ร้อยละ 70 ของผู้เป็นความดันโลหิตสูง…มักเป็นโรคหัวใจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--8 ม.ค.--โรงพยาบาลรามคำแหง

โรคหัวใจแอบแฝงที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่ควรละเลย จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจวายถึง 60-75 % เนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูง มักจะไม่รู้ตัวว่าเป็นเพราะไม่แสดงอาการ เลยไม่ได้ให้ความสนใจ แต่เมื่อเราเริ่มมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนแล้วจึงจะเริ่มสนใจและรักษา นั่นอาจจะทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควรซึ่งการควบคุมความดันโลหิตให้ปกติอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดโอกาสเกิดโรค อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ ความดันโลหิตนั้นเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ดังนี้ 1. อายุ ส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ขณะอายุ 18 ปี ความดันโลหิต เท่ากับ 120/70 มม.ปรอท แต่พออายุ 60 ปี ความดันโลหิต อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 140/90 2.เวลา ความดันโลหิตจะขึ้นๆ ลง ๆ ไม่เท่ากันตลอดวัน ตัวอย่างเช่น ในตอนเช้าความดันซีสโตลิกอาจจะวัดได้ 130 มม. ปรอท ขณะนอนหลับอาจวัดได้ถึง 140 มม.ปรอท ขณะนอนหลับอาจวัดได้ต่ำถึง 100 มม. ปรอท เป็นต้น 3. จิตใจและอารมณ์ พบว่ามีผลต่อความดันโลหิตได้มากขณะได้รับความเครียด 4. เพศ พบว่าเพศชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้บ่อยกว่าเพศหญิง 5. พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่มีบิดาและมารดา เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่า ผู้ที่ไม่มี ประวัติในครอบครัว สิ่งแวดล้อม ที่เคร่งเครียดก็ทำให้มีแนวโน้มการเป็นโรคความดันสูงขึ้นด้วยเช่นกัน 6. สภาพภูมิศาสตร์ ผู้ที่อยู่ในสังคมเมืองจะพบภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าในสังคมชนบท 7. เชื้อชาติ พบว่าชาวนิโกรอเมริกันความดันโลหิตสูงมากกว่าชาวอเมริกันผิวขาว 8. ปริมาณเกลือที่รับประทาน ผู้ที่รับประทานเกลือ มากจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่รับประทานเกลือน้อย อาการของผู้ป่วยความดันโลหิต ซึ่งอาจส่งผลต่อการเป็นโรคหัวใจ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลย หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจมีอาการแน่นหน้าอกหรือนอนไม่หลับ กรณีที่ 1 ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยตรง ได้แก่ภาวะหัวใจวานหรือ หลอดเลือดในสมองแตก กรณีที่ 2 ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบหรือตัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ทำให้หัวใจ เต้นผิดจังหวะ อาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หลอดเลือดสมองตีบเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือหลอดเลือดแดงในไตตีบมาก ถึงขั้นไตวายเรื้อรังได้ ภาวะแทรกซ้อน - หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัวและถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโต และหัวใจวายได้ในที่สุด - อาจเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตก ทำให้เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ถ้าเป็นเรื้อรังอาจกลายเป็นโรคความจำเสื่อม สมาธิลดลง - เลือดอาจไปเลี้ยงไตไม่เพียงเนื่องจากหลอดเลือดเสื่อมทำให้ไตวายเรื้อรัง และภาวะไตวายจะยิ่ง ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอีก - หลอดเลือดแดงในตาจะเสื่อมลงอย่างช้าๆ จนตาบอดได้ การป้องกัน…รักษาโรคหัวใจแทรกซ้อนจากการเป็นความดันโลหิตสูง - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น การเดินเร็วๆ วิ่งเหยาะ หรือว่ายน้ำ ปั่นจักรยานควรออกกำลังกายประมาณ 15-20 นาที อย่างน้อย 3-6 ครั้ง/สัปดาห์ - ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด เพื่อลดปริมาณเกลือซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงได้ - ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่ - ลดความเครียดของงานและภาวะแวดล้อม - ลดน้ำหนักตัวโดยเฉพาะในรายที่น้ำหนักเกินมาตรฐาน ความอ้วนถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคความดันโลหิต - รับประทานยาและพบแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อตรวจวัดความดันโลหิตและปรับยาให้เหมาะสม ข้อมูลสุขภาพโดย รพ.รามคำแหง สายด่วนสุขภาพ 02-743-9999 -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวโรคความดันโลหิตสูง+ความดันโลหิตสูงวันนี้

"ซองเต้ซอส" น้ำปลาโซเดียมและโพแทสเซียมต่ำเพื่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคไต และโรคหัวใจ ครั้งแรกของโลก ผลงานนักวิจัย มจธ. ด้วยเทคโนโลยีการแยกสารผ่านเยื่อด้วยไฟฟ้า

จากรายงานของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ปัจจุบัน มีผู้ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-5 สูงถึงกว่า 1,000,000 ราย ซึ่งผู้ป่วยโรคไตนั้น จะต้องลดอาหารที่มีส่วนผสมของโซเดียมและโพแทสเซียม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ที่ผ่านมาสถาบันโภชนาการหลายแห่ง ทั้งในไทยและต่างประเทศ มีความพยายามที่จะใช้นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และโภชนาการในการลดปริมาณโซเดียมและโพแทสเซียมที่ผู้ป่วยได้รับให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม หากแต่ในอาหารเป็นจำนวนมากมีทั้งโซเดียมและโพแทสเซียมอยู่แทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะใน

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับฝ... ขอเชิญร่วมกิจกรรมตรวจสุขภาพฟรี เนื่องในวันพยาบาลแห่งชาติ — คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช ขอเชิญชวนประชาชนผู้สนใจท...

"โรคความดันโลหิตสูง" โรคยอดฮิตในผู้สูงอาย... โรคความดันโลหิตสูงในมุมมองของแพทย์แผนจีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว — "โรคความดันโลหิตสูง" โรคยอดฮิตในผู้สูงอายุ หากมองในทางแพทย์แผนปัจจุบัน สาเหตุข...

รับมือสุขภาพอย่างไรเมื่อ "โลกเดือด" ? หลา... รับมือสุขภาพอย่างไรเมื่อ "โลกเดือด" ? — รับมือสุขภาพอย่างไรเมื่อ "โลกเดือด" ? หลายคนอาจกำลังกังวลและตกใจกับข่าวที่เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เปิด...

โรงพยาบาลไทยนครินทร์ให้การต้อนรับคณะครู น... รพ.ไทยนครินทร์ให้การต้อนรับคณะครู นักเรียน โรงเรียนลาซาล กรุงเทพ — โรงพยาบาลไทยนครินทร์ให้การต้อนรับคณะครู นักเรียน โรงเรียนลาซาล กรุงเทพ ในโอกาสที่เข้าม...

ความเค็มไม่ใช่แค่การเติมเกลือลงไปในอาหาร ... ม.มหิดล หวังคนไทยห่างไกลภัยจากอาหารรสเค็ม ด้วยนวัตกรรม "ชุดทดสอบความชอบรสเค็ม" — ความเค็มไม่ใช่แค่การเติมเกลือลงไปในอาหาร แต่ยังรวมถึงอาหารและขนมที่แฝงไปด...