กสอ. ปลื้มองค์กรที่ร่วมมหกรรมคิวซีสามารถลดต้นทุนได้กว่าหมื่นล้านบาท พร้อมแนะสิ่งที่อุตฯ ไทย จำเป็นต้องเตรียม 4 ข้อ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เผยอุตสาหกรรมไทยต้องเร่งเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการยกระดับผลิตภาพ 2. ด้านการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ/คลัสเตอร์ และการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรม 3. ด้านการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และ 4. ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมจับมือกับสมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทยเร่งยกระดับภาคอุตสาหรรม ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคราชการและโรงพยาบาล ด้วยการจัดมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทยที่จัดอย่างต่อเนื่องมาถึง 31 ปี ซึ่งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์และเพิ่มคุณภาพด้านต่าง ๆ ภายในหน่วยงานของตนเอง ทั้งนี้ จากการจัดงานได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่างๆ เป็นอย่างดีเยี่ยม รวมถึงพบผลงานเชิงนวัตกรรมมากมายที่นำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร อาทิ นวัตกรรมการลดเวลาการเชื่อมระบบทำความเย็นตู้แช่ จากบริษัท ซีพี รีเทลลิงค์ จำกัด นวัตกรรม Contact Joystick for Overhead Crane ผลงานการพัฒนาวิธีการดึงลากเชือกนำในงานขึงสายไฟฟ้าให้ลอยสูงเหนือพื้นดิน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและลดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กร จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น
          นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า อุตสาหกรรมในโลกยุคปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันหรือคิดค้นกลยุทธ์ที่ทำให้ธุรกิจมีความแตกต่างจากผู้อื่น โดยเฉพาะ การเพิ่มขีดความสามารถในเรื่องคุณภาพและประสิทธิภาพทั้งในส่วนของภาคการผลิตและภาคบริการ ให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างกลยุทธ์ดังกล่าวถือเป็นความสามารถพิเศษขององค์กรธุรกิจอย่างหนึ่งที่คู่แข่งไม่สามารถลอกเลียนหรือเลียนแบบได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการผลิต ระบบการจัดการภายใน ระบบการบริหารและภาพลักษณ์ขององค์กร เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญอย่างมากที่ภาคอุตสาหกรรมของไทยต้องพยายามสร้างขึ้นมาในช่วงเวลาที่ระบบการค้าเสรี กำลังมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง โดยเมื่อผู้ประกอบการได้พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดีขึ้นแล้ว ย่อมหมายถึง ต้นทุนในด้านต่างๆ ทั้งจากขั้นตอนการทำงาน ก็จะลดน้อยลง สามารถลดความผิดพลาดได้มากขึ้น นอกจากนี้ เมื่อคุณภาพของสินค้าและบริการดีขึ้น ก็ยังจะช่วยให้ผลผลิตขององค์กรสามารถเพิ่มมูลค่าในมิติต่าง ๆ ให้สูงขึ้นได้ ดังนั้น กลยุทธ์ที่กล่าวมาข้างต้นจึงถือเป็นเครื่องมือนำทางที่สำคัญอย่างมากเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนในที่สุด
          ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า อุตสาหกรรมของไทยยังต้องปรับตัวในด้านการใส่ใจคุณภาพเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของกระแสความต้องการของโลกและผู้บริโภค โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้พยายามมองหาจุดอ่อนที่ผู้ประกอบการ องค์กร และภาคธุรกิจกำลังประสบกับอุปสรรคในหลากหลายประเภท ซึ่งพบว่าองค์กรต่าง ๆ กำลังเผชิญกับปัญหาหลัก ดังนี้
          1. ด้านการยกระดับผลิตภาพ หลากหลายองค์กรธุรกิจยังขาดการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ผลผลิตมีปริมาณหรือคุณภาพสูงขึ้น ทั้งยังขาดการคำนึงถึงการใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาปรับปรุงปัจจัยในการผลิต อาทิ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ทักษะความชำนาญและความสามารถของบุคลากรรอบด้าน การใช้พลังงานที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า การสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่าง รวมทั้งยังขาดความต่อเนื่องในการปรับปรุงธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์
