ค่าเสียโอกาส : 3G รายได้ที่มองเห็น และค่าเสียโอกาสที่มองไม่เห็น

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--13 ธ.ค.--สถาบันอนาคตไทยศึกษา

สถาบันอนาคตไทยศึกษา (“สถาบันฯ”) เปิดตัวงานวิเคราะห์ฉบับใหม่ “Opportunity Cost (ค่าเสียโอกาส)” โดยงานฉบับแรกขอนำเสนอค่าเสียโอกาสของโครงการ 3G ที่ประเทศไทยไม่ตัดสินใจเดินหน้าลงทุนเมื่อ 3 ปีก่อนว่าสร้างรายได้ที่มองเห็นให้แก่ประเทศไทยเพียงประมาณปีละ1.5 หมื่นล้านบาทในทางกลับกันโครงการนี้กลับก่อให้เกิดค่าเสียโอกาสที่มองไม่เห็นแก่ประเทศไม่น้อยกว่า 4.8 แสนล้านบาท (หรือคิดเป็นมูลค่ากว่าปีละ 1.6 แสนล้านบาท) ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานคณะกรรมการบริหาร สถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวว่า “สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการวิจารณ์ การวิจารณ์ส่วนใหญ่มักมาจากสิ่งที่คนมองเห็นและพูดถึง แต่ไม่ได้เป็นผู้ทำ บ่อยครั้งที่การวิจารณ์ทำให้คนไม่กล้าตัดสินใจไม่กล้าเดินหน้าที่จะทำในสิ่งที่คิดและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เราเรียกต้นทุนของการไม่กล้าเดินหน้านี้ว่า “ค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost)” ซึ่งในกรณีของโครงการขนาดใหญ่ของประเทศไทย ต้นทุนประเภทนี้อาจก่อความเสียหายให้แก่ประเทศชาติได้อย่างมหาศาลไม่น้อยไปกว่าต้นทุนที่เราเห็นกันได้อย่างชัดแจ้งเลยทีเดียว สำหรับงานวิเคราะห์ฉบับนี้ ทางสถาบันฯ ได้จัดทำขึ้นเพื่อชี้ให้เห็นถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นกับภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐจากการไม่ตัดสินใจทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งของประเทศไทย โดยจะนำเสนอตัวเลขของต้นทุนนี้ในรูปแบบที่วัดกันได้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างพื้นฐานและยกระดับการวิจารณ์ของสังคมให้อยู่บนข้อมูลที่ครบถ้วน และทราบโดยทั่วกัน” ดร. นิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยถึงค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นจากโครงการ 3G ว่า “นับเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ตั้งแต่เดือนก.ย. 2552 ที่ร่างเงื่อนไขการประมูล 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1GHZ ของกทช. ได้ถูกคัดค้านมิให้มีการเปิดประมูล จนกระทั่งมีการประมูลจริงเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2555 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาดังกล่าวจนจบสิ้นการประมูล ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความชอบธรรมในเชิงกฎหมาย ตลอดจนผลได้ผลเสียจากการประมูล ซึ่งคิดเป็นรายได้ที่มองเห็นให้แก่ประเทศไทยมูลค่าเพียงปีละ 1.5 หมื่นล้านบาทเท่านั้น แต่การวิจารณ์เหล่านั้นไม่ได้กล่าวถึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสของประเทศไทยที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 4.8 แสนล้านบาท (หรือคิดเป็นมูลค่ากว่าปีละ 1.6 แสนล้านบาท) ซึ่งขาดหายไปจากการที่เราไม่ตัดสินใจเดินหน้าลงทุนในโครงการนี้ตั้งแต่3 ปีที่ผ่านมา แบ่งเป็นค่าเสียโอกาสของภาครัฐปีละ 0.2 หมื่นล้านบาท ภาคธุรกิจปีละ 9.6 หมื่นล้านบาท และภาคประชาชนอีกปีละ 6.2 หมื่นล้านบาท” “การลงทุนในโครงการ 3G อาจทำให้รัฐสูญเสียส่วนแบ่งรายได้บนคลื่นความถี่เก่า แต่เมื่อคิดรวมรายได้จากค่าสัมปทานคลื่นความถี่ใหม่ และรายได้จากภาษีทางตรงเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีทางอ้อมเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งรัฐจะจัดเก็บเพิ่มได้จากภาคธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จากการมี 3Gคาดว่ารัฐจะได้รับผลประโยชน์สุทธิเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่าปีละ 0.2 หมื่นล้านบาท ในขณะเดียวกัน ยังเอื้อประโยชน์ให้แก่ภาคเอกชนโดยเฉพาะผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดที่จะช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่ธุรกิจไม่น้อยกว่าปีละ 3.3 หมื่นล้านบาท อีกทั้งยังส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจประเทศไทยโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำซึ่งเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานเกี่ยวเนื่องกับการลงทุนในโครงการ 3G และอุตสาหกรรมปลายน้ำ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่นำเอาผลประโยชน์จาก 3G ไปเป็นพื้นฐานต่อในการผลิตคิดเป็นมูลค่ารวมแล้วกว่าปีละ 6.3 หมื่นล้านบาท ท้ายที่สุด ก็คือภาคประชาชนซึ่งจะได้รับผลประโยชน์จาก 3G ถึงกว่าปีละ 6.2 หมื่นล้านบาท จากความสะดวกรวดเร็วและประหยัดเวลาในการเข้าชมเว็บไซด์บนโทรศัพท์มือถือด้วย 3G ซึ่งเร็วกว่า EDGE ถึง 30-35 เท่า และช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ประชาชนต้องจ่ายเพิ่มจากปัญหาสายหลุดขณะสนทนาเมื่อใช้คลื่นความถี่เดิม ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงต้นทุนความสะดวกสบายอื่นๆ ที่จะได้รับจากการใช้โทรศัพท์มือถือบน 3G อาทิเช่น การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านธนาคารทางมือถือ (mobile banking) และการใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลต่างประเทศฟรีผ่านระบบ VOIP เป็นต้น” นายนิตินัย กล่าวสรุป สำหรับท่านที่สนใจ สามารถอ่านหรือดาวน์โหลดรายงาน “Opportunity Cost (ค่าเสียโอกาส)” ฉบับเต็มได้จากเว็บไซด์ของสถาบันอนาคตไทยศึกษาwww.thailandfuturefoundation.org -กผ-

