ดาวอส, สวิตเซอร์แลนด์--23 ม.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
- คนรุ่นใหม่กลุ่ม Gen M (Millennial Generations) ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมในบริษัทที่ตนทำงาน แต่มีเพียง 26% ที่เห็นว่าผู้นำองค์กรในปัจจุบันให้การสนับสนุนหลักปฏิบัติต่างๆที่ช่วยส่งเสริมนวัตกรรม
ผลสำรวจแห่งสหัสวรรษของบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ จำกัด (Deloitte Touche Tohmatsu Limited หรือ DTTL) เปิดเผยว่า 78% ของผู้นำทางธุรกิจในอนาคตหรือคนกลุ่ม Gen M ทั่วโลก เชื่อว่านวัตกรรมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเติบโตทางธุรกิจ อย่างไรก็ดี ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ปีที่ 6 นั้น กลับมีคนกลุ่ม Gen M เพียง 26% ที่คิดว่าผู้นำในปัจจุบันให้การสนับสนุนหลักปฏิบัติต่างๆที่ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมอย่างเต็มที่แล้ว
“นวัตกรรมในระดับสถาบันเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยเปลี่ยนแนวคิดภายในองค์กร ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ความคิดใหม่ๆก่อกำเนิดและเกิดผลอย่างแท้จริง” แบร์รี่ ซาลซ์เบิร์ก (Barry Salzberg) ซีอีโอของดีลอยท์ โกลบอล กล่าว “ขณะที่ผู้นำทางธุรกิจในปัจจุบันถกเถียงกันว่าจะพัฒนานวัตกรรมที่ไหนและอย่างไร เห็นได้ชัดว่าผู้นำรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมมากแค่ไหน ซึ่งไม่ใช่ในฐานะกลไกผลักดันการขยายตัวทางธุรกิจเท่านั้น แต่รวมถึงในฐานะตัวแปรที่ช่วยเร่งให้เกิดการแก้ปัญหาสังคมที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุดด้วย”
DTTL ทำการสำรวจคนกลุ่ม Gen M จำนวนเกือบ 5,000 คนใน 18 ประเทศ เมื่อถูกถามถึงทัศนคติที่มีต่อนวัตกรรมและความสำคัญของนวัตกรรมต่อสังคม บรรดาผู้นำรุ่นใหม่ 84% กล่าวว่า นวัตกรรมทางธุรกิจมีผลดีต่อสังคม และ 65% รู้สึกว่ากิจกรรมภายในบริษัทเป็นประโยชน์ต่อสังคมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ชุมชนธุรกิจเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่ง (45%) เชื่อว่าภาคธุรกิจเป็นผู้ผลักดันนวัตกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมที่สุด เมื่อเทียบกับภาครัฐ (18%) และหน่วยงานวิชาการ (17%)
บุคลากรมากความสามารถช่วยเร่งให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม
นวัตกรรมมีส่วนสำคัญในการจัดจ้างและรักษาบุคลากรมากความสามารถไว้กับองค์กร โดยคนกลุ่ม GEN M ราวสองในสามกล่าวว่า นวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรเป็นนายจ้างที่น่าทำงานด้วย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับหลายบริษัทที่สามารถดึงดูดคนกลุ่ม Gen M ได้มากขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าคนกลุ่มนี้จะมีสัดส่วนสูงถึง 75% ของกำลังคนทั่วโลกภายในปี 2568[1]
อย่างไรก็ดี คนกลุ่ม Gen M มีความเห็นที่แตกต่างกันเมื่อถูกถามถึงสิ่งที่จะทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม
- 39% ของผู้ตอบคำถามเชื่อว่า การให้กำลังใจและให้รางวัลเมื่อมีการคิดค้นและสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม และมีเพียง 20% ที่เผยว่าองค์กรที่พวกเขาทำงานอยู่ได้ดำเนินตามแนวทางนี้
