จิตแพทย์กว่าพันคนเข้าร่วมการประชุมออนไลน์ Asia Pacific Psychiatry Symposium ครั้งที่ 2

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับเป้าหมายใหม่ในการรักษาโรคจิตเภท รวมถึงความท้าทายในการวินิจฉัยและรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว (ไบโพลาร์)

การประชุม Asia Pacific Psychiatry Symposium ครั้งที่ 2 ได้จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์โดยบริษัท Luye Pharma Group เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2563 โดยจิตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญกว่า 1,000 คน จาก 9 ประเทศและดินแดน เช่น จีนแผ่นดินใหญ่ มาเลเซีย เกาหลี สิงคโปร์ และไทย ได้มาร่วมประชุมผ่านระบบคลาวด์เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับความก้าวหน้าล่าสุดในการรักษาความผิดปกติทางจิตใจ รวมถึงการวินิจฉัยทางคลินิก กลยุทธ์ในการรักษา และความท้าทายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

Dr. Lo Tak Lam ศาสตราจารย์ภาควิชาจิตเวช มหาวิทยาลัยฮ่องกง และประธานสมาคมสุขภาพจิตแห่งฮ่องกง ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม โดยมีจิตแพทย์จากเกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง ไทย และมาเลเซีย ร่วมบรรยายภายในการประชุม

ความผิดปกติทางจิตใจมีอัตราความชุกของโรคและอัตราการกำเริบของโรคสูง จึงเป็นปัญหาสุขภาพที่มีความสำคัญในแวดวงสาธารณสุขโลก องค์การอนามัยโลกระบุว่า ประชากรโลกเกือบ 1 พันล้านคนมีความผิดปกติทางจิตใจ และมีคนฆ่าตัวตายหนึ่งคนทุก ๆ 40 วินาที โดยเฉพาะในขณะนี้ ประชากรโลกหลายพันล้านคนกำลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งยิ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนในสังคม ทั้งนี้ ในบรรดาความผิดปกติทางจิตใจนั้น โรคจิตเภททำให้ผู้ป่วยกลายเป็นบุคคลไร้ความสามารถมากที่สุด โดยผู้ป่วยโรคจิตเภทมีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงกว่าคนทั่วไป 2-3 เท่า ขณะที่ผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว (ไบโพลาร์) มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่าหากไม่ได้รับการรักษา โรคเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบที่รุนแรง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงกับผู้ป่วย คนในครอบครัว และสังคมโดยรวม

หัวข้อหลักของการประชุมในปีนี้คือโรคจิตเภทและโรคอารมณ์สองขั้ว ประกอบด้วยการอภิปรายในประเด็นต่าง ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ยารักษาโรคจิตเภท ข้อดีและข้อเสียของการใช้ยาต้านอาการทางจิตรักษาผู้ป่วยโรคจิตเภทในระยะยาว แนวทางปฏิบัติในการรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว รวมถึงอุปสรรคในการวินิจฉัยและรักษาโรคอารมณ์สองขั้วและวิธีแก้ปัญหา โดยผู้เข้าร่วมการประชุมต่างอภิปรายในแต่ละประเด็นอย่างจริงจัง

โรคจิตเภท: สำรวจเป้าหมายใหม่ในการพัฒนายาด้วยแนวทางสหวิทยาการ

ผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมการประชุมได้อภิปรายเกี่ยวกับประเด็นร้อนแรงในแวดวงวิชาการ และแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบจากการศึกษาแบบสหวิทยาการ เช่น ศักยภาพในการพัฒนายาในสาขาจิตเวชและประสาทวิทยา รวมถึงเป้าหมายใหม่และกลไกการออกฤทธิ์ของยา โดยมีเป้าหมายในการนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ เพื่อช่วยจิตแพทย์ในการพัฒนายาชนิดใหม่ที่นอกเหนือไปจากยาที่กระตุ้นตัวรับ Dopamine-2 และ 5-HT2 นอกจากนี้ ในแง่ของความต้องการด้านการรักษาโรคจิตเภท ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีวิธีการรักษาใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น การบรรเทาอาการเชิงลบและการยกระดับการรักษาอาการสมองเสื่อม ผู้เข้าร่วมการประชุมได้สำรวจและวิเคราะห์เป้าหมายการรักษาของยาใหม่ ๆ และความเป็นไปได้ในการคิดค้นวิธีการรักษาใหม่ ๆ

ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลจากการศึกษาสหวิทยาการ ผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำแก่จิตแพทย์รุ่นใหม่ว่าประสาทชีววิทยาเป็นสาขาวิชาที่ควรค่าแก่การศึกษา เพราะมีศักยภาพในการยกระดับการพัฒนายาใหม่ การวินิจฉัยทางคลินิก และการรักษาความผิดปกติทางจิตใจต่อไปในอนาคต

ข้อดีและข้อเสียของการใช้ยาต้านอาการทางจิตรักษาผู้ป่วยโรคจิตเภทในระยะยาว เป็นประเด็นมีการถกเถียงกันในแง่ของการปฏิบัติเชิงคลินิก ในการประชุมจึงมีการอภิปรายในประเด็นนี้ และมีการแนะนำวิธีการรักษาที่สอดคล้องกันด้วย

โรคอารมณ์สองขั้ว: ลดการวินิจฉัยผิดพลาดและการตรวจไม่พบโรคด้วยการประเมินหลายปัจจัย

การแสดงอาการของโรคอารมณ์สองขั้วมีความซับซ้อนและหลากหลาย เนื่องจากอาการของโรคนี้มีความผันผวนแปรปรวนมาก จึงทำให้มีโอกาสวินิจฉัยผิดพลาดเป็นโรคอื่น เช่น โรคซึมเศร้า ทั้งนี้ โรคอารมณ์สองขั้วมีอัตราการวินิจฉัยผิดพลาด การตรวจไม่พบโรค และการเกิดโรคร่วมในระดับสูง ทั้งยังมีความท้าทายอย่างมากในการรักษา ซึ่งล้วนเป็นปัญหาใหญ่ของโรคนี้

ผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมการประชุมระบุว่า โรคอารมณ์สองขั้วเป็นโรคเรื้อรังที่อาจมีอาการบรรเทาและกำเริบสลับกันไปตลอดเวลา ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ และในการออกแบบแนวทางการรักษาจำเป็นต้องมีการประเมินปัจจัยรอบด้าน ซึ่งรวมถึงอาการและการดำเนินของโรค ชนิดของโรค ความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรง ประสิทธิผลของยาและการตอบสนองต่อยา การปฏิบัติตามแนวทางการรักษาของผู้ป่วย และประวัติการรักษาของผู้ป่วย นอกจากนี้ สำหรับโรคอารมณ์สองขั้วบางชนิด ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำให้ใช้ยาสำหรับการรักษาแบบทางเลือกอันดับแรก อันดับสอง และอันดับสามตามลำดับ และระบุว่ายา Quetiapine เป็นหนึ่งในทางเลือกการรักษาสำหรับโรคทางอารมณ์ทุกประเภท

Luye Pharma: มีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวทางการรักษาโรคระบบประสาทส่วนกลาง ตลอดจนให้การสนับสนุนแพทย์และผู้ป่วย

การประชุม Asia Pacific Psychiatry Symposium จัดขึ้นเป็นปีที่สอง โดยมุ่งเน้นแนวทางการพัฒนาเชิงปฏิบัติและเชิงนวัตกรรม ทั้งยังเป็นเวทีวิชาการสำหรับนำเสนอความก้าวหน้าในการรักษาความผิดปกติทางจิตใจและแนวทางปฏิบัติเชิงคลินิก เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว การประชุมปีนี้มีผู้เข้าร่วมมากขึ้น ครอบคลุมประเทศและดินแดนต่าง ๆ มากขึ้น มีอิทธิพลมากขึ้น และได้รับความสนใจจากคนในวงการมากขึ้น

