วันคุมกำเนิดโลก ปี 55 ผลสำรวจชี้ หญิงเอเชียคุมกำเนิดน้อย แม้อยากจะชะลอการมีบุตร

27 Sep 2012

กรุงเทพฯ--27 ก.ย.--โฟร์ฮันเดรท

วันคุมกําเนิดโลก ปี 55 ผลสำรวจชี้ หญิงเอเชียคุมกําเนิดน้อย แม้อยากจะชะลอการมีบุตรชาย-หญิงไทย คุมกำเนิดไม่ถูกวิธี เลือกหลั่งข้างนอก และกินยาคุมฉุกเฉิน ให้ผลไม่ 100%

ผลงานวิจัย โดยไบเออร์ เฮลธ์แคร์ (Bayer HealthCare) พบ ชาย-หญิงในปัจจุบัน มีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น แต่ไม่วางแผนคุมกำเนิดให้ถูกวิธี เลือกวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว โดยหลังข้างนอก และกินยาคุมฉุกเฉิน ไม่มีการรับรองว่าสามารถคุมกำเนิดได้ 100% ด้านนักวิชาการชี้ควรเลือกกินยาคุมกำเนิดให้ถูกต้องตามการใช้งาน แนะเปิดกว้างให้วัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์ ใช้วิธีคุมกำเนิดอย่างถูกต้อง

เนื่องในวันที่ 26 กันยายน ของทุกปี เป็น “วันคุมกำเนิดโลก” (World Contraception Day 2012) โดยมีการรณรงค์ และการสำรวจในหลายประเทศในหัวข้อ "อนาคตคุณ คุณเลือกได้ด้วยการคุมกำเนิด"(Contraception: Looking to the Future) ซึ่งสนับสนุนโดยไบเออร์ เฮลธ์แคร์ (Bayer HealthCare) ผู้นำด้านการดูแลสุขภาพของผู้หญิง โดยมีผู้ให้ข้อมูลกว่า 800 คนจาก 8 ประเทศในเอเชีย ว่าการสำรวจนี้ ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูล 104 คนจากประเทศไทย เผยว่าอายุเฉลี่ยของของผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกคือ 22 ปี แต่อายุเฉลี่ยของของผู้หญิงที่วางแผนมีบุตรคนแรกคือ 30 ปี เป็นช่วงที่ห่างเกือบ 10 ปี นอกจากนี้ ผู้ให้ข้อมูลทั้งหญิงและชายมากกว่า 1 ใน 4 ไม่ต้องการมีบุตร หรือไม่แน่ว่าต้องการมีหรือไม่

เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนจากข้อมูลและแนวโน้มของโลกว่าผู้หญิงแต่งงานช้าลง รวมถึงมีบุตรช้าลง หรือไม่มีบุตรเลย โดยผู้หญิงต้องการวางแผนด้านอื่น และอยากประสบความสำเร็จมากกว่า เรื่องการมีครอบครับ โดยมองว่าไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด จนก่อความสงสัยว่าผู้หญิงเหล่านี้วางแผนอนาคตและรวมการคุมกําเนิดไว้ในแผนอนาคตหรือไม่

ผลสำรวจนี้ค่อนข้างแม่นยำ แม้แต่ในปีพ.ศ. 2555 อัตราการใช้เครื่องมือคุมกำเนิดก็ไม่สอดคล้องกับการวางแผนของคนกลุ่มนี้ ผู้ให้ข้อมูล 16% ไม่ใช้วิธีคุมกําเนิดตอนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก นอกจากนี้ ผู้ให้ข้อมูล 17% ปัจจุบันใช้วิธีหลั่งภายนอก ซึ่งไม่มีข้อมูลยืนยันว่าเป็นวิธีคุมกําเนิดที่น่าเชื่อถือ หากเทียบกับการคุมกําเนิดที่มีประสิทธิผลมากกว่าอย่างยาเม็ดคุมกำเนิด ซึ่งมีประสิทธิภาพ 99% หากใช้อย่างถูกต้องยิ่งไปกว่านั้นการศึกษาเปรียบเทียบ ช่วงอายุเริ่มแต่งงานของผู้หญิง ในระยะที่ห่างกัน 60 ปี เผยให้เห็นว่า อายุของการแต่งงานเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ในประเทศไทย โดยอายุเฉลี่ยของผู้หญิงที่แต่งงานในปีพ.ศ. 2463 คือ 22.1 ปี ขณะที่อายุเฉลี่ยของผู้หญิงที่แต่งงานในปี พ.ศ. 2523 คือ 24 ปี

