ผลวิจัยล่าสุดเผยผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 จำนวนมากรู้สึกซึมเศร้าขณะที่เกิดอาการคึกเกินเหตุ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เวียนนา--17 ต.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ / อินโฟเควสท์


- สำหรับเผยแพร่นอกประเทศจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาเท่านั้น

การศึกษา Investigating Manic Phases And Current Trends in Bipolar (IMPACT) ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อศึกษาผลกระทบของอาการคึกเกินเหตุในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 (bipolar I) เผยให้เห็นว่า กว่า 3 ใน 4 ของผู้ป่วยที่ตอบแบบสอบถามรู้สึกว่าโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 ทำให้ไม่ค่อยมีหวังว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิต

ลุนด์เบค (Lundbeck) ประกาศผลการศึกษาระดับนานาชาติในผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 ซึ่งพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากที่รู้สึกซึมเศร้าขณะที่เกิดอาการคึกเกินเหตุ[1] โดยการศึกษา IMPACT พบว่า 64% ของผู้ป่วยรู้สึกซึมเศร้าขณะที่เกิดอาการคึกเกินเหตุ[1] ทั้งนี้ โรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 เป็นโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยจะมีอาการคึกและซึมเศร้าสลับกันเป็นช่วงๆ หรือทั้งสองอารมณ์ผสมกัน

“ผลการศึกษา IMPACT แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 จำนวนมากรู้สึกซึมเศร้าขณะที่เกิดอาการคึกเกินเหตุ” ศจ.เอดูอาร์ด วิเอตา (Professor Eduard Vieta) ผู้อำนวยการโครงการโรคอารมณ์สองขั้วแห่งมหาวิทยาลัยบาร์เซโลนา กล่าว “อาการซึมเศร้าอาจส่งผลกระทบอย่างหนักต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 ซึ่งผลกระทบนี้จะยิ่งหนักขึ้นเมื่ออาการซึมเศร้าเกิดขึ้นพร้อมกับอาการคึก ดังนั้นเราจำเป็นต้องศึกษาต่อไปเพื่อพัฒนาวิธีการบริหารจัดการโรคอย่างมีประสิทธิภาพ”

นอกจากนั้นแล้ว โรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 ยังส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์และหน้าที่การงานของผู้ป่วยด้วย โดย 45% ของผู้ป่วยที่ตอบแบบสอบถามต้องตกงาน และ 38% ต้องแยกกันอยู่หรือหย่าขาดจากคู่ครองเพราะโรคนี้ ขณะเดียวกันกว่า 3 ใน 4 (76%) ยังรู้สึกว่าโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 ทำให้ไม่ค่อยมีหวังว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิต[1]

“โรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 สามารถส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว และเพื่อนฝูง” พอล อาร์ทีล (Paul Arteel) กรรมการบริหาร Global Alliance of Mental Illness Advocacy Networks (GAMIAN) Europe กล่าว “การศึกษา IMPACT พบว่าผู้ป่วยจำนวนมากมองอนาคตในแง่ร้ายมากขึ้นหลังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ และนั่นอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อความรู้สึกและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย”

ผู้เข้าร่วมการศึกษา IMPACT ประกอบด้วยผู้ป่วยอายุระหว่าง 18-65 ปีจำนวน 700 คนจากออสเตรเลีย แคนาดา อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน และสหราชอาณาจักร ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 นาน 12 เดือนขึ้นไป จุดมุ่งหมายเบื้องต้นคือการศึกษาผลกระทบของอาการคึกเกินเหตุในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1

โรคอารมณ์สองขั้วส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย 30 ล้านคนทั่วโลก โดยกว่า 4 ล้านคนอยู่ในยุโรป[2] โรคนี้เป็นสาเหตุอันดับ 6 ของการเกิดภาวะทุพพลภาพทั่วโลก[3] ผู้ป่วยที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้วเป็นภาระทางการแพทย์และมักเผชิญโรคแทรกซ้อนหลายโรค