บริษัท Luye Pharma ซึ่งเป็นผู้จัดการประชุม มีบทบาทในแวดวงการรักษาโรคระบบประสาทส่วนกลางมาเป็นเวลานาน โดยนอกจากจะผลิตยาใหม่ที่มีคุณภาพสูงแล้ว บริษัทยังให้การสนับสนุนและบริการระดับมืออาชีพแก่แพทย์และผู้ป่วย Luye Pharma มุ่งหวังที่จะทำให้การประชุมนี้มีความมั่นคง เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการต่อไป ตลอดจนร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการด้านระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อผลักดันความก้าวหน้าของการวินิจฉัยและการรักษาในสาขานี้

โรคระบบประสาทส่วนกลางเป็นหนึ่งในสาขาที่ Luye Pharma ให้ความสำคัญ โดยบริษัทมีผลิตภัณฑ์ยาใหม่ครอบคลุมการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว โรคซึมเศร้า โรคพาร์กินสัน และโรคอัลไซเมอร์ ปัจจุบัน บริษัทมียาใหม่หลายตัวที่อยู่ในขั้นตอนของการทดลองทางคลินิกขั้นสุดท้ายหรือขั้นตอนการขึ้นทะเบียนยาใหม่ในหลายประเทศและดินแดน ซึ่งรวมถึงในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และบริษัทมุ่งหวังว่าผู้ป่วยทั่วโลกจะได้ประโยชน์จากยาเหล่านี้ในไม่ช้า ทั้งนี้ บริษัทผลิตยารักษาโรคระบบประสาทส่วนกลางออกมาแล้วหลายตัว ซึ่งจำหน่ายในกว่า 80 ประเทศและดินแดนทั่วโลก


ข่าวLuye Pharma Group+โรคอารมณ์สองขั้ววันนี้

ดีเคเอสเอช ตกลงเป็นคู่ค้าร่วมกับ Luye Pharma Group ในประเทศไทย

ดีเคเอสเอช ผู้นำด้านการให้บริการขยายตลาดโดยมุ่งเน้นภูมิภาคเอเชีย ได้ร่วมมือกับ Luye Pharma Group เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยารักษาอาการโรคจิตเภทและโรคอารมณ์สองขั้ว ผ่านช่องทางการแพทย์ทั้งโรงพยาบาลและร้านขายยาในประเทศไทย หน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านการขยายตลาดสำหรับบริษัทผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในภูมิภาคเอเชีย ได้เซ็นข้อตกลงเป็นคู่ค้าร่วมกับ บริษัท Luye Pharma Group บริษัทเวชภัณฑ์ชั้นนำด้านการวิจัยและพัฒนา การผลิต และการจัดจำหน่ายนวัตกรรมด้านยา ภาย

ในยุคที่ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดและปัญ... ทำไมความเศร้าบางครั้งอาจไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้า? รู้จัก "โรคไบโพลาร์" ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ — ในยุคที่ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดและปัญหาต่าง ๆ จากการใช้ชีวิตใ...

โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) หรือโรคอาร... เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย สัญญาณเตือนโรคไบโพลาร์ — โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นโรคจิตเวชอย่างหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติในก...

Over One Thousand Psychiatrists Gather Online for Second Asia Pacific Psychiatry Symposium

Discussion focusing on new therapeutic targets for schizophrenia and challenges in diagnosing and treating bipolar disorder The Second Asia Pacific Psychiatry Symposium hosted by Luye Pharma Group took place as...

จิตเวช ภาระโรคสำคัญ พบช่องว่างระบบและการเข้าถึงบริการต่ำ

ปัจจุบันปัญหาของกลุ่มโรคจากความผิดปกติทางสุขภาพจิต เช่น โรคจิตเภท ซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว รวมถึงการติดสุรา สารเสพติด นับเป็นปัญหาสำคัญและเรื้อรังในประเทศไทย ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ ผู้จัดการงานวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า...