‘ไพลินบุ๊คเน็ต’ ชูกลยุทธ์เพิ่มช่องทางขาย ลดต้นทุนการพิมพ์ หวังรัฐหนุนมาตรการภาษี สร้างความเข้มแข็งอุตสาหกรรมหนังสือ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์

“ไพลินบุ๊คเน็ต” ชี้ทางออกปัญหาการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมศูนย์กระจายสินค้า ภาครัฐต้องกระตุ้นการอ่านและซื้อหนังสือมากขึ้น เพื่อช่วยให้ต้นทุนการพิมพ์ต่อหน่วยลดลง พร้อมสนับสนุนมาตรการทางด้านภาษี หลังต้นทุนอุตสาหกรรมหนังสือทั้งระบบเพิ่มขึ้น ระบุกลยุทธ์ทำตลาดไพลินบุ๊คเน็ตมาถูกทาง โดยปฏิวัติห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมหนังสือ เน้นปั้นนักเขียนผลิตผลงานให้มากขึ้น พร้อมปูพรมบูธจำหน่ายหนังสือทั่วประเทศด้วยราคาจำหน่ายย่อมเยาว์ กระตุ้นการซื้อสินค้า ส่งผลระยะยาวช่วยลดต้นทุนการพิมพ์ต่อหน่วยลง มั่นใจปีนี้ดันยอดขายกว่า 10 ล้านเล่ม นายฉัตรเฉลิม เฉลิมชัยวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพลินบุ๊คเน็ต จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจสิ่งพิมพ์ทั้งการเป็นผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คหลากหลายประเภท เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาพรวมต้นทุนของอุตสาหกรรมหนังสือปรับตัวสูงขึ้นทั้งระบบ ตั้งแต่สำนักพิมพ์ ผู้จัดจำหน่ายและร้านหนังสือ เนื่องจากแต่ละชื่อเรื่องมียอดพิมพ์เฉลี่ยเพียง 3,000 เล่ม และมียอดขายแค่ 1,500 เล่ม ขายได้น้อย ทำให้ต้นทุนโดยรวมสูงมาก ซึ่งหากพิจารณาจากโครงสร้างต้นทุนในอุตสาหกรรมหนังสือ จะพบว่า สำนักพิมพ์มีต้นทุนค่าลิขสิทธิ์นักเขียนเฉลี่ย 10% จากยอดพิมพ์ โดยมีค่าใช้จ่ายด้านการพิมพ์ 20 % (ไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านบริหาร) และเสียค่าจัดจำหน่ายอีก 40% จากยอดขาย ซึ่งสำนักพิมพ์ต้องขายให้ได้ 1,800 เล่มถึง จะเท่าทุน ส่วนผู้จัดจำหน่ายเอง มีต้นทุนดำเนินการขนส่งและบริหารจัดการ รวมถึงส่วนลดการขายให้ร้านหนังสือ 30% จากยอดขาย เมื่อหักต้นทุนดำเนินการแล้ว จะมีกำไรเหลือเพียง 4-5% เท่านั้น ร้านหนังสือเองก็มีค่าใช้จ่ายสูงมาก แม้จะเป็นร้านหนังสือขนาดใหญ่ที่มีเชนสโตร์มากมาย ก็เหลือกำไรเพียง 4-5 % เช่นกัน ดังนั้น การเรียกเก็บค่ากระจายสินค้า 1 % จากยอดส่ง (หรือประมาณ 2 % จากยอดขาย เพราะหนังสือขายได้เฉลี่ย 50 % จากยอดส่ง) ตอนนี้ก็ยังมีการต่อรองกันอยู่ว่า ใครจะเป็นคนรับภาระนี้ไป ซึ่งจะทำให้กำไรสุทธิหายไปอีก 2 % “น่าเห็นใจทุกฝ่าย เพราะซัพพลายเชน หรือห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊ค ไม่ว่าจะเป็นนักเขียน สำนักพิมพ์ ผู้จัดจำหน่าย และร้านหนังสือ ขนาดประหยัดแทบตายก็แค่พออยู่ได้ ไม่เหลืออะไรเลย ดังนั้น ภาครัฐต้องส่งเสริมให้คนไทยอ่านหนังสือมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการซื้อและใช้มาตรการด้านภาษีเข้ามาช่วย เช่น ลดภาษีซื้อให้เหลือ 0 % ทางสำนักพิมพ์ก็สามารถพิมพ์หนังสือจำนวนมากๆ ต้นทุนพิมพ์ต่อหน่วยก็ลดลง ตัวนักเขียนหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ก็มีรายได้เพิ่ม ผู้จัดจำหน่ายและร้านหนังสือก็มีเปอร์เซ็นต์จากการขายเพิ่มขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น” นายฉัตรเฉลิมฯ กล่าว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไพลินบุ๊คเน็ต กล่าวด้วยว่า การปรับค่าธรรมเนียมกระจายสินค้าจะเกิดขึ้นหรือไม่ เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อสำนักพิมพ์ไพลินบุ๊คเน็ต เนื่องจากที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้สร้างขีดความสามารถในการรองรับการแข่งขันอุตสาหกรรมหนังสือมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยกลยุทธ์การบริหารซัพพลายเชน เพื่อลดต้นทุนการพิมพ์ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางหรือผู้อ่าน โดยการตั้งจุดจำหน่ายในรูปแบบของบูธหนังสือที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้อ่าน ทำให้สำนักพิมพ์สามารถมอบส่วนลดราคาขายได้ถึง 70% เพื่อกระตุ้นการขายหนังสือเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทฯขายหนังสือได้เป็นจำนวนมาก ปีละกว่า 10 ล้านเล่ม “เราให้ความสำคัญกับเรื่องต้นทุนการผลิต ลดค่าใช้จ่ายด้านการพิมพ์ ทั้งการสร้างนักเขียนหน้าใหม่ขึ้นมา การเพิ่มปริมาณงานเขียนหนังสือต่อนักเขียนเก่า เพื่อพิมพ์หนังสือให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด และที่สำคัญด้านกลยุทธ์ช่องทางขายที่เรามีการออกบูธจำหน่ายสินค้ากระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าจำหน่ายภายในร้านหนังสือ ทำให้สามารถตั้งราคาขายย่อมเยาว์ที่ช่วยกระตุ้นให้คนอ่านซื้อหนังสือเพิ่มขึ้น ซึ่งเชื่อว่ากลยุทธ์ดังกล่าว ทำให้เราสามารถเข้มแข็งอยู่ในธุรกิจหนังสือในภาวะต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้ได้” นายฉัตรเฉลิมฯ กล่าว-กภ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรม+ห่วงโซ่อุปทานวันนี้