ข่าวเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ+สถาบันอนาคตไทยศึกษาวันนี้

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า จัดงาน ThaiPublica Forum 2015 ครั้งที่ 1 และเสวนาพิเศษ “ประเทศไทย...คนป่วยคนใหม่ของเอเชีย?”

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมงาน “ThaiPublica Forum 2015 ครั้งที่ 1 และเสวนาพิเศษ “ประเทศไทย...คนป่วยคนใหม่ของเอเชีย?” ในวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2558 เวลา 9.30-12.00 น. ณ KTC POP ชั้น B1 อาคารUBC II สุขุมวิท 33 สถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงศ์ โดยงานเสวนาพิเศษ “ประเทศไทย...คนป่วยคนใหม่ของเอเชีย?” ได้รับเกียรติจากวิทยากรรับเชิญ ได้แก่ - ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหาร สถาบันอนาคตไทยศึกษา - คุณกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง - ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ

ภาพข่าว: ธนาคารกรุงเทพ ร่วมกับ สถานทูตจีนประจำประเทศไทย จัดงานสัมมนา The Chinese Link Forum หัวข้อ “Surviving Global Volatility in 2015”

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร (กลาง) นายคณิต สีห์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ (ที่ 2 จากซ้าย) พร้อมผู้บริหารระดับสูง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ...

สถาบันอนาคตไทยศึกษาชี้นโยบาย Digital Economy ต้องตอบโจทย์การสร้างมูลค่าเพิ่ม..ไม่ใช่เน้นที่การเพิ่มหน่วยงานภาครัฐ แต่ต้องให้เอกชน-วิชาการจับมือกันสร้างธุรกิจ

สถาบันอนาคตไทยศึกษาเผยผลการศึกษาเกี่ยวกับนโยบาย Digital Economy เป็นนโยบายที่ช่วยในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และอาจจะช่วยให้...

สถาบันอนาคตไทยศึกษา นำเสนอ 5 ข้อเท็จจริงจาก 10 ปีงบประมาณไทย สร้างบทเรียนรู้เพื่อไม่ต้องเดินซ้ำรอยในอนาคต

สถาบันอนาคตไทยศึกษา (“สถาบันฯ”) ออกรายงานวิจัยเรื่อง “10 ปีงบประมาณไทย.. เราเรียนรู้อะไร?” นำเสนอ 5 ข้อเท็จจริงจากการวิเคราะห์โครงสร้างภาพรวมของงบประมาณไทยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อปูภาพใหญ่ให้...

สถาบันอนาคตไทยศึกษาเปิดมุมมองภาคเอกชนต่อการพัฒนาประเทศไทย ตกผลึก 4 ปัจจัยขับเคลื่อนประเทศจากวงสนทนา TFF Business Roundtable

สถาบันอนาคตไทยศึกษา (“สถาบันฯ”) ออกรายงาน TFF Business Roundtable เก็บประเด็นมุมมองและมุมคิดของนักธุรกิจระดับคีย์แมนจากภาคเอกชน นำเสนอ 4 ปัจจัยขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าว...

สถาบันอนาคตไทยศึกษาเปิดตัวรายงาน TFF Economic Roundtable จับประเด็นทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2556 จากวงสนทนากูรู

สถาบันอนาคตไทยศึกษา (“สถาบันฯ”) เปิดตัวรายงาน TFF Economic Roundtable จับประเด็นมุมมองและความเห็นสำคัญที่มีต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2556 จากวงสนทนาแบบปิดของผู้ร่วมสนทนาระดับ “มากประสบการณ์”...

นางสาวธิดา แก้วบุตตา ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุท... SAWAD คว้ารางวัลบริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี 2567 ตอกย้ำความเป็นผู้นำในธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ — นางสาวธิดา แก้วบุตตา ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์องค์กร บริษัท ศรีส...