หมายเหตุ

เกี่ยวกับโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1

โรคอารมณ์สองขั้ว (หรือโรคอารมณ์แปรปรวน) เป็นโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยจะมีอารมณ์แบบสุดขั้วคือคึกและซึมเศร้าสลับกันเป็นช่วงๆ[4] ลักษณะเฉพาะของโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 คือมีอาการคึก (อารมณ์คึกคะนองเกินปกติ ฉุนเฉียวง่าย นอนน้อยลง และมีพลังเหลือล้น) อาการซึมเศร้า (รู้สึกเศร้าสุดๆ, คิดฆ่าตัวตาย) หรือทั้งสองอารมณ์ผสมกัน[4]

เกี่ยวกับการศึกษา IMPACT

การศึกษา Investigating Manic Phases And Current Trends (IMPACT) เป็นการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับผลกระทบของอาการคึกเกินเหตุในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 ผู้เข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยผู้ป่วยอายุระหว่าง 18-65 ปีจำนวน 700 คนจากออสเตรเลีย แคนาดา อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน และสหราชอาณาจักร ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 นาน 12 เดือนขึ้นไป โดยทั้งหมดทำแบบสอบถามผ่านอินเทอร์เน็ตระหว่างเดือนมีนาคม-สิงหาคม 2555 การศึกษาครั้งนี้กำกับดูแลโดยบริษัทลุนด์เบค และทำการศึกษาในสหราชอาณาจักร สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี แคนาดา และออสเตรเลีย โดยบริษัท ฟีนิกซ์ เฮลธ์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Phoenix Healthcare International) สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา IMPACT ได้ที่ http://www.impactofbipolar.com/

เกี่ยวกับ ฟีนิกซ์ เฮลธ์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

ฟีนิกซ์ เฮลธ์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ให้บริการทำวิจัย ทำการตลาด และให้คำปรึกษาแก่บริษัทเวชภัณฑ์ เทคโนโลยีชีวภาพ เครื่องมือแพทย์ ตลอดจนหน่วยงานวิจัยและหน่วยงานสุขภาพชั้นนำของโลกหลายแห่ง ทั้งนี้ ฟีนิกซ์ เฮลธ์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท ฟีนิกซ์ มาร์เก็ตติง อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2542 และปัจจุบันเป็นบริษัทวิจัยตลาดรายใหญ่อันดับ 30 ในรายงาน Honomichl ล่าสุด

เกี่ยวกับลุนด์เบค

เอช. ลุนด์เบค เอ/เอส (H. Lundbeck A/S) (LUN.CO, LUN DC, HLUKY) เป็นบริษัทเภสัชกรรมระดับโลกที่มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคทางสมองต่างๆ และด้วยจุดมุ่งหมายดังกล่าว ลุนด์เบคจึงทำการวิจัย พัฒนา ผลิต ทำการตลาด และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาไปทั่วโลก เพื่อมุ่งรักษาโรคต่างๆ อาทิ โรคซึมเศร้าและวิตกกังวล โรคทางจิตเวช โรคลมชัก ตลอดจนโรคฮันติงตัน โรคอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสัน

ลุนด์เบคก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2458 โดยฮันส์ ลุนด์เบค (Hans Lundbeck) ในโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ปัจจุบันมีพนักงานราว 6,000 คนทั่วโลก ลุนด์เบคเป็นบริษัทเภสัชกรรมเกี่ยวกับโรคทางสมองชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก ในปี 2554 บริษัทมีรายได้ 1.6 หมื่นล้านโครนเดนมาร์ก (ราว 2.2 พันล้านยูโร หรือ 3.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.lundbeck.com/

อ้างอิง

1. IMPACT of Bipolar Study 2012 (Data on file)

2. World Health Organization. Disease incidence, prevalence and disability. Available at: http://www.who.int/healthinfo/global_burden_disease/GBD_report_2004update_part3.pdf . Accessed August 24, 2012.

