิงทั่วโลกกว่า 1.2 ล้านคน โดยเป็นสมาชิกของสโมสรโรตารีจำนวน 34,000 แห่ง ในกว่า 200 ประเทศและภูมิภาค สิ่งสำคัญอันดับที่หนึ่งของโรตารีคือการกวาดล้างโรคโปลิโอ สำหรับวีดีโอที่มีคุณภาพสำหรับการออกอากาศและภาพนิ่งของสมาชิกโรตารีเกี่ยวกับการให้วัคซีนกับเด็กเพื่อป้องกันโรคโปลิโอ ให้ไปที่ Media Center-นท-

ข่าวองค์การอนามัยโลก+องค์การอนามัยโลวันนี้

GSK ร่วมรณรงค์ "สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก 2025" ชูการป้องกันโรคสำหรับทุกวัย

องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ทุกวันที่ 24-30 เมษายนของทุกปีถือเป็น "สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก" ซึ่งเป็นแคมเปญด้านสาธารณสุขระดับโลกเพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันโรค โดยในปีนี้ได้กำหนดธีม "Immunization for All is Humanly Possible" เพื่อย้ำถึงความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันทั่วโลกสำหรับทุกคนว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถทำได้ ด้วยความมุ่งหวังให้ผู้คนทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ได้รับการปกป้องจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนมากยิ่งขึ้น

องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (... การต่อสู้กับวัณโรค: ทำไมการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ — องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (TB) อาจกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักจากการติดเชื้อทั่วโลก...

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... สธ. จับมือภาคีหนุนส่งนมแม่ฟรี ดันเป้าเด็กแรกเกิดกินนมแม่ 6 เดือนแรก มากกว่าร้อยละ 50 — นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในโอกาสเ...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสาร... นมแม่มีประโยชน์ กรมอนามัย แนะ ทารก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ แนะ ทารกกินน...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. เตรียมพร้อมติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อหิวาตกโรค-แนะยึดหลัก "กินร้อน ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ" — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.)...

สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (ส... งานประกาศผลการประกวดคลิปสั้น The PAUSE Project : eyes up phone down เดินเท้าปลอดภัย — สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับองค์การอนามัยโล...