ไอบีเอ็มครองแชมป์ผู้นำสิทธิบัตรต่อเนื่อง 2 ทศวรรษ ตอกย้ำความเป็นหนึ่งด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--30 ม.ค.--ไอบีเอ็ม ประเทศไทย

ไอบีเอ็มครองแชมป์ผู้นำสิทธิบัตรต่อเนื่อง 2 ทศวรรษ ตอกย้ำความเป็นหนึ่งด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีนักประดิษฐ์ของไอบีเอ็มสร้างสรรค์นวัตกรรมในเทคโนโลยีแขนงใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง ไอบีเอ็มเผยบริษัทฯ ครองสถิติจดสิทธิบัตรสูงสุด 6,478 รายการในช่วงปี 2555 ครอบคลุมสิ่งประดิษฐ์ซึ่งจะเป็นพื้นฐานรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านสำคัญๆ เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) บิ๊ก ดาต้า (Big data) การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ คลาวด์ อุปกรณ์พกพา โซเชียลเน็ตเวิร์ก และสภาพแวดล้อมที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ (Software-defined environments) รวมไปถึงโซลูชั่นสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมเฉพาะ เช่น ค้าปลีก ธนาคาร การแพทย์ และการขนส่ง โดยสิ่งประดิษฐ์ที่มีการจดสิทธิบัตรเหล่านี้จะต่อยอดการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของระบบคอมพิวติ้ง หรือที่เรียกว่ายุคสมัยของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีกระบวนการเรียนรู้เหมือนมนุษย์ (Era of Cognitive Systems) การครองอันดับหนึ่งผู้นำสิทธิบัตรประจำปีของสหรัฐฯ ต่อเนื่องถึงสองทศวรรษ พร้อมด้วยจำนวนสิทธิบัตรที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงปี 2555 นี้ เป็นผลมาจากความทุ่มเทของนักประดิษฐ์กว่า 8,000 คนของไอบีเอ็มใน 46 รัฐของสหรัฐฯ และอีก 35 ประเทศ โดยนักประดิษฐ์ของไอบีเอ็มที่อยู่นอกประเทศสหรัฐฯ ได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตรสหรัฐฯ เป็นจำนวนเกือบ 30% ของผลงานทั้งหมดในช่วงปี 2555 ตั้งแต่ปี 2536-2555 นักประดิษฐ์ของไอบีเอ็มได้รับสิทธิบัตรสหรัฐฯ เกือบ 67,000 รายการ เฉพาะในปี 2555 จำนวนสิทธิบัตรที่ไอบีเอ็มได้รับนั้นมีจำนวนมากกว่าที่แอคเซนเจอร์ อเมซอน แอปเปิล อีเอ็มซี เอชพี อินเทล ออราเคิล/ซัน และไซแมนเทค ได้รับรวมกัน รายชื่อองค์กรที่ได้รับสิทธิบัตรสหรัฐฯ สูงสุด 10 อันดับในช่วงปี 2555* มีดังนี้: 1 ไอบีเอ็ม 6,478 2 ซัมซุง 5,081 3 แคนนอน 3,174 4 โซนี่ 3,032 5 พานาโซนิค 2,769 6 ไมโครซอฟท์ 2,613 7 โตชิบา 2,447 8 ฮอน ไฮ 2,013 9 เจเนอรัล อิเล็กทริค 1,652 10 แอลจี อิเล็กทรอนิกส์ 1,624 *ข้อมูลจากหน่วยงาน IFI CLAIMS Patent Services รายการสิทธิบัตรที่ไอบีเอ็มได้รับในช่วงปี 2555 เกี่ยวข้องกับผลงานประดิษฐ์ที่จะเปลี่ยนรูปแบบการใช้เทคโนโลยีในโลกที่ฉลาดขึ้น (Smarter Planet) ของบริษัทต่างๆ ในปัจจุบัน รวมถึงผลงานประดิษฐ์ที่จะวางรากฐานไปสู่ยุคสมัยของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีกระบวนการเรียนรู้เหมือนมนุษย์ อาทิเช่น ? สิทธิบัตรสหรัฐฯ เลขที่ 8,275,803: ระบบและวิธีการหาคำตอบสำหรับคำถาม - สิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรนี้ได้รับการนำไปใช้จริงในระบบวัตสัน (Watson) ของไอบีเอ็ม โดยเกี่ยวข้องกับเทคนิคที่จะช่วยให้คอมพิวเตอร์รับรู้คำถามที่เป็นภาษามนุษย์ เข้าใจรายละเอียดของคำถาม และตอบคำถามดังกล่าวได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ? สิทธิบัตรสหรัฐฯ เลขที่ 8,250,010: จุดเชื่อมต่อประสาทที่มีกระบวนการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ และสามารถปรับเปลี่ยนกำลังการเชื่อมต่อได้ โดยใช้องค์ประกอบการสลับหน่วยความจำแบบขั้วเดียว - สิทธิบัตรนี้เกี่ยวข้องกับอัลกอริธึมและวงจรสำหรับการเลียนแบบฟังก์ชั่นการเรียนรู้ของจุดเชื่อมต่อประสาทในสมอง และเป็นการวางรากฐานสำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช่แบบ Von Neumann ทั้งนี้ ไอบีเอ็มกำลังดำเนินโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ที่มีกระบวนการเรียนรู้เหมือนมนุษย์ ซึ่งใช้ชื่อว่า Systems of Neuromorphic Adaptive Plastic Scalable Electronics (SyNAPSE) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเลียนแบบความสามารถของสมองในการรับรู้ การกระทำ และการตระหนักรู้ พร้อมทั้งรับคำสั่งที่มีพลังและระดับเสียงหลากหลาย โดยไม่ต้องมีการตั้งโปรแกรม ? สิทธิบัตรสหรัฐฯ เลขที่ 8185480: ระบบและวิธีการปรับปรุงการรู้จำแบบแผนของพารามิเตอร์ที่ไม่แจกแจงความน่าจะเป็นอย่างต่อเนื่องตามสูตร สิทธิบัตรนี้อธิบายถึงเทคนิคในการจัดการและรู้จำแบบแผนในชุดข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น การทำความเข้าใจสำนวนภาษาพูด หรือการประมวลผลข้อมูลดาวเทียมเพื่อคาดการณ์ตำแหน่งที่อาจเกิดปัญหาจราจรติดขัด ? สิทธิบัตรสหรัฐฯ เลขที่ 8,200,501: วิธีการ ระบบ และผลิตภัณฑ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทางการแพทย์ในฐานข้อมูลสุขภาพ – สิ่งประดิษฐ์นี้เกี่ยวข้องกับเทคนิคที่จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์และเวชระเบียนที่เก็บไว้ในแหล่งข้อมูลหลายๆ แหล่งได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัย วินิจฉัย และรักษาอาการเจ็บป่วย ? สิทธิบัตรสหรัฐฯ เลขที่ 8,291,378: การสร้างแบบจำลองการปรับใช้ที่ง่ายขึ้น และเลขที่ 8,332,873: การวางเนื้อข้อมูลที่เก็บอยู่ในโครงสร้างข้อมูลของแอพพลิเคชั่นแบบไดนามิกในสภาพแวดล้อมดาต้าเซ็นเตอร์ – สิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรนี้เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ (Software Defined Environment) ซึ่งประกอบด้วยแพลตฟอร์มการสร้างแบบจำลอง เพื่อระบุส่วนประกอบของแอพพลิเคชั่นตามข้อกำหนดและคุณลักษณะ ต่างๆ รวมถึงระบบผสานรวมแบบอัจฉริยะ เพื่อปรับใช้ อัพเดต และจัดการเวิร์กโหลดแบบไดนามิก งานประดิษฐ์ที่ว่านี้จะช่วยให้กลุ่มผลิตภัณฑ์ IBM PureSystems สามารถใช้แบบแผนที่ทำซ้ำได้ในการแปลงสู่การปฏิบัติอย่างรวดเร็วขึ้น รวมถึงการจัดการวงจรการใช้งานเวิร์กโหลดที่ให้ผลลัพธ์ดียิ่งขึ้น ? สิทธิบัตรสหรัฐฯ เลขที่ 8,341,441: การลดการใช้พลังงานในสภาพแวดล้อมคลาวด์คอมพิวติ้ง – ผลงานประดิษฐ์ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรนี้อธิบายเทคนิคที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการใช้ทรัพยากรคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานและทำให้เกิดการใช้พลังงานน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ? สิทธิบัตรสหรัฐฯ เลขที่ 8,247,261: การผลิตโลหะพื้น (Substrate) แบบบางด้วยการกะเทาะแตกออกเป็นแผ่นๆ โดยอาศัยความเค้น - สิทธิบัตรนี้อธิบายวิธีการที่มีต้นทุนต่ำในการผลิตวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ชนิดใหม่ที่ยืดหยุ่น เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะบางมาก มีน้ำหนักเบา และยืดหยุ่น ซึ่งสามารถปรับใช้กับเทคโนโลยีที่หลากหลาย เช่น ชีวเวช การรักษาความปลอดภัย ระบบประมวลผลแบบสวมใส่ได้ และไฟส่องสว่างแบบโซลิดสเตท (Solid-state) สิทธิบัตรสหรัฐฯ เลขที่ 8,302,173: การจัดอุปกรณ์สำหรับผู้ใช้พร้อมชุดรหัสในการเข้าถึง – สิ่งประดิษฐ์นี้เกี่ยวข้องกับวิธีการตรวจสอบและเรียกดูรหัสความปลอดภัยหนึ่งชุดหรือหลายชุดซึ่งใช้ได้ในช่วงเวลาที่สั้นมาก เพื่อเสริมความปลอดภัยของระบบรักษาความปลอดภัย ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (เช่น SMS) และช่องทางที่ได้รับการเข้ารหัสแยกต่างหากในเซิร์ฟเวอร์ที่ปลอดภัย อาทิ การทำธุรกรรมหรือล็อกอินเข้าสู่ระบบอย่างปลอดภัยผ่านทางโทรศัพท์มือถือ สื่อมวลชนติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ปารณีย์ เรย์มองด็อง โทรศัพท์: 02 273 4164 อีเมล: [email protected] -นท- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวระบบวิเคราะห์ข้อมูล+รักษาความปลอดภัยวันนี้

