สถาบันอนาคตไทยศึกษาเปิดผลการศึกษาชิ้นล่าสุดเกี่ยวกับ ข้อตกลง TPP กับประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เหลืออีกไม่ถึง 1 สัปดาห์จะถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สิ่งที่น่าจับตาคือนโยบายของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งหนึ่งในนั้นมีข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP (Trans-Pacific Partnership) อยู่ด้วย โดยผลการเลือกตั้งน่าจะเป็นตัวชี้ว่า TPP มีโอกาสเดินหน้าต่อไปได้มากแค่ไหน เพราะทรัมป์ไม่สนับสนุนแน่นอน ส่วนคลินตันแม้จะไม่เห็นด้วยกับ TPP ในปัจจุบัน แต่น่าจะมีแนวโน้มกลับไปทบทวนข้อตกลง ซึ่งช่วงนี้อาจเป็นเวลาที่ดีที่ไทยจะคิดว่า หากต้องตัดสินใจเข้าร่วม TPP เราควรรู้และเตรียมพร้อมอะไร รวมถึงควรมีกลยุทธ์ในการเจรจาต่อรองอย่างไร เพื่อรักษาประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับ โดยมีประเด็นอย่างน้อย 4 ประเด็น
          ไทยจะได้ประโยชน์ทางการค้าเพิ่มขึ้นจากเพียง 3 ประเทศที่เรายังไม่มีข้อตกลงการค้าเสรีด้วย คือ สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก ซึ่งมีมูลค่าการค้ารวมกันเพียง 10% ของมูลค่าการค้ารวมของไทย และในจำนวนนี้เป็นการค้ากับสหรัฐฯ สูงถึง 8% ซึ่งประโยชน์จาก TPP ผ่านการลดภาษีจึงไม่น่าจะมีมาก เพราะโดยปกติสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าต่ำอยู่แล้ว โดยเฉลี่ยอยู่ที่เพียง 1.4% 
          ประโยชน์จากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นชัดเจนน่าจะได้จากเพียง 4 อุตสาหกรรม ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เครื่องจักร และยาง ซึ่งคิดเป็นเพียง 1 ใน 4 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด เพราะอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นอุตสาหกรรมที่ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ มาก จึงมีโอกาสที่นักลงทุนจะมาตั้งฐานการผลิตเพิ่มขึ้น 
          ข้อตกลง TPP ทั้งหมด 30 บท มีกว่า 20 บทที่ไม่ใช่ข้อตกลงทางการค้า ประเด็นสำคัญของ TPP จึงอยู่ที่ประเด็นอื่นที่ไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจโดยตรง ซึ่งไทยคงต้องคิดว่าเบ็ดเสร็จแล้ว เราได้ประโยชน์แค่ไหน เพราะจะมีทั้งการปรับกฎระเบียบของมาตรฐานให้มีเกณฑ์สูงขึ้น เช่น ด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม รัฐวิสาหกิจ และการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และประเด็นเชิงเศรษฐกิจการเมืองที่สหรัฐฯ สามารถกำหนดข้อตกลงที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจสหรัฐฯ ได้ 
          ยิ่งไปกว่านั้น อำนาจต่อรองของไทยมีไม่มาก เพราะสหรัฐฯ สามารถกำหนดข้อตกลงที่ประเทศเล็กต้องยอมทำตาม สังเกตสัญญาคู่ฉบับด้านแรงงานของมาเลเซีย พบคำว่า "Malaysia shall..." หรือ "มาเลเซียจะต้อง..." ถึง 34 ครั้ง แต่ไม่มีคำว่า "US shall" หรือ "สหรัฐฯ จะต้อง..." เลย มิหนำซ้ำ ไทยต้องขอความเห็นชอบในการเข้าเป็นสมาชิกจากทุกประเทศที่อยู่มาก่อน ซึ่งทั้งมาเลเซียและเวียดนามคงไม่ยอมให้ไทยได้ประโยชน์มากกว่าแน่ 
          แต่อย่างไรก็ดี การผลักดัน TPP อาจกำลังเจออุปสรรคเพิ่มเติมจากกระแส anti-globalization และ anti-trade agreement ที่กำลังมาแรง เห็นตัวอย่างจากการที่คนอังกฤษโหวตให้ประเทศออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) หรือล่าสุดที่ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปกับแคนาดาก็บรรลุข้อตกลงได้อย่างยากลำบาก จึงทำให้มีข้อสงสัยว่าการผลักดันข้อตกลงการค้าอื่นๆ รวมถึง TPP อาจทำได้ยากขึ้น
          ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานคณะกรรมการบริหาร สถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวเสริมว่า "โลกเปลี่ยนไป ไม่ใช่แค่มีกระแส anti-globalization และ anti-trade agreement แต่การค้าโลกโตน้อยลงด้วย เห็นได้จาก 20 ปีก่อนที่เศรษฐกิจโลกโตทุกๆ 1% จะส่งผลให้มูลค่าการค้าโลกเพิ่มขึ้น 2.5% แต่ตอนนี้มูลค่าการค้าจะเพิ่มเพียง 0.7% ปรากฏการณ์ทั้ง 2 สื่อว่าไทยทำเหมือนเดิมไม่ได้ เราต้องมีกลยุทธ์ในการเจรจาการค้าแบบใหม่ โดยที่ต้องรู้ว่าเราจะยอมเสียอะไรไปเพื่อให้ได้อะไรมา ควรทำสัญญากับใคร และจะทำอย่างไรเพื่อรักษาอำนาจต่อรอง เช่น ต้องรู้ว่าอุตสาหกรรมไหนที่เราอยากได้จริงๆ แล้วเราจะได้เท่าไหร่ หรือต้องรู้ว่าควรทำสัญญากับใครที่จะได้ประโยชน์สูง เพราะจะบอกได้ว่าไทยควรเข้าเจรจากับใครดี หรือเร่งให้ข้อตกลง RCEP ที่มีจีนเป็นแกนหลัก และ WTO บรรลุผล เพื่อรักษาอำนาจต่อรอง"
 
 

ข่าวสถาบันอนาคตไทยศึกษา+สถาบันอนาคตไทยศึกษวันนี้

ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนมุมมองบทบาท AI ในตลาดทุน

ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วย Associate Professor Sean Cao (Ph.D.) จาก University of Maryland คุณนันท์มนัส เปี่ยมทิพย์มนัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ. ไทยพาณิชย์ คุณชลเดช เขมะรัตนา นายกสมาคม ฟินเทคประเทศไทย ดร. ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ สถาบันอนาคตไทยศึกษา ผศ. ดร. สัมพันธ์ เนตยานันท์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองในงานสัมมนา Capital Market Research Forum ครั้งที่ 3/2566 หัวข้อ Capital Market

สอวช. เปิดเวทีแบ่งปันแนวทางสนับสนุนวิสาหก... สอวช. เปิดเวทีแบ่งปันแนวทางสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม มุ่งเน้นผสานการทำงานร่วมกันเพื่อตอบโจทย์สำคัญของประเทศ ผ่านแรงขับเคลื่อน 3 พลัง — สอวช. เปิดเวทีแบ่ง...

กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) ร่วม... CMDF ร่วมกับ FETCO จัดสัมมนาชี้โอกาสการพัฒนาตลาดทุนไทย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศสู่ความอย่างยั่งยืน — กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) ร่วมกับ สภาธุรกิ...

สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ... “สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ฉายภาพประเทศไทย 4 หลังเผชิญวิกฤตการณ์โควิด" — สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ฉายภาพประเทศไทย 4 ระยะหลั...

โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย

สถาบันอนาคตไทยศึกษาเปิดผลการศึกษาชิ้นล่าสุดเรื่อง "โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย" ชี้ปัญหาการศึกษาส่งผลต่อโอกาสของเด็กไทย และยังส่งผลต่ออัตราเติบโตของเศรษฐกิจไทย ถึงปัจจุบัน ประเทศมีต้นทุนเสียโอกาสสะสมแล้ว 11%ของ GDP หรือคิดเป็น 1.5 ล้านล้าน...

สถาบันอนาคตไทยศึกษา จัดงานแถลงผลการศึกษาเรื่อง “10 ข้อเท็จจริงชีวิตคนกรุงเทพ”

ที่ผ่านมา คนมักจะให้ความสำคัญและจับตามองนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตประจำวันของคนนั้นมาจากรัฐบาลท้องถิ่นมากกว่า จึงเป็นที่มาของรายงานชิ้นใหม่ของสถาบันอนาคตไทยศึกษาเรื่อง "10 ข้อ...

สถาบันอนาคตไทยศึกษาแนะ เพิ่มลดหย่อนภาษีเพื่อการลงทุนชั่วคราว กระตุ้นเศรษฐกิจ ฟื้นความเชื่อมั่น เพิ่มผลิตภาพระยะยาว

ตัวเลขเศรษฐกิจที่เพิ่งออกมาเร็วๆ นี้ รวมทั้งการส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ที่ติดลบกว่า 6% นั้นสะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะชะลอตัวเพราะตัวขับเคลื่อนปกติของเศรษฐกิจไทย ไม่ว่าจะเป็นการบริ...

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า จัดงาน ThaiPublica Forum 2015 ครั้งที่ 1 และเสวนาพิเศษ “ประเทศไทย...คนป่วยคนใหม่ของเอเชีย?”

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมงาน “ThaiPublica Forum 2015 ครั้งที่ 1 และเสวนาพิเศษ “ประเทศไทย...คนป่วยคนใหม่ของเอเชีย?” ในวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2558 เวลา 9.30...

เศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเงินฝืดหรือไม่?

อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. 58 อยู่ที่ -0.52% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้น 0.12% เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว โดยราคาน้ำมันยังเป็นปัจจัยหลักที่ดึงให้ดัชนีราคาลดลง ดัชนีราคาพลังงานลดลง 12.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน อัตราเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่องกัน...