          2. ด้านการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ / คลัสเตอร์ และการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรม หลายองค์กรยังมีการทำงานแบบโดดเดี่ยว ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้หรือประยุกต์สิ่งต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจได้การส่งเสริมการรวมกลุ่มเครือข่ายธุรกิจจึงมีข้อดีคือช่วยก่อให้เกิดการพัฒนาเทคนิคและรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ทั้งยังช่วยในการแสวงหาปัจจัยการผลิตจากองค์กรภายในกลุ่ม 
          3. ด้านการลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันองค์กรหลายๆ แห่งยังขาดความสามารถและความรู้ที่เพียงพอในการแสวงหาวิธีว่าจะลดต้นทุนได้อย่างไร ขณะที่บางแห่งใช้กลวิธีในการลดต้นทุนที่ไม่ถูกต้องจนทำให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพของสินค้า ซึ่งปัญหาในข้อนี้ผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้จากองค์กรธุรกิจที่เป็นต้นแบบ เพื่อให้สามารถนำกลยุทธ์นี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อความอยู่รอดขององค์กรธุรกิจในยุคที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนในวันข้างหน้า
          4. ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน องค์กรและภาคอุตสาหกรรมในยุคใหม่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ทั้งยังต้องสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการมุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial) และส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) เช่น สิ่งทอและวัสดุก่อสร้างสีเขียว รถยนต์พลังงานไฟฟ้า พลาสติกชีวภาพ เป็นต้น
          ทั้งนี้ นอกเหนือจากการมองหาจุดอ่อนที่ภาคธุรกิจกำลังประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ แล้ว กสอ.ยังได้ผลักดันให้ผู้ประกอบการสร้างจุดแข็งเข้ามาแทนที่ปัญหาซึ่งองค์กรธุรกิจกำลังประสบหรือเผชิญอยู่ ทั้งด้วยการใช้ประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค การมีวัตถุดิบทางการเกษตรที่หลากหลายและมีคุณภาพ การมีแรงงานฝีมือการมีภาคเกษตรและภาคบริการที่เอื้อต่อการต่อยอดการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และการมีทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่สามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการ ทั้งนี้ จุดแข็งดังกล่าวสามารถนำมาสร้างความได้เปรียบจากโอกาสที่เกิดขึ้น เช่น การเข้าสู่ AEC ทำให้มีวัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำกว่า และสามารถเข้าถึงตลาดใหม่ในภูมิภาคได้ง่ายขึ้น การเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมบนพื้นฐานศักยภาพของประเทศ และการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม การวิจัย และพัฒนา เป็นต้น
          โดยในปี 2560 กสอ. ได้ร่วมกับสมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย จัดงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นปีที่ 31 เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด โดยมุ่งเน้นการพัฒนาใน 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาคเอกชน ภาครัฐวิสาหกิจ และภาคราชการและโรงพยาบาล เพื่อยกระดับคุณภาพของสินค้าและบริการตามหลักการของคิวซี รวมทั้งสิ้น 117 กลุ่ม โดยแบ่งเป็นภาคอุตสาหกรรม 52 กลุ่มภาครัฐวิสาหกิจ 17 กลุ่ม ภาคราชการและโรงพยาบาล 48 กลุ่ม ทั้งนี้ ที่ผ่านมาในแต่ละปีผลงานขององค์กรต่าง ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มคิวซีสามารถลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าในภาพรวมได้กว่า 10,000 ล้านบาท ขณะที่บางองค์กรสามารถเพิ่มมูลค่าได้กว่า 200 ล้านบาท อาทิ บริษัท เอสซีจี พลาสติกส์ จำกัด ลดต้นทุน/เพิ่มผลผลิตได้ 288,000,000 บาทบริษัท กระเบื้องกระดาษไทย จำกัด (โรงงงานสระบุรี) ลดต้นทุน/เพิ่มผลผลิตได้ 30,00,000 บาท บริษัท ซี พี แรม จำกัด ลดต้นทุน/เพิ่มผลผลิตได้ 15,580,000 บาท บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด ลดต้นทุน/ เพิ่มผลผลิตได้ 15,00,000 บาท บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ลดต้นทุน/เพิ่มผลผลิตได้ 9,100,000 บาท บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด ลดต้นทุน/เพิ่มผลผลิตได้ 3,605,000 บาท เป็นต้น
          สำหรับงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทย กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-28 เมษายน 2560 ณ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-2024414 – 17 หรือ เข้าไปที่ www.dip.go.th
กสอ. ปลื้มองค์กรที่ร่วมมหกรรมคิวซีสามารถลดต้นทุนได้กว่าหมื่นล้านบาท พร้อมแนะสิ่งที่อุตฯ ไทย จำเป็นต้องเตรียม 4 ข้อ
 