ส่วนการศึกษาเปรียบเทียบต่อเนื่อง อีกหนึ่งงานวิจัยเกี่ยวกับจำนวนบุตรของผู้หญิง ตลอดช่วงชีวิตแสดงตัวเลขที่ลดลงมาก จากข้อมูลของหน่วยประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Division) อัตราเจริญพันธุ์รวมลดลงกว่าครึ่งตลอด 40 ปีในประเทศไทย อัตราเจริญพันธุ์รวมในปี พ.ศ. 2463 คือ 22.1 แต่ในปี พ.ศ. 2543 ลดลงเหลือ 24

เห็นได้ชัดว่า เวลาเปลี่ยนไปและเราก็เห็นแนวโน้มต่างๆ มากขึ้น แต่การรับรู้เรื่องการคุมกําเนิด กลับไล่ตาม แทบไม่ทันแนวโน้มที่เกิดขึ้นเหล่านี้ อีกทั้งยังต้องอาศัยชุมชนและสังคมในการทำให้ผู้หญิงเริ่มพูดคุยเกี่ยวกับการคุมกําเนิดและทำให้การคุมกําเนิดเข้าถึงง่ายสำหรับทุกคน

ในช่วงแรก งานสำรวจประจำปีวันคุมกําเนิดโลกถามผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวระยะยาว วิธีการคุมกำเนิดยอดนิยมเพื่อการวางแผนครอบครัวระยะยาวคือถุงยางอนามัยผู้ชาย ทว่าผู้ให้ข้อมูลเกือบ 1 ใน 3 พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าคุมกำเนิดโดยวิธีการหลั่งภายนอก ซึ่งเป็นที่น่าตกใจมาก

ศ.นพ.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์ฯ กล่าวว่า “เชื่อว่า ทั้งหมดนี้สรุปได้ว่าจำเป็นต้องให้การศึกษา เนื่องจากคนยังคงเข้าใจผิดว่าการหลั่งภายนอกเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่น่าเชื่อถือ ยิ่งไปกว่านั้น หลายคนยืนกรานว่าไม่จำเป็นต้องใช้วิธีคุมกำเนิด ทว่า ยังพบว่ามีคนจำนวนมากกินยาคุมกําเนิดฉุกเฉินและใช้วิธีที่รวดเร็ว เช่น ทำแท้ง การสำรวจเผยว่าตั้งแต่ปีที่แล้ว ผู้หญิง 40% ใช้ยาคุมกําเนิดฉุกเฉินอย่างน้อยหนึ่งครั้ง”

จึงอยากสนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคน กำหนดอนาคตด้วยตัวเอง เริ่มเสียแต่วันนี้ ในวันคุมกําเนิดโลก ในการคุยกับคู่รักและแพทย์เพื่อหาวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสม เพื่อให้การใช้ชีวิตควบคู่ดำเนินไปอย่างราบรื่น พร้อมการคุมกำเนิดที่เหมาะสม”

ทางด้าน นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ที่ผ่านมาเมื่อพูดถึงการคุ้มกำเนิด คนจะมองว่าเป็นหน้าที่ของฝ่ายหญิงเท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว เป็นเรื่องที่ทั้งฝ่ายหญิง และชายต้องร่วมมือกัน ฝ่ายชายก็คุมกำเนิดด้วยการใช้ถุงยางอนามัย ฝ่ายหญิงด้วยการใช้ยาคุม ซึ่งก็มีทั้งยาคุมฉุกเฉิน, ยาเม็ดรายเดือน, ยาฉีด, ชนิดฝัง และแบบห่วงถาวร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคล และควรใช้ให้ถูกต้องตามความต้องการในการใช้งาน

