สถาบันอนาคตไทยศึกษา นำเสนอ 5 ข้อเท็จจริงจาก 10 ปีงบประมาณไทย สร้างบทเรียนรู้เพื่อไม่ต้องเดินซ้ำรอยในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--14 มิ.ย.--สถาบันอนาคตไทยศึกษา

สถาบันอนาคตไทยศึกษา (“สถาบันฯ”) ออกรายงานวิจัยเรื่อง “10 ปีงบประมาณไทย.. เราเรียนรู้อะไร?” นำเสนอ 5 ข้อเท็จจริงจากการวิเคราะห์โครงสร้างภาพรวมของงบประมาณไทยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อปูภาพใหญ่ให้เห็นว่างบประมาณของประเทศถูกใช้ไปในเรื่องที่ “ถูกที่” หรือไม่ ตอบโจทย์ของประเทศอย่างไร และได้ผลลัพท์ที่ต้องการหรือไม่ แนะใช้บทเรียนเป็นเครื่องเตือนใจไม่เดินซ้ำรอยเดิมในอนาคต ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานคณะกรรมการบริหาร สถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวว่า “เมื่อพูดถึงงบประมาณ สิ่งที่คนสนใจมักจะเป็นเรื่องที่ว่าปีนี้รัฐจะใช้งบประมาณเท่าใด เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้ากี่เปอร์เซ็นต์ หรืออย่างมากก็ดูว่าแต่ละกระทรวงจะได้รับการจัดสรรวงเงินงบประมาณมากเท่าใด แต่การพิจารณางบประมาณแบบปีต่อปีเช่นนี้ อาจทำให้เราละเลยภาพใหญ่ของงบประมาณ ดังนั้น สถาบันฯ จึงได้ศึกษาโครงสร้างภาพรวมของงบประมาณไทยโดยมองย้อนกลับไป 10 ปี และขอนำเสนอ 5 ข้อเท็จจริงของงบประมาณไทยเพื่อให้เป็นบทเรียนรู้แก่สังคมไทยต่อไป: ข้อเท็จจริงที่ 1: 10 ปีที่ผ่านมา งบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นกว่า 2.4 เท่า หรือเพิ่มขึ้นเป็นเงินถึง 1.4 ล้านล้านบาท ในขณะที่งบลงทุนกลับเพิ่มขึ้นเพียง 1.5 แสนล้านบาท และมีสัดส่วนเพียง 12% ของงบประมาณเท่านั้น นอกจากนี้ งบประมาณรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 9.2% ต่อปี ยังขยายตัวเร็วกว่าอัตราการเติบโตของ GDP (รวมเงินเฟ้อ) ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียง 7.2% ต่อปีอีกด้วย ข้อเท็จจริงที่ 2: งบลงทุนจริงๆ อาจจะไม่ได้มากเหมือนที่ปรากฎในรายงานทั่วไป ในเอกสารงบประมาณโดยสังเขปประจำปี 2557 มีการรายงานตัวเลข “รายจ่ายเพื่อการลงทุน” มูลค่าราว 4.4 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 17% ของงบประมาณทั้งหมด แต่หากดูตัวเลขงบลงทุนตามระบบของ GFS ซึ่งหมายถึงการซื้อสินทรัพย์ถาวร จะพบว่ามีมูลค่าเพียง 3 แสนล้านบาทเท่านั้น ข้อเท็จจริงที่ 3: การจัดสรรงบประมาณเป็นไปตามหน่วยงานมากกว่าตามยุทธศาสตร์ของประเทศ ถึงแม้ว่าเวลาจะผ่านไปกว่า 10 ปีแล้ว และโจทย์ของประเทศก็เปลี่ยนไปแล้วเช่นกัน แต่การจัดสรรงบประมาณไปยังกระทรวงต่างๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเท่าใดนัก สังเกตได้จากสัดส่วนงบประมาณของแต่ละกระทรวงที่แทบจะไม่เปลี่ยน หรือเปลี่ยนน้อยมากเมื่อเทียบกับตัวเลขเมื่อสิบปีที่แล้ว ยกเว้นกระทรวง ศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทยที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ในขณะที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับกระทรวงพลังงานที่รับผิดชอบวาระของประเทศที่ต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศกลับได้รับการจัดสรรงบประมาณที่ลดลง ข้อเท็จจริงที่ 4 : รูปแบบของการจัดสรรงบประมาณยังไม่เอื้อต่อการวัดผลว่าประเทศจะได้ผลลัพธ์อะไร คุ้มค่ากับเงินที่เสียไปหรือไม่ การที่งบประมาณไปกระจุกตัวอยู่ในบางหน่วยงาน โดยเฉพาะในที่ที่ไม่ค่อยมีการแจกแจงรายละเอียดการใช้งบประมาณ จะทำให้การวัดผลเป็นไปได้ยาก เช่น งบกลางที่ได้การจัดสรรวงเงินเพิ่มขึ้นจาก 10 ปีที่แล้วมากถึง 2 เท่า มีมูลค่าเทียบเท่างบของกระทรวงกลาโหม กระทรวงคมนาคม และกระทรวงแรงงานรวมกัน แต่ไม่ต้องทำแผนแจกแจงรายละเอียดการใช้จ่าย หรือเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินที่ให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในการอนุม้ติก็มีวงเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นเกือบ 8 เท่าเมื่อ 10 ปีผ่านไป และก็มีการใช้จ่ายที่เกินจริงกว่างบประมาณที่ตั้งเอาไว้ ข้อเท็จจริงที่ 5 : งบประมาณที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้หมายความว่าจะได้ผลงานที่ดีขึ้น หรือมีการนำเม็ดเงินงบประมาณไปแปลงให้เป็นผลลัพท์ตามโจทย์ที่ประเทศต้องการ ตัวอย่างเช่น กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับการจัดสรรงบเพิ่มกว่า 2 เท่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา แต่ผลการสอบมาตรฐาน PISA ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กไทยกลับมีคะแนนที่ลดน้อยลง หรือกระทรวงคมนาคมที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ดัชนีความสามารถด้านโลจิสติกส์ของไทยกลับลดลงไปอยู่ในอันดับที่ 38 ในปี 2555 จากเดิมในอันดับที่ 31 ในปี 2550 “เราควรใช้ประโยชน์จาก 5 ข้อเท็จจริงของ 10 ปีงบประมาณไทย เพื่อเป็นบทเรียนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และปรับปรุงสิ่งที่จะทำในอนาคต โดยสถาบันฯ ขอเสนอ 3 เรื่องที่รัฐควรทำ ได้แก่ 1) ต้องจัดสรรงบประมาณให้ถูกที่ ให้ตอบโจทย์ด้านยุทธศาสตร์ของประเทศ และตามลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์ในแต่ละด้าน มากกว่าการพิจารณาตามสัดส่วนที่เคยได้รับการจัดสรรในปีก่อนหน้า 2) เน้นการวัดผลลัพธ์ของงบประมาณ เพื่อให้มั่นใจว่างบประมาณที่ได้จัดสรรลงไปจะถูกแปรเปลี่ยนให้เป็นผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง การจัดสรรต้องโปร่งใส มีการกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน และต้องเรียนรู้ที่จะใช้เครื่องมือต่างๆ ในการตรวจสอบงบประมาณ และ 3) ต้องมีการวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อรับประกันว่าผลลัพธ์ที่ได้มีความคุ้มค่า โดยต้องยกเลิกโครงการหรือแผนงานที่ไม่รู้ต้นทุน และต้องจัดทำมาตรฐานต้นทุนเพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบที่ชัดเจน” ดร. เศรษฐพุฒิ กล่าวสรุป สำหรับท่านที่สนใจ สามารถอ่านหรือดาวน์โหลดรายละเอียดแบบสมบูรณ์ของรายงาน “10 ปีงบประมาณไทย .. เราเรียนรู้อะไร?” ได้จากเว็บไซด์ของสถาบันอนาคตไทยศึกษา (www.thailandfuturefoundation.org) สถาบันอนาคตไทยศึกษาขอขอบพระคุณสื่อมวลชนทุกท่านที่ช่วยเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมใดๆ โปรดติดต่อ: สุนทรี ปานนิลวงศ์ / ฐานิดา กมลจรัสกิจ โทร. 02 2645481-3 อีเมล์ [email protected] www.thailandfuturefoundation.org -นท-

ข่าวเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ+สถาบันอนาคตไทยศึกษาวันนี้

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า จัดงาน ThaiPublica Forum 2015 ครั้งที่ 1 และเสวนาพิเศษ “ประเทศไทย...คนป่วยคนใหม่ของเอเชีย?”

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมงาน “ThaiPublica Forum 2015 ครั้งที่ 1 และเสวนาพิเศษ “ประเทศไทย...คนป่วยคนใหม่ของเอเชีย?” ในวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2558 เวลา 9.30-12.00 น. ณ KTC POP ชั้น B1 อาคารUBC II สุขุมวิท 33 สถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงศ์ โดยงานเสวนาพิเศษ “ประเทศไทย...คนป่วยคนใหม่ของเอเชีย?” ได้รับเกียรติจากวิทยากรรับเชิญ ได้แก่ - ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหาร สถาบันอนาคตไทยศึกษา - คุณกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง - ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ

ภาพข่าว: ธนาคารกรุงเทพ ร่วมกับ สถานทูตจีนประจำประเทศไทย จัดงานสัมมนา The Chinese Link Forum หัวข้อ “Surviving Global Volatility in 2015”

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร (กลาง) นายคณิต สีห์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ (ที่ 2 จากซ้าย) พร้อมผู้บริหารระดับสูง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ...

สถาบันอนาคตไทยศึกษาชี้นโยบาย Digital Economy ต้องตอบโจทย์การสร้างมูลค่าเพิ่ม..ไม่ใช่เน้นที่การเพิ่มหน่วยงานภาครัฐ แต่ต้องให้เอกชน-วิชาการจับมือกันสร้างธุรกิจ

สถาบันอนาคตไทยศึกษาเผยผลการศึกษาเกี่ยวกับนโยบาย Digital Economy เป็นนโยบายที่ช่วยในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และอาจจะช่วยให้...

สถาบันอนาคตไทยศึกษาเปิดมุมมองภาคเอกชนต่อการพัฒนาประเทศไทย ตกผลึก 4 ปัจจัยขับเคลื่อนประเทศจากวงสนทนา TFF Business Roundtable

สถาบันอนาคตไทยศึกษา (“สถาบันฯ”) ออกรายงาน TFF Business Roundtable เก็บประเด็นมุมมองและมุมคิดของนักธุรกิจระดับคีย์แมนจากภาคเอกชน นำเสนอ 4 ปัจจัยขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าว...

สถาบันอนาคตไทยศึกษาเปิดตัวรายงาน TFF Economic Roundtable จับประเด็นทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2556 จากวงสนทนากูรู

สถาบันอนาคตไทยศึกษา (“สถาบันฯ”) เปิดตัวรายงาน TFF Economic Roundtable จับประเด็นมุมมองและความเห็นสำคัญที่มีต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2556 จากวงสนทนาแบบปิดของผู้ร่วมสนทนาระดับ “มากประสบการณ์”...

ค่าเสียโอกาส : 3G รายได้ที่มองเห็น และค่าเสียโอกาสที่มองไม่เห็น

สถาบันอนาคตไทยศึกษา (“สถาบันฯ”) เปิดตัวงานวิเคราะห์ฉบับใหม่ “Opportunity Cost (ค่าเสียโอกาส)” โดยงานฉบับแรกขอนำเสนอค่าเสียโอกาสของโครงการ 3G ที่ประเทศไทยไม่ตัดสินใจเดินหน้าลงทุนเมื่อ 3 ปีก่อนว่าสร้างรายได้ที่มองเห็นให้แก่ประเทศไทย...

นางสาวธิดา แก้วบุตตา ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุท... SAWAD คว้ารางวัลบริษัทยอดเยี่ยมแห่งปี 2567 ตอกย้ำความเป็นผู้นำในธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ — นางสาวธิดา แก้วบุตตา ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์องค์กร บริษัท ศรีส...