กสอ. ปลื้มองค์กรที่ร่วมมหกรรมคิวซีสามารถลดต้นทุนได้กว่าหมื่นล้านบาท พร้อมแนะสิ่งที่อุตฯ ไทย จำเป็นต้องเตรียม 4 ข้อ
กสอ. ปลื้มองค์กรที่ร่วมมหกรรมคิวซีสามารถลดต้นทุนได้กว่าหมื่นล้านบาท พร้อมแนะสิ่งที่อุตฯ ไทย จำเป็นต้องเตรียม 4 ข้อ
กสอ. ปลื้มองค์กรที่ร่วมมหกรรมคิวซีสามารถลดต้นทุนได้กว่าหมื่นล้านบาท พร้อมแนะสิ่งที่อุตฯ ไทย จำเป็นต้องเตรียม 4 ข้อ

ข่าวมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทย+ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมวันนี้

ก.อุตสาหกรรม ปลื้มองค์กรร่วมมหกรรมคิวซีลดต้นทุนผลิตกว่าพันล้านบาท ชี้พัฒนาคุณภาพคิวซี เป็นวาระเร่งด่วนแห่งชาติ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันต้องร่วมมือกัน

กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือสมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย จัดงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 มหกรรมคุณภาพภาครัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 30 มหกรรมคุณภาพภาคราชการและโรงพยาบาล ประจำปี 2562 และมหกรรมคุณภาพข้ามสายงาน ครั้งที่ 2 มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพภาคอุตสาหกรรม-รัฐวิสาหกิจ-ราชการและโรงพยาบาล ด้านรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลื้มผู้ประกอบการชูนวัตกรรม นำเทคโนโลยีเป็นกลไกสำคัญ ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตได้กว่าพันล้านบาท พร้อมเดินหน้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 นายศิริรุจ จุลกะรัจน์

มหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย เชิญร่วมงาน มหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 มหกรรมคุณภาพภาครัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 30 มหกรรมคุณภาพภาคราชการและโรงพยาบาลประจำปี 2562 และมหกรรมคุณภาพข้ามสายงาน ครั้งที่ 2...

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ รองปลัดกระทรวงอ... ภาพข่าว: กสอ. ปรับคุณภาพอุตสาหกรรมรับไทยแลนด์ 4.0 — นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (ที่ 2 จากซ้าย) พร้อมด้วยนายพสุ โลหารชุน อธิบดีก...

กสอ. เผยยุทธศาสตร์ยกระดับมาตรฐานอุตฯไทยยุค 4.0 ในงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทยครั้งที่ 31

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรียนเชิญสื่อมวลชนร่วมทำข่าว ยุทธศาสตร์ยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไทยยุคไทยแลนด์ 4.0 ในงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31 พร้อมพบผู้ประกอบการที่นำนวัตกรรมมาใช้...

กสอ. มุ่งสร้างคุณภาพอุตสาหกรรมไทย โค้งสุดท้าย AEC พร้อมโหมจัดงาน “มหกรรมคิวซีแห่งชาติ”

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยสมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย เดินหน้าการจัดงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29 มหกรรมคุณภาพภาครัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26 ...

กสอ. ชวนช้อปปิ้งกระตุ้นเศรษฐกิจ ในงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับสมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมการออกร้านสินค้าคุณภาพราคาผู้ผลิตจากหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ สินค้าหัตถกรรม สินค้า OTOP อาหารสดและอาหารแห้ง เครื่องประดับนำเข้า สมุนไพรไทย...

กสอ. ลุยจัดงาน “มหกรรมคุณภาพแห่งชาติ” มุ่งยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมภาคเอกชน ภาคราชการ และรัฐวิสาหกิจไทย

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย จัดงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27 มหกรรมคุณภาพ ภาครัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย และงานมหกรรมคุณภาพภาคราชการและ...

ปฏิทินข่าวกิจกรรมประจำวันนี้(22 เมษายน 2556)

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2556 09.00 น. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จัดงานแถลง ข่าวมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทยครั้งที่ 27 ณ อาคารกรม ส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระราม 6 กรุงเทพฯ 09.00 น. งานสัมมนา จรรยาบรรณในมุมมองของสื่อและองค์กรกำกับ...