ม.อ.ค้นพบสัตว์พื้นใต้น้ำสกุลใหม่ในทะเลสาบสงขลา ตั้งชื่อ Birdotanais songkhlaensis

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--9 ต.ค.--มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์

ม.อ. ค้นพบสัตว์พื้นใต้น้ำสกุลใหม่ในทะเลสาบสงขลาตอนล่างใกล้ปากทะเลสาบ ความลึก 70 เซนติเมตร ตั้งชื่อตามวิทยาศาสตร์ Birdotanais songkhlaensis ระบุสัตว์พื้นใต้น้ำชนิดนี้ เป็นอาหารให้แก่กุ้ง หอย ปู ปลา และมักอาศัยอยู่ในบริเวณตะกอนดินเหนียว ที่น้ำความเค็ม 30 ใน 1,000 ส่วน ศาสตราจารย์ ดร.เสาวภา อังสุภานิช ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ (ม.อ.) (Prof. Dr. Saowapa Angsupanich, The Department of Aquatic Science, Faculty of Natural Resources, Prince of Songkla University) เปิดเผยว่า จากการติดตามวิจัยและเก็บตัวอย่างสัตว์พื้นใต้น้ำ ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ที่เป็นตัวเชื่อมโยงห่วงโซ่อาหารสัตว์น้ำที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจในทะเลสาบสงขลานั้น ล่าสุด ม.อ.ได้ค้นพบสัตว์พื้นใต้น้ำชนิดใหม่ในทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นสัตว์สกุลใหม่ (genus) ที่ได้รับการตั้งชื่อตามวิทยาศาสตร์ว่า Birdotanais songkhlaensis ซึ่งมาจากชื่อของ Dr.Graham Bird ซึ่งเป็นผู้ที่จำแนกชนิดของสัตว์พื้นใต้น้ำ ส่วนชื่อระดับสปีชีย์นั้น ตั้งตามสถานที่ที่ค้นพบ คือ ทะเลสาบสงขลา ทั้งนี้ Birdotanais songkhlaensis ถือเป็นสัตว์ใน Phylum Arthropoda, Subphylum Crustacea, Order Tanaidacea, Family Nototanaidae ได้รับการตีพิมพ์แล้วในวารสาร The Raffles Bulletin of Zoology 60 ในหน้า 421-432 โดยเป็นสัตว์ขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร อาศัยอยู่ในตะกอนดินโคลนเหนียวในทะเลสาบสงขลาตอนล่างใกล้ปากทะเลสาบ ในความลึก 70 เซนติเมตร ในช่วงที่มีน้ำมีความเค็มประมาณ 30 ใน 1,000 ส่วน สำหรับคุณค่าของสัตว์พื้นใต้น้ำที่มีอยู่ในทะเลสาบสงขลา นอกจากเป็นอาหารของสัตว์น้ำประเภท กุ้ง หอย ปู ปลา แล้ว ยังมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศวิทยา โดยช่วยกำจัดตะกอนอินทรีย์ ในตะกอนดินพื้นท้องทะเลสาบ เนื่องจากสัตว์พื้นใต้น้ำส่วนใหญ่ เป็นชนิดกินตะกอนอินทรีย์เป็นอาหาร ซึ่งเป็นการช่วยลดความเน่าเสียของตะกอนดินพื้นทะเลสาบ “การยืนยันได้ว่า มีสัตว์ชนิดใหม่ที่ไม่เคยมีการบันทึกการค้นพบมาก่อน จำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ในการทำวิจัย ต้องรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เราศึกษา นั่นคือ สัตว์พื้นใต้น้ำ โดยเมื่อสงสัยว่าเป็นสัตว์ชนิดใหม่นั้น ต้องส่องกล้องจุลทรรศน์ดูในภาพรวม และติดต่อประสานงานกลุ่มนักวิชาการต่างประเทศที่เชี่ยวชาญ เพื่อปรึกษาหารือว่าเคยมีการค้นพบมาก่อนหรือไม่ และเมื่อแน่ใจแล้วว่า ไม่มีการค้นพบมาก่อน โดยเป็นการค้นพบครั้งแรกก็จะต้องได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่เชื่อถือได้ด้วย” ศาสตราจารย์ ดร.เสาวภา กล่าว เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยบริษัท มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ : คุณพิภพ ฆ้องวง (ท๊อป) โทร. 02-612-2081 ต่อ 127 E-mail: [email protected] -นท- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวเสาวภา อังสุภานิช+ทรัพยากรธรรมชาติวันนี้

อ.อ.ป. ร่วมประชุมภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 20 (UNFF20)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นำโดย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) พร้อมด้วย นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และผู้แทนจากกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึง นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการ... วช. ขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพื้นที่ 'ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5' มุ่งลดฝุ่นพิษภาคเหนืออย่างยั่งยืน — สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยา...

รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์... รอยัล คลิฟ พัทยา ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม กับการคว้ารางวัล G-Green ระดับดีเยี่ยม — รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์ G-Green โรงแรมที่เป...

ม.อ.พบกุ้งเต้น 2 สายพันธุ์ใหม่ของโลกในทะเลสาบสงขลาปลุกความหวังช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศวิทยาหลังเสื่อมโทรม

ม.อ.ค้นพบกุ้งเต้น 2 พันธุ์ใหม่ของโลกในทะเลสาบสงขลา อาศัยอยู่ในตะกอนดินโคลนที่ค่อนข้างสะอาด มีส่วนช่วยให้ระบบนิเวศวิทยาดีขึ้น เหตุช่วยบรรเทาความเน่าเสียของพื้นทะเลสาบจากการกินสารอินทรีย์เป็นอาหาร...

สกว. จัดเสวนา ทะเลสาบสงขลา - ทำไมจึงมีความสำคัญ ในวันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2546

กรุงเทพฯ--24 ก.พ.--สกว. การเสวนา ทะเลสาบสงขลา ทำไมจึงมีความสำคัญ Songkhla Lake Why is it important ? วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546 ห้องประชุม 214 ชั้น 2 อาคาร สวทช. เวลา 09.30-11.00 น. ****************************...