หนึ่งทศวรรษสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สัมผัสความก้าวหน้าของนิติวิทยาศาสตร์ไทย (The Progressive of Thai Forensic Science)

27 Nov 2012

กรุงเทพฯ--27 พ.ย.--สถาบันนิติวิทยาศาสตร์

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ได้กำหนดจัดงาน๑ ทศวรรษสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ขึ้นระหว่างวันที่ ๒๕-๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ถนนวิภาวดีรังสิตกรุงเทพมหานครซึ่งนอกจากเป็นการฉลองวาระครบรอบการก่อตั้งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ครบรอบสิบปีหรือ ๑ ทศวรรษแล้ว ยังเป็นการขับเคลื่อนนิติวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยไปสู่การเป็นหนึ่งเดียวกับเครือข่ายนิติวิทยาศาสตร์แห่งเอเชียอีกด้วยนอกจากนี้ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในเครือข่ายนิติวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยและประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียและร่วมกันบูรณาการยกระดับคุณภาพของเครือข่ายนี้ไปสู่ความเป็นสากล ทั้งนี้จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ในแต่ละด้านมานำเสนอผลงาน ตลอดจนแลกเปลี่ยนและเสนอแนะแนวทางพัฒนาการตรวจพิสูจน์ฯ ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

โดยมีรายละเอียดกิจกรรมภายในงานดังต่อไปนี้

๑) กิจกรรมที่หนึ่งในระหว่างวันที่ ๒๕-๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕คือกิจกรรม การประชุมสัมมนานานาชาติเครือข่ายนิติวิทยาศาสตร์เอเชียประจำปี ครั้งที่ ๔ (4th AFSN Annual Meeting and Symposium) โดยเป็นการจัดประชุมประจำปีของAsian Forensic Network (AFSN) หรือเครือข่ายนิติวิทยาศาสตร์แห่งเอเชียได้ก่อตั้งขึ้น ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. 2551 ซึ่งประเทศไทยโดยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรมเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งด้วย ขณะนี้มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 11 ประเทศทั่วทวีปเอเชีย ได้แก่ บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย จีน ลาว เกาหลีใต้ และมองโกเลีย ซึ่งประกอบด้วยองค์กร/สถาบันที่ดำเนินงานด้านนิติวิทยาศาสตร์จำนวน 27 องค์กร/สถาบัน สำหรับสมาชิกจากประเทศไทยปัจจุบันประกอบด้วย สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม (ผู้ร่วมก่อตั้ง), กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรงพยาบาลรามาธิบดี, สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ และคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในทุกๆ ปี ประเทศสมาชิกจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพในการประชุมวิชาการร่วมกัน เพื่อสร้างความร่วมมือด้านวิชาการนิติวิทยาศาสตร์ พัฒนามาตรฐานการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และทักษะทางนิติวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย โดย

ครั้งที่ 1 จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 25552 (2009) ณ ประทศมาเลเซีย

ครั้งที่ 2จัดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2553 (2010) ณ ประเทศบรูไน

ครั้งที่ 3 จัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2554 (2011) ณ ประเทศเกาหลีใต้ และในปี พ.ศ. 2555 (2012) นี้ประเทศไทยโดยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ได้รับเกียรติในการเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการครั้งที่ 4

การประชุมโดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ประกอบด้วยการประชุมทางวิชาการ และการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ๕ ด้าน ได้แก่

  • DNAWorkgroup
  • Illicit Drug Workgroup
  • Toxicology Workgroup
  • Trace Evidence Workgroup
  • Quality Assurance & Standards Committee

ในส่วนของประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ไม่เฉพาะเกิดขึ้นกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เท่านั้น โดยคาดหวังว่าจะช่วยสร้างความร่วมมือด้านวิชาการนิติวิทยาศาสตร์ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และทักษะทางนิติวิทยาศาสตร์ ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศ เพื่อร่วมกันพัฒนามาตรฐานการตรวจพิสูจน์และความรู้ทางนิติวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยต่อไป

โดยโอกาสนี้ในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. ได้รับเกียรติจาก พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน

๒)กิจกรรมที่สองในระหว่างวันที่ ๒๙-๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เป็นกิจกรรมการสัมมนาเชิงบูรณาการเครือข่ายด้านนิติวิทยาศาสตร์แห่งภูมิภาคเอเชีย (TheAsianMultidisciplinary Forensic Network and Symposium 2012) โดยมีหัวข้อการสัมมนาประกอบไปด้วย

๒.๑ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ การประชุมสหวิชาการพิสูจน์เอกลักษณ์ บุคคล ( The Multidisciplinary Forensic Identification Meeting)

๒.๒ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ การประชุมและนำเสนอผลงาน สหวิชาการด้านนิติวิทยาศาสตร์(The Multidisciplinary Forensic Science Meeting and Symposium)

ซึ่งในวันที่ ๒๙ มีวัตถุประสงค์ในการสร้างเครือข่าย และพัฒนาความร่วมมือด้านการพิสูจน์บุคคลสูญหายและศพนิรนาม ทั้งในประเทศและในเขตภาคพื้นเอเชีย โดยมีหัวข้อการบรรยายที่สำคัญอาทิเช่น การใช้องค์ความรู้นิติวิทยาศาสตร์ในการสอบสวนด้านสิทธิมนุษยชนของผู้เคลื่อนย้ายถิ่นซึ่งเสียชีวิตระหว่างการข้ามเขตแดน (The Use of Forensic Sciencesin Human Rights Investigation of Migrants WhoDied Crossing Borders) หรือ การเก็บข้อมูลดิจิทัลของกะโหลกและการพัฒนาการสร้างภาพเสมือนจริงเชิงมานุษยวิทยา(Digital Storage of HumanSkeletons and Development of VirtualAnthropology) เป็นต้น และสำหรับงานวันที่ 30 จะเป็นการนำเสนอความหลากหลายของสหสาขางานด้านนิติวิทยาศาสตร์ เช่น การบริหารจัดการคดีอาชาญกรรมในภาคใต้อย่างเป็นระบบการแก้ปัญหาอาชญากรรมด้วยทฤษฎีกราฟ หรือการพัฒนางานนิติวิทยาศาสตร์ด้าน Digital Forensic และสาขาอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย

โดยโอกาสนี้ในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้รับเกียรติจาก นายกิตติพงษ์กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในการเปิดงาน

ในวันนี้...สถาบันนิติวิทยาศาสตร์จัดงาน ๑ ทศวรรษสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานในรอบ ๑๐ ปีให้สังคมได้ประจักษ์ งานนี้จะทำให้ท่าน รู้จักสถาบันนิติวิทยาศาสตร์และงานนิติวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น

จึงใคร่ขอเชิญชวนหน่วยงาน ประชาชน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจและสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน๑ ทศวรรษสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ โดยในงานมีกิจกรรมมากมาย อาทิเช่น การแสดงนิทรรศการความรู้ วิทยาการใหม่ ๆ ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ การแสดงนิทรรศการเครื่องมือทางนิติวิทยาศาสตร์ และผลงานวิจัยทางนิติวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจอีกมากมาย-กภ-