JWD รับรางวัลจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมตอกย้ำคุณภาพ

นายจิตชัย นิมิตรปัญญา (ซ้าย) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD รับรางวัลจากนายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในโอกาสที่บริษัท แปซิฟิค โลจิสติกส์ โปร จำกัด ในเครือ JWD ได้รับเลือกเป็นสถานประกอบการที่มีการดำเนินงานเป็นเลิศจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการการเพิ่มขีดความสามารถบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรม ตอกย้ำความเชี่ยวชาญและศักยภาพการให้บริการคลังสินค้าห้องเย็น ซึ่งครอบคลุมถึงการรับฝากสินค้า

ประเทศไทยกับการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า

รายงานโดย วิจัยกรุงศรี บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา "รถยนต์ไฟฟ้า" เป็นประเด็นที่ถูกจับตาหลังจากรัฐบาลไทยมีเป้าหมายให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ชาติ พร้อมตั้งความหวังให้รถยนต์ไฟฟ้าเป็น product champion ลำดับที่ 3 ของไทยในอนาคตต่อจากรถปิกอัพและอีโคคาร์...

CHEP ประกาศแต่งตั้ง โลรองท์ เลอ แมร์ซิเยร์ เป็นรองประธานอาวุโสฝ่าย Global Automotive

CHEP Automotive and Industrial Solutions ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นหมุนเวียนตู้คอนเทนเนอร์ในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์ มีความยินดีที่จะประกาศว่า บริษัทได้แต่งตั้งคุณโลรองท์ เลอ แมร์ซิเยร์ ให้ดำรงตำ...

ปฏิทินข่าว โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ วันที่ 23 - 29 พฤษภาคม 2556

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 08.30 น. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จัดอบรมการพัฒนาศักยภาพการสอนภาษาอังกฤษ ของอาจารย์สาขาวิชาตะวันตก เรื่อง “การเขียนบทความวิชาการ เพื่อการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ” ณ ห้องออร์คิด 4 โรงแรม...

การสัมมนาเปิดตัวโครงการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรม ที่ คอนเวนชั่น ฮอลล์ A B โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ

การสัมมนาเปิดตัวโครงการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรม ที่ คอนเวนชั่น ฮอลล์ A B โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯวันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 25568.30 น. ประเสริฐ บุญชัยสุข...

ม.มหิดล ร่วมกับ กรมการค้าต่างประเทศ แถลงข่าวโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยเพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดแถลงข่าวโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย...