ประเทศไทยและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในมุมมองของภาคธุรกิจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เขียนโดย ดร.สหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล (รองผู้อำนวยการ) และ ดร.วีระชัย วิวัฒน์ชาญกิจ (ที่ปรึกษาอาวุโส) บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด 

          มีบทความจำนวนมากได้นำเสนอข้อเท็จจริงและมุมมองเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม โอกาสและความท้าทายที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจในประเทศไทยและสมาชิกอาเซียนอื่นอีก 9 ประเทศ หลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2558 โดยข้อสรุปจากบทความเหล่านั้นที่คล้ายคลึงกัน คือ รัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนได้ดำเนินการนโยบายลดมาตรการกีดกันทางการค้าและการลงทุน ตลอดจนส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงถึงการเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดเออีซี 
          ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2559 ดีลอยท์ (ประเทศไทย) ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ การเตรียมความพร้อม โอกาสและความท้าทายจากการเปิดเออีซี โดยมีผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชั้นนำของประเทศไทยและบริษัทข้ามชาติ ในหลายอุตสาหกรรม อาทิ ยานยนต์ การเงินการธนาคาร พลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นผู้ให้ข้อมูล จากการสอบถามเรื่องการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่เออีซี ร้อยละ 80 ของผู้บริหารที่ให้ข้อมูล ยอมรับว่าได้ทำการขยายธุรกิจไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ก่อนที่จะเปิดเออีซี แต่ผู้บริหารเหล่านี้มองว่าเออีซียังไม่ส่งผลกระทบต่อตัวธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ 
          ถึงแม้ว่า ร้อยละ 76 ของผู้บริหารมองว่า เออีซี คือ โอกาสในการขยายธุรกิจ แต่คาดการณ์ว่ารายได้ของบริษัทหลังจากการเปิดเออีซีจะเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 20 โดย ผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นว่า การเปิดเออีซีจะสร้างสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจใหม่ๆ และจะช่วยให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขันในหลายด้าน โดยด้านที่ได้คะแนนสูงสุดได้แก่ การเข้าถึงตลาดผู้บริโภคที่ขนาดใหญ่ขึ้น อันดับที่ 2 คือ การลดต้นทุน ตามด้วย การพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรม และการสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้คะแนนมาเป็นลำดับที่ 3 เท่ากัน จะเห็นว่า ปัจจัยที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหลายด้านที่ผู้บริหารเลือกนั้น อาจไม่ได้เป็นการเพิ่มรายได้ให้ธุรกิจโดยตรง แต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มผลกำไรในการทำธุรกิจ รวมถึงช่วยดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากภายนอกกลุ่มเออีซีให้เข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง 
          นอกจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว ผลวิจัยยังสะท้อนมุมมองผู้บริหารเกี่ยวกับการขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ในภูมิภาคนี้ ในภาพรวมผู้บริหารจะขยายธุรกิจแบบระมัดระวัง ไม่ลงทุนแบบสุ่มเสี่ยง โดยวิธีที่ถูกใช้มากที่สุด คือ การร่วมทุนกับผู้ประกอบการในท้องถิ่น ซึ่งวิธีการดังกล่าวช่วยลดอุปสรรคในเรื่องการบุกเบิกตลาดและการสื่อสารกับคนท้องถิ่น รวมถึงลดความยุ่งยากในการติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาล วิธีการที่นิยมใช้รองลงมา คือ การตั้งบริษัทลูก ในประเทศที่เข้าไปลงทุน ซึ่งการบริหารจัดการบริษัทลูกจะทำได้ง่ายและคล่องตัว ลำดับที่สาม คือ การส่งออกและนำเข้าสินค้ากับคู่ค้าต่างประเทศซึ่งวิธีการดังกล่าวมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า 2 วิธีแรก และผู้ประกอบการยังมีโอกาสทดสอบตลาดก่อนเข้าไปลงทุนจริง 
          สำหรับประเด็นเรื่องการลงทุนระหว่างประเทศ (FDI) ผู้บริหารได้แสดงความเห็นว่า ประเทศที่จะดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเป็นลำดับต้นๆ หลังจากเปิดเออีซี ได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย เหตุผลที่ทั้ง 3 ประเทศดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนมากกว่าประเทศไทย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากที่ประเทศไทยประสบปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงเวลาผ่านมา ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน ทั้งนี้ ผู้บริหารบางส่วนมองว่า ประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านการลงทุนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region) โดยสามารถใช้ประเทศไทยเป็นฐานเพื่อขยายการลงทุน และการร่วมทุนกับผู้ประกอบการในประเทศที่เข้าไปลงทุน ซึ่งมีข้อได้เปรียบคือ ประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคนี้จะมีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน และสินค้าของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้ และยังสอดคล้องกับข้อคำถามที่ดีลอยท์ถามผู้บริหารว่า มีประเทศใดบ้างที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดภายหลังจากการเปิดเออีซี ซึ่งสามอันดับแรกในมุมมองผู้บริหาร ได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย โดยมีเมียนม่าร์ตามมาในอันดับที่ 4 คำตอบจากผู้บริหารช่วยสะท้อนว่า ภาครัฐบาลของไทยมีนโยบายที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคเอกชนที่ออกไปต่อสู่ในสนามแข่งขันระดับเออีซี และร้อยละ 68 ของผู้บริหารเชื่อมั่นว่า ประเทศสมาชิกเออีซีจะร่วมมือกันผลักดันให้เกิดประชาคมเศรษฐกิจที่สมบูรณ์ได้
          ผู้บริหารส่วนใหญ่คาดหวังที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องจนไปสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สมบูรณ์แบบ โดยยอมรับว่าต้องเผชิญความท้าทายทั้งในระดับภูมิภาคและระดับธุรกิจ ในส่วนของความท้าทายระดับภูมิภาคนั้น ปัจจัยที่ผู้บริหารมีความเป็นห่วงมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศในภูมิภาคนี้ สำหรับความท้าทายระดับธุรกิจ ปัจจัยที่ผู้บริหารมองว่ามีความสำคัญ 3 อันดับแรก คือ กฎระเบียบของประเทศที่เข้าไปลงทุน กำลังซื้อของผู้บริโภค และมาตรการจูงใจด้านภาษีและการลงทุน ความท้าทายเหล่านี้เป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึง ความแตกต่างทางทรัพยากรและความพร้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิกเออีซี รวมถึงความแตกต่างในเรื่องความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในภูมิภาคนี้ด้วย
          ในภาพรวม ผู้บริหารมีมุมมองว่าการเปิดเออีซีจะนำไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจใหม่ ซึ่งมีความเป็นพลวัตและให้ประโยชน์กับภาคธุรกิจมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะยังต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งในระดับภูมิภาคและระดับธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มุมมองจากผู้บริหารเหล่านี้ได้ชี้ให้เห็นถึงโอกาสในการขยายการธุรกิจและการแสวงหาตลาดใหม่ๆ สำหรับผู้ผลิตอุตสาหกรรมและผู้ให้บริการ ในท้ายที่สุด การวิจัยนี้ได้ให้ข้อสรุปว่า การเปิดเออีซีทำให้ประเทศสมาชิกต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและลดความเหลือมล้ำทางเศรษฐกิจ รวมถึงขจัดอุปสรรคด้านต่างๆ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2568

ประเทศไทยและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในมุมมองของภาคธุรกิจ
 
ประเทศไทยและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในมุมมองของภาคธุรกิจ
ประเทศไทยและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในมุมมองของภาคธุรกิจ

ข่าวดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ+ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนวันนี้

SME D Bank ร่วมเปิดโครงการปั้น SMEs - Startup ก้าวสู่ตลาดทุนไทย เดินหน้าพันธกิจด้านงานพัฒนาส่งเสริมผู้ประกอบการเติบโตเข้มแข็งยั่งยืน

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดยนายโมกุล โปษยะพิสิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยผู้บริหาร เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ "Acceleration Program Road to LiVE เส้นทางเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดทุน" ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง SME D Bank บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี จำกัด หรือ "ดีลอยท์ ไทยแลนด์" ภายใต้การสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) หรือ SET และ LiVE Platform คัดเลือกผู้ประกอบการ SMEs และ Start up ที่มีศักยภาพ และต้องการเติบ

นายชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริห... เคทีซีเปิดเวทีเสวนา “KTC FIT Talks 6 “เจาะลึก..อะไรจะเกิดขึ้น? เมื่อมาตรฐาน TFRS9 เข้ามา” — นายชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส – คอร์ปอเรท ...

ดีลอยท์แนะผู้นำเข้าเสียภาษีโปร่งใส ชวนสมัครใจร่วมตรวจสอบตนเอง

ดีลอยท์แนะผู้ประกอบการนำเข้าไทยเข้าร่วมโครงการของศุลกากรตรวจสอบตนเองด้วยความสมัครใจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นทางธุรกิจให้ถูกต้องโปร่งใส เร่งปรับธุรกรรมนำเข้าส่งออกภายใน ให้สอดคล้องกับเกณฑ์การเปิดรับ ก่อนวันสุดท้ายของการเปิดรับ 31 ธ.ค.ปีนี้...

ภาพข่าว: เคทีซีจับมือดีลอยท์ ทู้ชฯ จัดสัมมนาพิเศษติดอาวุธสื่อ KTC 501: แนวโน้มและทิศทางมาตรฐานการรายงานทางการเงินของประเทศไทย

นายชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส – คอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ “เคทีซี” หรือบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ นายชวาลา เทียนประเสริฐกิจ หุ้นส่วนด้านการสอบบัญชี...

บทความเรื่อง "โอกาสและความท้าทายของภาคการผลิตไทย" โดย ดีลอยท์ ประเทศไทย

โอกาสและความท้าทายของภาคการผลิตไทย โดย ดร.สหนนท์ ตั้งเบ็ญจสิริกุล บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด (ดีลอยท์ ประเทศไทย) เป็นที่ทราบกันดีว่า ภาคการผลิตมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ และสร้าง ความมั่งคั่ง...

Gossip News: WORLD โชว์งบการเงินโปร่งใส...

มาแล้วๆๆๆ เจอกันแน่ปลายเดือนนี้...ได้เวลาแล้วที่ บมจ.เวิลด์ คอร์ปอเรชั่น (WORLD) จะประกาศผลประกอบการทั้งปีของปี 56/57 หลังจากที่ได้เรียกใช้บริการของ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ ที่ปรึกษา จำกัด ที่ดำเนินการตรวจสอบระบบทางบัญชีกันแบบละ...