3. Kleinman, L et al. Costs of bipolar disorder. Pharmacoeconomics. 2003;21:601-622.

4. National Institute of Mental Health. Bipolar Disorder 2009. Available at: http://www.nimh.nih.gov/health/publications/bipolar-disorder/nimh-bipolar-adults.pdf . Accessed August 24, 2012.

แหล่งข่าว: ลุนด์เบค

-ปม-

ข่าวโรคอารมณ์สองขั้วประเภท+โรคอารมณ์สองขั้ววันนี้

ผลวิเคราะห์หลังการทดลองล่าสุดชี้ ยา asenapine มีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการคึกเกินเหตุและอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 ชนิดอารมณ์ผสม

- สำหรับเผยแพร่นอกประเทศจีน ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ผลวิเคราะห์หลังการทดลองที่นำเสนอในการประชุมเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับผลของยาต่อโรคจิตและประสาทแห่งยุโรปครั้งที่ 25 (25th European College of Neuropsychopharmacology: ECNP) แสดงให้เห็นว่า ยา asenapine สามารถควบคุมอารมณ์ผสมในผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 (bipolar I) ได้ดีกว่ามากเมื่อเทียบกับยาหลอก ลุนด์เบค (Lundbeck) ประกาศผลวิเคราะห์หลังการทดลองในผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วประเภท 1 ที่มีอารมณ์ผสม ซึ่งผลปรากฏว่ายา asenapine

ในยุคที่ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดและปัญ... ทำไมความเศร้าบางครั้งอาจไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้า? รู้จัก "โรคไบโพลาร์" ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ — ในยุคที่ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดและปัญหาต่าง ๆ จากการใช้ชีวิตใ...

โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) หรือโรคอาร... เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย สัญญาณเตือนโรคไบโพลาร์ — โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นโรคจิตเวชอย่างหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติในก...

จิตแพทย์กว่าพันคนเข้าร่วมการประชุมออนไลน์ Asia Pacific Psychiatry Symposium ครั้งที่ 2

ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับเป้าหมายใหม่ในการรักษาโรคจิตเภท รวมถึงความท้าทายในการวินิจฉัยและรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว (ไบโพลาร์) การประชุม Asia Pacific Psychiatry Symposium ครั้งที่ 2 ได้จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์โดยบริษัท Luye...

ดีเคเอสเอช ผู้นำด้านการให้บริการขยายตลาดโ... ดีเคเอสเอช ตกลงเป็นคู่ค้าร่วมกับ Luye Pharma Group ในประเทศไทย — ดีเคเอสเอช ผู้นำด้านการให้บริการขยายตลาดโดยมุ่งเน้นภูมิภาคเอเชีย ได้ร่วมมือกับ Luye Pharm...

จิตเวช ภาระโรคสำคัญ พบช่องว่างระบบและการเข้าถึงบริการต่ำ

ปัจจุบันปัญหาของกลุ่มโรคจากความผิดปกติทางสุขภาพจิต เช่น โรคจิตเภท ซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว รวมถึงการติดสุรา สารเสพติด นับเป็นปัญหาสำคัญและเรื้อรังในประเทศไทย ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ ผู้จัดการงานวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า...

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวั... กรมสุขภาพจิต แนะ 'ไบโพลาร์' โรคอารมณ์สองขั้ว รักษาหายได้ สำคัญที่ต้องกินยา — นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเนื่องใน...

กรมสุขภาพจิตเผยโรคอารมณ์สองขั้วสามารถรักษ... กรมสุขภาพจิต แนะ 'ไบโพลาร์' โรคอารมณ์สองขั้ว รักษาหายได้ — กรมสุขภาพจิตเผยโรคอารมณ์สองขั้วสามารถรักษาหายได้ เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์เป็นอาการสำคัญ...

กรมสุขภาพจิต ย้ำ ผู้ป่วยทางจิต มีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครอง เผย ไบโพลาร์ รักษาหายได้ สำคัญที่ต้องกินยาให้ต่อเนื่อง

นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคอารมณ์ผิดปกติที่พบได้บ่อยในทั่วโลก ประมาณ 1-2% พบได้ในผู้หญิงและผู้ชาย...