- 34% กล่าวว่า การให้พนักงานมีเวลาว่างในการเรียนรู้และสร้างสรรค์ เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม และ 17% กล่าวว่าบริษัทที่ทำงานอยู่ทำตามแนวทางนี้
- 32% เชื่อว่าความเปิดกว้างและการให้อิสระในการแข่งขันกันเป็นกุญแจสำคัญของนวัตกรรม ขณะที่ 17% เผยว่าองค์กรที่ทำงานอยู่ทำตามแนวทางนี้
- 42% เชื่อว่าการสนับสนุนแนวคิดด้านนวัตกรรมในทุกระดับขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญ และ 26% กล่าวว่าบริษัทที่ทำงานอยู่ใช้แนวทางนี้
“การเปลี่ยนรุ่นของผู้นำทางธุรกิจเกิดขึ้นหลังจากที่คนกลุ่ม baby boomers ซึ่งหลายคนคุ้นชินกับการทำธุรกิจแบบเก่า เริ่มลงจากตำแหน่งผู้นำและเข้าสู่วัยเกษียณ” ซาลซ์เบิร์กกล่าว “องค์กรต่างๆได้รับโอกาสที่แท้จริงในการก้าวขึ้นมากำหนดเงื่อนไขและตั้งปณิธานที่จำเป็นสำหรับการส่งเสริมและสนับสนุนนวัตกรรมในองค์กร และถ้าเราทำให้ถูกต้องก็จะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาล เราสามารถรักษาบุคลากรมากความสามารถไว้กับองค์กรได้มากขึ้น รักษาความสามารถในการแข่งขันได้มากขึ้นในอนาคต และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมได้มากขึ้น”
มุมมองที่มีต่อนวัตกรรมมีความแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์และอุตสาหกรรม
- ผู้ตอบคำถามในกลุ่มประเทศ BRIC มองว่าตนเองและบริษัทที่ทำงานอยู่มีนวัตกรรม ขณะที่ผู้ตอบคำถามจากญี่ปุ่นมองว่าบริษัทที่ตนเองทำงานอยู่ในระดับต่ำในเกือบทุกแง่มุมของนวัตกรรม โดย 70% ของผู้ตอบคำถามจากกลุ่ม BRIC มองว่าบริษัทมีนวัตกรรม ส่วนผู้ตอบคำถามจากญี่ปุ่นมีเพียง 25% ที่คิดเช่นนั้น
- หกในสิบ (62%) ของผู้ตอบคำถามมองว่าตนเองมีนวัตกรรม ตั้งแต่อินเดีย (81%), ไทย (79%), แอฟริกาใต้ (78%) และบราซิล (77%) ไปจนถึงญี่ปุ่น (24%)
- 65% ของผู้ตอบคำถามรู้สึกว่ากิจกรรมภายในบริษัทเป็นประโยชน์ต่อสังคม นำโดยบราซิล (83%), อินเดีย (74%) และเยอรมนี (73%) ส่วนเกาหลีใต้มีเพียง 46%
- ภาคส่วนที่ถูกมองว่าเป็นผู้พัฒนานวัตกรรมมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมเทคโนโลยี สื่อ และโทรคมนาคม (52%), สินค้าผู้บริโภค/บริการ (47%) และภาคการผลิต (37%)
- ภาคส่วนที่ถูกมองว่าต้องการนวัตกรรมมากที่สุดคือ ภาคการศึกษา (27%), การผลิตกระแสไฟฟ้า (18%) และรัฐบาล (17%)
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมและผลสำรวจได้ที่ www.deloitte.com/millennialsurvey
เกี่ยวกับการศึกษาแห่งสหัสวรรษของดีลอยท์
ผลวิจัยข้างต้นอ้างอิงจากการศึกษาของบริษัท มิลวาร์ด บราวน์ (Millward Brown) ซึ่งทำการสัมภาษณ์ออนไลน์ผู้ถูกสัมภาษณ์จำนวน 4,982 คนระหว่างวันที่ 19 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2555 โดยมีการสัมภาษณ์เฉลี่ย 300 คนใน 16 ตลาด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา แอฟริกาใต้ บราซิล เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน รัสเซีย เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สิงคโปร์ ไทย และมาเลเซีย) ทั้งนี้ คำถามคัดกรองในขั้นคัดเลือกบุคคลช่วยทำให้มั่นใจว่าผู้ถูกสัมภาษณ์ทุกคนเป็นคนกลุ่ม Gen M ซึ่งเกิดตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2525 เป็นต้นไป, ได้รับการศึกษาระดับปริญญา และเป็นพนักงานประจำ ซึ่งการสัมภาษณ์แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 15 นาที
เกี่ยวกับดีลอยท์
ดีลอยท์ หมายถึงบริษัทแห่งเดียวหรือหลายแห่งในเครือบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนโดยหลักประกันของอังกฤษ รวมถึงเครือข่ายบริษัทสมาชิกซึ่งแต่ละบริษัทแยกจากกันทางกฎหมายและมีความเป็นอิสระ กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างทางกฎหมายของบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ จำกัด และบริษัทสมาชิกที่ www.deloitte.com/about
ดีลอยท์ให้บริการด้านการตรวจสอบบัญชี ภาษี ให้คำปรึกษา และให้คำแนะนำทางการเงิน สำหรับลูกค้าทั้งในภาครัฐและเอกชนในหลากหลายอุตสาหกรรม ด้วยเครือข่ายบริษัทสมาชิกใน 150 ประเทศทั่วโลก ดีลอยท์จึงมีศักยภาพสูงในการนำเสนอบริการชั้นเลิศให้แก่ลูกค้า ตลอดจนนำเสนอข้อมูลในเชิงลึกที่จำเป็นสำหรับการแก้ปัญหาทางธุรกิจที่ซับซ้อนที่สุด นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญราว 200,000 คนของดีลอยท์ยังมีความมุ่งมั่นในการสร้างมาตรฐานแห่งความเป็นเลิศ
อ้างอิง
[1] http://www.forbes.com/sites/85broads/2012/01/23/gen-y-workforce-and-workplace-are-out-of-sync/
บริการระบบบัญชีเงินเดือนระดับโลกที่ครอบคลุม ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง เพื่อยกระดับผลิตภาพและประสิทธิภาพขององค์กร ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ อินเดีย แอลแอลพี (Deloitte Touche Tohmatsu India LLP) ได้เข้าสู่ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับรามโก ซิสเต็มส์ ลิมิเต็ด (Ramco Systems Limited) ผู้ให้บริการเทคโนโลยีระบบบัญชีเงินเดือนชั้นนำระดับโลก ความร่วมมือครั้งนี้ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มระบบบัญชีเงินเดือนเชิงนวัตกรรมของรามโก ร่วมกับบริการให้คำปรึกษาและการบริหารจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญของดีลอยท์
SME D Bank ร่วมเปิดโครงการปั้น SMEs - Startup ก้าวสู่ตลาดทุนไทย เดินหน้าพันธกิจด้านงานพัฒนาส่งเสริมผู้ประกอบการเติบโตเข้มแข็งยั่งยืน
—
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ...
SPACE-F เปิดตัว Global FoodTech Incubator and Accelerator รุ่นที่ 4, มุ่งผลักดันอาเซียนเป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมอาหารระดับโลก
—
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (...
"สเปซเอฟ" เร่งโต 10 สตาร์ทอัพหน้าใหม่สายฟู้ดเทค พร้อมร่วมดันนวัตกรรม "ฟิวเจอร์ฟู้ด" แก้เกมการแข่งขันอุตฯ อาหาร
—
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ห...
เคทีซีเปิดเวทีเสวนา “KTC FIT Talks 6 “เจาะลึก..อะไรจะเกิดขึ้น? เมื่อมาตรฐาน TFRS9 เข้ามา”
—
นายชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส – คอร์ปอเรท ...
ประเทศไทยและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในมุมมองของภาคธุรกิจ
—
เขียนโดย ดร.สหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล (รองผู้อำนวยการ) และ ดร.วีระชัย วิวัฒน์ชาญกิจ (ที่ปรึกษาอาวุโ...