สถาบันฯสิ่งทอเปิดตัวโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิม สร้างมูลค่า สนับสนุนให้เกิดฮาลาลแฟชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--11 ม.ค.--สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และอุตสาหกรรมจังหวัด สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา เปิดตัวโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมแนะการพัฒนาสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิม หวังสร้างงาน สร้างมูลค่าเพิ่ม เตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พร้อมเปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยว่า สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งเป็นสถาบันเครือข่ายสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหรรมสิ่งทอไทยทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เพื่อการผลักดันและยกระดับให้สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดการค้าเสรีและก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดอาเซียน ตอบสนองนโยบายของรัฐในการสนับสนุนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา จากการลงพื้นที่ที่ผ่านมา พบว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในเขตพื้นที่ดังกล่าว มีผู้ผลิตที่มีศักยภาพด้านการผลิตและส่งออกเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายมุสลิมไปทั่วภูมิภาค มีตลาดหลักคือ มาเลเซีย ซึ่งเป็นทั้งคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญ สามารถเชื่อมโยงตลาดออกสู่ประเทศในแถบตะวันออกกลางที่มีกำลังซื้อสูงและความต้องการที่หลากหลายรวมทั้งต้องมีคุณภาพมาตรฐานสูง สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เคหะสิ่งทอ และเครื่องแต่งกายมุสลิม ของผู้ประกอบการหรือวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ดังกล่าว โดยการพัฒนาองค์ความรู้ ทั้งด้านการออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ครอบคลุมถึงบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการขยายช่องทางและโอกาสทางการตลาด พร้อมมุ่งเน้นพัฒนารากฐานความรู้และทักษะของนักออกแบบ นักศึกษาและนักเรียน ให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะโดยใช้แนวคิดจากประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมภาคใต้ โดยโครงการดังกล่าวประกอบไปด้วยกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมสู่เชิงพาณิชย์ ดำเนินการฝึกอบรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิม พร้อมสร้างตลาดและหาช่องทางการจำหน่าย เช่น การจัดนิทรรศการแสดงสินค้าต่าง ๆ กิจกรรมที่ 2 การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี ดำเนินการถ่ายทอดความรู้ด้านเส้นใยทั้งเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ใหม่ ๆ เพื่อสร้างทางเลือกแก่ผู้ประกอบการ ถ่ายทอดความรู้ด้วยเทคโนโลยีด้านการตกแต่งสำเร็จ รวมไปถึงการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อให้ได้คุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) พร้อมจัดทำคู่มือมาตรฐานการทดสอบสิ่งทอไทยเผยแพร่ จากความร่วมมือด้วยความมุ่งมั่นของทุกฝ่ายประกอบไปด้วย ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย อุตสาหกรรมจังหวัด สตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอื่นๆ โดยมี สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นผู้ดำเนินงานหลัก จะส่งผลให้ผู้ประกอบการหรือวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิม ไม่น้อยกว่า 350 คน สามารถพัฒนาทักษะ สร้างงาน สร้างอาชีพ ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มจากนวัตกรรมสิ่งทอ ผ่านการออกแบบและถ่ายทอดความรู้จากดีไซน์เนอร์มืออาชีพระดับแนวหน้าของประเทศ รวมทั้งเกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หลากหลายรูปแบบที่ได้คุณภาพและมาตรฐานรวมกว่า 20 คอลเลคชั่น ภายใต้โครงการ รวมทั้งผลักดันให้ไทยก้าวสู่การเป็นแหล่งผลิตสิ่งทอและเครื่องแต่งกายมุสลิมรายใหญ่ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ในอนาคตอันใกล้ หากผู้ประกอบการท่านใดสนใจเข้าร่วมโครงการสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โทรศัพท์ 0 2713 5492 หรือที่ www.thaitextile.org และ facebook : Thailand Textile Institute -กผ-

ข่าวสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ+ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยวันนี้

Kind+ Jugend ASEAN 2025 ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ชูโครงการ SME ปัง! ตังได้คืน ขยายธุรกิจแม่และเด็กสู่ตลาดโลก

Kind+ Jugend ASEAN 2025 มหกรรมแสดงสินค้านานาชาติและเทคโนโลยีสำหรับผลิตภัณฑ์แม่และเด็กคุณภาพแห่งภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 3 ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทย ได้เข้าร่วมแสดงสินค้าในงานใหญ่ระดับนานาชาติ ภายใต้โครงการ SME ปัง! ตังได้คืน ปี 2 ผ่านระบบ BDS (Business Development Services) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่ต้องการขยายธุรกิจและพัฒนาศักยภาพในตลาดอาเซียนและทั่วโลก พร้อมเสริมสร้างความ

อุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทย ต้องเผชิญกับความท้า... เมื่อ Digital Transformation คือจุดเปลี่ยนของธุรกิจอุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทย — อุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทย ต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่จากสถานการณ์การระบาดของโคว...

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) โดย สำนักงานเศรษฐ... อก. เร่งดันผู้ประกอบการแปรรูปกัญชงสู่พาณิชย์รองรับ BCG Model — กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) โดย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ผลักดันผู้ประกอบการแปรรูปกัญช...

นางทิพวรรณ พานิชการ ผู้อำนวยการศูนย์วิเคร... สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดห้องทดสอบสิ่งทอต้อนรับคณะผู้บริหารธุรกิจเคมี — นางทิพวรรณ พานิชการ ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหก...

ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพ... โครงการพัฒนาต้นแบบวัสดุเชิงเทคนิคเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (New S-Curve) — ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นปร...

ก.อุตฯ ปลื้มยกระดับผ้าทออีสาน เผยผลสำเร็จ... ก.อุตฯ ปลื้มยกระดับผ้าทออีสาน เผยผลสำเร็จ “มัดทอใจ”เฟส 2 — ก.อุตฯ ปลื้มยกระดับผ้าทออีสาน เผยผลสำเร็จ “มัดทอใจ”เฟส 2 ดึงอัตลักษณ์มัดหมี่ท้องถิ่น สู่การออกแ...