“สำหรับคู่ชายหญิงที่จะมีเพศสัมพันธ์ ก็ควรรู้วิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมด้วย ซึ่งไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าช่วงอายุใด ยิ่งในวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์ ยิ่งต้องรู้จักการคุมกกำเนิด เพราะปัญหาการมีบุตรไม่พร้อม และการทำแท้งในปัจจุบันเกิดขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นเป็นจำนวนมาก เพราะวัยรุ่นที่มีความต้องการมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่มีความกล้า และเข้าถึงการรับบริการในการคุมกำเนิด หันไปเลือกใช้ยาคุมฉุกเฉิน ซึ่งให้ผลแค่ 75% อีกทั้งยังไม่สามารถกินเกินเดือนละ 4 เม็ดได้ นั่นก็หมายความว่า ใช้ในทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ เพราะอาจมีผลข้างเคียง เช่น รอบเดือนผิดปกติ มามากหรือน้อยเกินไปได้ อีกทั้งเมื่อเทียบกับยาคุมกำเนิดแบบรายเดือน หรือแบบฝัง แบบฉีด ที่ให้ปริสิทธิภาพถึง 99% ซึ่งปลอดภัยแน่นอน ทั้งนี้ควรเลือกให้เหมาะสมกับผู้ใช้” นพ.กิตติพงศ์ กล่าวสรุปในตอนท้าย

การสำรวจในหลายประเทศ

การสำรวจเรื่องการคุมกําเนิด: "อนาคตคุณ คุณเลือกได้ด้วยการคุมกำเนิด"

(Contraception: Looking to the Future)

การสำรวจมีขึ้นในกลุ่มผู้ใหญ่อายุ 20-35 ปี จำนวน 812 คนในประเทศเอเชีย ทั้งจีน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย และใต้หวัน

วันคุมกำเนิดโลก

วันคุมกำเนิดโลกจัดขึ้นในวันที่ 26 กันายนของทุกปี การรณรงค์ประจำปีทั่วโลกเน้นวิสัยทัศน์ให้แก่โลกที่ต้องการการตั้งครรภ์ เริ่มต้นปีพ.ศ. 2550 พันธกิจของวันคุมกำเนิดโลกคือเพิ่มความตระหนักเรื่องการคุมกําเนิดเพื่อช่วยคนหนุ่มสาวในการตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ปีนี้ย่างเข้าสู่ปีที่ 6 วันคุมกำเนิดโลกจัดในราว 70 ประเทศทั่วโลก ในปีพ.ศ. 2554 การรณรงค์เข้าถึงคน 370 ล้านคน

วันคุมกำเนิดโลก ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรเอกชน และสมาคมวิทยาศาสตร์ และการแพทย์ระหว่างประเทศที่สนใจเรื่องสุขภาพทางเพศที่รวมตัวกัน 11 องค์กร ได้รับการสนับสนุนจาก ไบเออร์ เฮลธ์แคร์ องค์กรเอกชนและสมาคมที่เข้าร่วมวันคุมกำเนิดโลกได้แก่

  • คณะกรรมการการคุมกำเนิดแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (Asian Pacific Council on Contraception หรือ APCOC)
  • ศูนย์สตรีและสุขภาพ (Centro Latinamericano Salud y Mujer หรือ CELSAM)
  • สมาคมการคุมกำเนิดและอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งยุโรป (European Society of Contraception and Reproductive Health หรือ ESC)
  • มูลนิธิประชากรโลกแห่งเยอรมัน (German Foundation for World Population)
  • สหพันธ์นรีเวชวิทยาสำหรับเด็กและวัยรุ่นระหว่างประเทศ (International Federation of Pediatric and Adolescent Gynecology หรือ FIGIJ)
  • สหพันธ์วางแผนครอบครัวระหว่างประเทศ (International Planned Parenthood Federation หรือIPPF)
  • มารีสโตปส์อินเตอร์เนชั่นแนล (Marie Stopes International หรือ MSI)
  • สภาประชากร (The Population Council)
  • องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (The United States Agency for International Development หรือ USAID)
  • วีแมนดีลิเวอร์ (Women Deliver หรือ WD)
  • สำนักงานบริการด้านประชากรระหว่างประเทศ (Population Service International หรือ PSI)

[1] Bayer Healthcare. Data on file. ‘Contraception: Looking to the Future‘ Survey. Fieldwork โดย GFK Healthcare. August 2012

[1] Asia Pacific Council on Contraception (2010), Hormonal Methods. Retrieved 26 February 2010 จาก http://www.apcoc.net/hormonal-methods.html

นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง

ศ.นพ.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล

-กภ-

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net