รมย์รวินท์คลินิก ทุ่มทุนสร้างระบบ CRM มัดใจลูกค้า หวังขยายฐาน ดันยอดไตรมาสสุดท้ายปี 67

รมย์รวินท์คลินิก (Romrawin Clinic) พลิกโฉมบริการ ปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ เดินหน้าลงทุนระบบ CRM และ Big Data หวังมัดใจลูกค้าเก่า ดึงลูกค้าใหม่ ตั้งเป้าขยายฐาน เพิ่มยอดขายในไตรมาสสุดท้ายปี 2567 คุณหมอฐา แพทย์หญิงฐานิสร ธรรมลิขิตกุล และมาดามจอย ขวัญฤทัย ดำรงค์วัฒนโภคิน สองผู้บริหารหัวเรือใหญ่แห่งรมย์รวินท์คลินิก ประกาศทุ่มงบประมาณพัฒนาระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ CRM (Customer Relationship Management) และระบบวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า หรือ Big Data ภายใต้ชื่อ RAWIN CLUB โดยมีเป้าหมายสำคัญ

บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (... SAS ประกาศความร่วมมือกับ เมโทรซิสเต็มส์ รุกตลาดระบบวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับกลุ่มธุรกิจในไทย — บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ MSC ผู้นำใ...

หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ประเทศไทยโชว์ศักยภ... หัวเว่ยผนึก ม.นเรศวรจัด Tech Day โชว์ศักยภาพเทคโนฯ กระตุ้นตลาดการศึกษายกเครื่องดิจิทัล — หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ประเทศไทยโชว์ศักยภาพเทคโนโลยี ประเดิมจัด H...

โดย มร.จิม ฮาเร่ รองประธานฝ่ายวิเคราะห์กา... เพิ่มประสิทธิภาพให้ "บิ๊กดาต้า" ด้วยฐานข้อมูลขนาดเล็กและกว้าง — โดย มร.จิม ฮาเร่ รองประธานฝ่ายวิเคราะห์การ์ทเนอร์ อิงค์ เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการหยุดชะงัก ...