สถาบันอนาคตไทยศึกษา นำเสนอรายละเอียดย้อนรอยแอร์พอร์ตลิงค์ เพื่อเป็นบทเรียนสำคัญแก่โครงการ 2 ล้านล้าน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--27 มิ.ย.--สถาบันอนาคตไทยศึกษา

สถาบันอนาคตไทยศึกษา (“สถาบันฯ”) ออกรายงานเพื่อนำเสนอรายละเอียดโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ เปรียบเทียบรายละเอียดที่ระบุในแผนงานตอนขออนุมัติโครงการกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเวลาผ่านไปเกือบ 10 ปี เพื่อใช้เป็นบทเรียนแก่โครงการ 2 ล้านล้านที่ประเทศไทยกำลังจะดำเนินการ ระบุ 6 เรื่องที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในการดำเนินโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ ดังนี้ เรื่องที่ 1 : ระยะเวลาก่อสร้างของโครงการ - ในแผนงานกำหนดว่าโครงการจะแล้วสร็จตามสัญญาในวันที่ 5 พ.ย. 2550 (รวม 990 วัน) แต่ในความเป็นจริง ได้มีการขอขยายเวลาก่อสร้างออกไปถึง 2 ครั้ง รวมเป็นเวลาที่เพิ่มขึ้นกว่า 550 วัน ทำให้สามารถให้บริการเชิงพาณิชย์ได้จริงในวันที่ 23 พ.ย. 2553 ส่วนสาเหตุของความล่าช้าเกิดจากปัญหาที่ ร.ฟ.ม ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่เวนคืนให้ผู้รับเหมาได้ตามเวลาที่กำหนด และพบปัญหาเสาตอม่อบางส่วนของโครงการร้าว เรื่องที่ 2 : เวลาในการเดินรถและจำนวนขบวนรถที่สามารถให้บริการ จากเดิมที่เคยระบุว่ารถไฟฟ้า Express line จะสามารถเดินรถได้ทุกๆ 15 นาที และมีจำนวนขบวนรถให้บริการทั้งสิ้น 4 ขบวน แต่ในปัจจุบัน Express line สามารถให้บริการเดินรถได้จริงเพียงชั่วโมงละ 1 เที่ยว และเหลือขบวนรถเพื่อให้บริการเพียง 2 ขบวน เป็นผลจากการขาดแผนงานซ่อมบำรุงที่ดี ในขณะที่รถไฟฟ้า City line ซึ่งเคยแจ้งว่าสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ก็เปลี่ยนมาให้บริการในช่วงเวลา 6:00-24:00 น. เท่านั้น เรื่องที่ 3 : คาดการณ์จำนวนผู้โดยสาร ในเบื้องต้นมีการคาดการณ์ว่าโครงการแอร์พอร์ตลิงค์จะมีจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการในปี 2550 (ปีที่คาดว่าจะเปิดให้บริการ) มากถึง 95,900 คนต่อวัน เกือบจะเทียบเท่ากับจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการสนามบินสุวรรณภูมิเฉลี่ยต่อวัน โดยแบ่งเป็นผู้โดยสารของ City line จำนวน 87,700 คนต่อวัน และ Express line 8,200 คนต่อวัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี จำนวนผู้โดยสารจริงของแอร์พอร์ตลิงค์มีเพียง 40,811 คนต่อวันเท่าน แยกเป็น City line 38,230 คนและ Express line 2,581 คนต่อวัน เรื่องที่ 4 : บริการเช็คอินและขนถ่ายสัมภาระผู้โดยสาร จากที่เคยระบุให้สถานีมักกะสันเป็นสถานีรับส่งผู้โดยสารและสถานีเช็คอินเพื่อขนถ่ายสัมภาระไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีสายการบินไทยและบางกอกแอร์เวย์เป็นผู้ให้บริการ แต่เมื่อเวลาผ่านไป 2 ปี มีจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการเช็คอินที่สถานีมักกะสันเพียง 12 คนต่อวัน และเหลือเพียงการบินไทยรายเดียวที่ยังคงเปิดให้บริการเช็คอิน นอกจากนี้ งานก่อสร้างสกายวอร์คเพื่อเชื่อมทางระหว่างสถานีมักกะสันกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเพชรบุรีที่ได้รับการอนุมัติเงินกู้จากค.ร.ม. ไปตั้งแต่เดือนก.ย 2552 ก็ยังไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิ.ย. 2555 ตามที่ได้คาดการณ์เอาไว้แต่อย่างใด เรื่องที่ 5 : ต้นทุนทางการเงินในการบริหารโครงการ พบว่าร.ฟ.ท. จ่ายค่าธรรมเนียมทางการเงินสำหรับโครงการแอร์พอร์ตลิงค์สูงถึง 7% ในขณะที่โครงการอื่นๆ จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในส่วนนี้เพียง 2.5% เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีการแก้ไขสัญญาของโครงการเพื่อให้ชำระเงินแก่ผู้รับเหมาทันทีเมื่อครบกำหนดสัญญา จากเดิมที่เคยระบุให้ชำระเงินต่อเมื่อโครงการเสร็จสิ้น อีกทั้งยังไม่มีการระบุเงื่อนไขการรับมอบงานที่แล้วเสร็จแต่อย่างใด เรื่องที่ 6 : การกู้เงินเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง ตามที่ ค.ร.ม. มีมติให้จัดสรรเงินกู้เพิ่มเติมแก่บริษัทเดินรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ เนื่องจากมีผลประกอบการขาดทุนและขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างสูง ทำให้ไม่มีเงินไปใช้เพื่อปรับปรุง ซ่อมบำรุง และจัดซื้ออะไหล่สำหรับขบวนรถไฟฟ้า โดยต้องได้รับการอนุมัติจากกระทรวงการคลังก่อน แต่จนถึงปัจจุบัน กระทรวงการคลังยังไม่ได้อนุมัติเงินกู้งวดแรกให้แก่แอร์พอร์ตลิงค์เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาเลย ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานคณะกรรมการบริหาร สถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ถ้าเราเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับโครงการแอร์พอร์ตลิงค์มากมายเช่นนี้ เราควรจะใช้ประโยชน์จากบทเรียนที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นอุทธาหรณ์ให้แก่โครงการ 2 ล้านล้านที่กำลังจะดำเนินการ ดังนี้ 1. ข้อมูลโครงการลงทุนของรัฐควรเปิดเผยและเข้าถึงได้ง่าย เพราะสังคมยังคงต้องการการเปิดเผยข้อมูลของรัฐเพิ่มเติมอีกมากเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาความคุ้มค่าของโครงการ 2 ล้านล้าน 2. เราต้องตั้งคำถามกับตัวเลขต่างๆ ที่รัฐนำเสนอว่ามีความสมเหตุสมผลหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ 3. เพื่อให้มั่นใจในเรื่องของความคุ้มค่า ต้องมีการเปรียบเทียบงบประมาณที่จะใช้กับโครงการในลักษณะเดียวกัน 4. ต้องให้ความสำคัญกับทักษะในการบริหารจัดการโครงการ และพิจารณาเลือกผู้บริหารจัดการที่มีความสามารถ 5. ต้องดูว่าการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการดีเพียงพอหรือไม่ และใครเป็นผู้ประเมินความคุ้มค่าของโครงการ 6. ใครคือผู้รับผิดชอบโครงการ หากโครงการไม่ประสบผลสำเร็จ บทเรียนที่เกิดขึ้นและผ่านไปแล้วอย่างโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินภาษีของประชาชนไปลงทุนในโครงการที่ดูเหมือนจะไม่คุ้มค่าในมูลค่าที่สูงถึง 33,000 ล้านบาท และอาจเป็นไปได้ว่าเราจะยังคงมีภาระอย่างต่อเนื่องในการนำเอาเงินภาษีไปอุดหนุนโครงการนี้ตราบใดที่โครงการยังไม่สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง หากย้อนเวลากลับไปได้ และเราเลือกนำเงิน 33,000 ล้านบาทไปลงทุนในโครงการที่บรรเทาหรือแก้ไขปัญหาเรื่องการขนส่งผู้โดยสารระหว่างสนามบินกับเมือง ประเทศคงไม่เกิดค่าเสียโอกาสมากเท่านี้” ดร. เศรษฐพุฒิ กล่าวสรุป สำหรับท่านที่สนใจ สามารถอ่านหรือดาวน์โหลดรายละเอียดแบบสมบูรณ์ของรายงาน “ย้อนรอยแอร์พอร์ตลิงค์.. บทเรียนสำคัญสำหรับโครงการ 2 ล้านล้าน” ได้จากเว็บไซด์ของสถาบันอนาคตไทยศึกษา (www.thailandfuturefoundation.org) -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสถาบันอนาคตไทยศึกษา+สถาบันอนาคตไทยศึกษวันนี้

ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนมุมมองบทบาท AI ในตลาดทุน

ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วย Associate Professor Sean Cao (Ph.D.) จาก University of Maryland คุณนันท์มนัส เปี่ยมทิพย์มนัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ. ไทยพาณิชย์ คุณชลเดช เขมะรัตนา นายกสมาคม ฟินเทคประเทศไทย ดร. ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ สถาบันอนาคตไทยศึกษา ผศ. ดร. สัมพันธ์ เนตยานันท์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองในงานสัมมนา Capital Market Research Forum ครั้งที่ 3/2566 หัวข้อ Capital Market

สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ... “สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ฉายภาพประเทศไทย 4 หลังเผชิญวิกฤตการณ์โควิด" — สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ฉายภาพประเทศไทย 4 ระยะหลั...

สถาบันอนาคตไทยศึกษาเปิดผลการศึกษาชิ้นล่าสุดเกี่ยวกับ ข้อตกลง TPP กับประเทศไทย

เหลืออีกไม่ถึง 1 สัปดาห์จะถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สิ่งที่น่าจับตาคือนโยบายของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งหนึ่งในนั้นมีข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP (Trans-Pacific Partnership)...

โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย

สถาบันอนาคตไทยศึกษาเปิดผลการศึกษาชิ้นล่าสุดเรื่อง "โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย" ชี้ปัญหาการศึกษาส่งผลต่อโอกาสของเด็กไทย และยังส่งผลต่ออัตราเติบโตของเศรษฐกิจไทย ถึงปัจจุบัน ประเทศมีต้นทุนเสียโอกาสสะสมแล้ว 11%ของ GDP หรือคิดเป็น 1.5 ล้านล้าน...

สถาบันอนาคตไทยศึกษา จัดงานแถลงผลการศึกษาเรื่อง “10 ข้อเท็จจริงชีวิตคนกรุงเทพ”

ที่ผ่านมา คนมักจะให้ความสำคัญและจับตามองนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตประจำวันของคนนั้นมาจากรัฐบาลท้องถิ่นมากกว่า จึงเป็นที่มาของรายงานชิ้นใหม่ของสถาบันอนาคตไทยศึกษาเรื่อง "10 ข้อ...

สถาบันอนาคตไทยศึกษาแนะ เพิ่มลดหย่อนภาษีเพื่อการลงทุนชั่วคราว กระตุ้นเศรษฐกิจ ฟื้นความเชื่อมั่น เพิ่มผลิตภาพระยะยาว

ตัวเลขเศรษฐกิจที่เพิ่งออกมาเร็วๆ นี้ รวมทั้งการส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ที่ติดลบกว่า 6% นั้นสะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะชะลอตัวเพราะตัวขับเคลื่อนปกติของเศรษฐกิจไทย ไม่ว่าจะเป็นการบริ...

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า จัดงาน ThaiPublica Forum 2015 ครั้งที่ 1 และเสวนาพิเศษ “ประเทศไทย...คนป่วยคนใหม่ของเอเชีย?”

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมงาน “ThaiPublica Forum 2015 ครั้งที่ 1 และเสวนาพิเศษ “ประเทศไทย...คนป่วยคนใหม่ของเอเชีย?” ในวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2558 เวลา 9.30...

เศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเงินฝืดหรือไม่?

อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. 58 อยู่ที่ -0.52% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้น 0.12% เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว โดยราคาน้ำมันยังเป็นปัจจัยหลักที่ดึงให้ดัชนีราคาลดลง ดัชนีราคาพลังงานลดลง 12.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน อัตราเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่องกัน...