ส.สายใยครอบครัว ปลดแอกผู้ป่วยจิตเวช สร้างศูนย์พัฒนาชีวิต “ต้นแบบดูแลผู้ป่วยจิตเวช”

29 Oct 2012

กรุงเทพฯ--29 ต.ค.--สมาคมสายใยครอบครัว

ด้วยความเชื่อมั่นว่าผู้อยู่กับโรคจิตเวชเป็นผู้มีศักยภาพที่จะช่วยตนเอง รวมทั้งช่วยกันและกันให้มีชีวิตที่ดีขึ้นในสังคมได้ หากพวกเขาได้รับการศึกษาให้มีความรู้และรวมกันเป็นเครือข่าย เพื่อเป้าหมายของการคืนผู้ป่วยกลับสู่สังคม การร่วมเรียนรู้ปัญหาชีวิตของผู้อยู่กับโรคจิตเวชและร่วมกันค้นหาทางออก นำไปสู่การร่วมมือที่เป็นรูปธรรม

สมาคมสายใยครอบครัวเป็นเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้อยู่กับ โรคจิตเวช ผ่านการศึกษา การสนับสนุน และการเป็นปากเป็นเสียงแทน ทำงานเพื่อชีวิตที่ดีกว่าของทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลโดยไม่หวังผลกำไร โดยได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีอาสาสมัครจากกลุ่มนักวิชาชีพด้านสุขภาพจิต ผู้ป่วย ผู้ดูแล และบุคคลทั่วไป ขับเคลื่อนงานในหลายๆ ด้าน งานของสมาคมสายใยครอบครัวรวมถึง การอบรมหลักสูตรสายใยครอบครัวสำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแล ศูนย์กิจกรรมสายใยครอบครัวเพื่อฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวช นอกจากนี้ยังได้ดำเนินโครงการต่างๆ เช่น โครงการประกวดหนังสั้น “ไม่บ้า อวอร์ด” โครงการเปิดบ้านตามหา “น” โครงการร้อยเรื่องราว ล้านเรื่องเล่า ป้องกันการฆ่าตัวตาย ซึ่งสามารถสร้างการรับรู้ และความเข้าใจ ได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสังคมเริ่มเปิดใจ รับรู้เรื่องโรคจิตเวชมากขึ้น

พญ. สมรัก ชูวานิชวงศ์ นายกสมาคมสายใยครอบครัว เปิดเผยว่า “ ผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการบำบัดรักษาจากสถาบันจิตเวชของประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นในแต่ละปี และส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของครอบครัวซึ่งจะเกิดปัญหาสังคมตามมา แต่ด้วยนโยบายการบำบัดรักษาผู้ป่วยในสถาบันจิตเวชมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยกลับบ้านไปใช้ชีวิตในครอบครัวโดยเร็ว ทั้งๆ ที่สภาพการฟื้นคืนสู่สภาพเดิมของผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้เวลาในการคืนสภาพสู่สังคมได้ ดังนั้นครอบครัวจึงจำเป็นต้องรับภาระหนักในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยให้กลับสู่สภาพเดิม ครอบครัวส่วนใหญ่ขาดความรู้เรื่องโรคทางจิตเวช ขาดความรู้ในการดูแลสภาพอารมณ์ จิตใจและฝึกทักษะต่างๆ แก่ผู้ป่วย จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการกำเริบซ้ำอยู่บ่อยๆ และมีอาการรุนแรงเรื้อรังเพิ่มขึ้นส่งผลให้ยากลำบากต่อการบำบัดฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อครอบครัว

สมาคมสายใยครอบครัวเป็นองค์กรที่ทำงานร่วมกับครอบครัว และพบว่าครอบครัวประสบปัญหา ภาระอันยิ่งใหญ่ในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยหลังจากจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ประกอบกับสถานฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชแบบองค์รวม ซึ่งประกอบด้วยการดูแลด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณที่เป็นแหล่งพักพิงของผู้ป่วย จิตเวชมีจำนวนจำกัด ประการสำคัญความพิการทางจิตของผู้ป่วยจิตเวชจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้และสามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

การดำเนินการสร้าง ต้นแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวช ณ อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยเสริมพลังอำนาจให้แก่ผู้ป่วยจิตเวชและครอบครัว ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่เดิมและพัฒนาศักยภาพให้สามารถดูแลตนเองได้ ไม่เป็นภาระของครอบครัว สังคม และประเทศชาติ โดยใช้กิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยแบบองค์รวม และการสร้างศูนย์พัฒนาชีวิตเป็นการสร้างบรรยากาศ สถานที่ ที่เหมาะสมในการให้ผู้ป่วยได้มีที่อยู่อย่างปลอดภัยและเป็นแหล่งฝึกทักษะการใช้ชีวิตในชุมชน เพื่อเสริมสร้างการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวชและสังคมแก่ผู้ป่วยจิตเวชให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนได้อย่างอิสระและพึ่งตนเองได้

ความคืบหน้าปัจจุบัน ได้ดำเนินการสร้างต้นแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวช ณ อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วบางส่วรระดมทุนของทุกภาคส่วนในสังคม โดยเฉพาะผู้อยู่กับโรคจิตเวชเอง ทำงานเพื่อสิทธิ คุณภาพชีวิต และความหวังของผู้อยู่กับโรคจิตเวช หวังว่าท่านจะเป็นผู้หนึ่งที่จะเข้ามาร่วมมือร่วมแรงกับเรา

-กผ-

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net