กรุงเทพฯ--31 พ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
หัวเหว่ย (Huawei) ผู้ให้บริการโซลูชั่นชั้นนำระดับโลกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้แบ่งปันเรื่องราวของความสำเร็จ พร้อมประสบการณ์ในโครงการระบบรถไฟทั่วโลก โดยมีคณะผู้บริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการ กว่า 20 ประเทศ เข้าร่วมการรับฟังในการประชุมใหญ่ประจำปี ด้านระบบส่งสัญญาณและโทรคมนาคมแห่งเอเชีย ครั้งที่ 2 (2nd Annual Signalling and Telecommunication Asia Congress) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21-23 พฤษภาคม 2556 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
(รูปภาพ: http://www.prnasia.com/sa/2013/05/29/20130529195959300341.html )
นายนอร์แมน ฟริสช์ ผู้ดูแลหน่วยพัฒนาธุรกิจต่างประเทศ ด้านโซลูชั่นระบบรถไฟของหัวเหว่ย ได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “การบริหารจัดการกับความซับซ้อนของระบบ CCTV, PIS และระบบสื่อสารด้านการดำเนินงานของรางรถไฟ” (Manage Complexity of CCTV, PIS and Rail Operational Communication) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการประชุม เพื่อบอกเล่าถึงประสบการณ์ที่หัวเหว่ยมีส่วนร่วมทำให้ผู้ใช้รถไฟทั่วโลกได้เห็นถึงประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีกว่า ความปลอดภัยที่สูงกว่า และยังยกระดับประสบการณ์ให้แก่ผู้ใช้บริการด้วยไอซีทีโซลูชั่นที่มีความทันสมัย น่าเชื่อถือ และรองรับกับอนาคต
นายฟริสช์กล่าวว่า “อุตสาหกรรมรางรถไฟสมัยใหม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเร็วที่ดีขึ้น ประสิทธิภาพมากขึ้น และให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วกว่า เมื่อปริมาณผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น ความสามารถของโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางรถไฟที่มีอยู่อย่างจำกัด และต้นทุนในการขยายโครงการที่อยู่ในระดับสูง บ่งชี้ถึงความซับซ้อนของความท้าทายด้านเศรษฐกิจและการปฏิบัติการ” และเสริมว่า “ด้วยโซลูชั่น อย่าง GSM-R, CCTV, UC&C รวมไปถึงระบบรับ-ส่งสัญญาณ และ IP ทำให้หัวเหว่ยสามารถสนับสนุนระบบรางรถไฟ ด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารที่ไม่ได้รองรับความต้องการในปัจจุบันอย่างทันท่วงทีแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังเปิดโอกาสสู่การเติบโตในอนาคตอีกด้วย”
ด้วยความมุ่งมั่นในการเป็นหุ้นส่วนไอซีทีที่มีความเหมาะสม เพื่อที่จะได้ทำงานเคียงข้างไปกับกลุ่มพันธมิตรในภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก หัวเหว่ยได้พัฒนาโซลูชั่นเชิงนวัตกรรม GSM-R ที่ช่วยสนับสนุนระบบสื่อสารบนรางรถไฟ เช่น ETCS, CTCS และ LOCOTROL และยังได้ปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติการ ความสามารถ และความปลอดภัยของเครือข่ายรางรถไฟ เมื่อปี 2555 หัวเหว่ยสามารถครองส่วนแบ่งตลาด GSM-R สูงสุดถึง 61% นอกเหนือไปจาก GSM-R แล้ว หัวเหว่ยยังมีศักยภาพในการพัฒนาโซลูชั่นไอซีทีอย่างครบวงจร ซึ่งประกอบด้วยระบบรับ-ส่งสัญญาณ, IP, CCTV และ UC&C ที่ครอบคลุมการใช้งานอันหลากหลายของรางรถไฟ เช่น ระบบปฏิบัติการ และความปลอดภัยของประชาชน บริการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร และรวมถึงระบบสื่อสารภายในระหว่างพนักงานด้วยกันเอง
อุตสาหกรรมรางรถไฟได้ใช้ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นเชิงนวัตกรรมด้านไอซีทีของหัวเหว่ยในวงกว้างมาตั้งแต่ปี 2539 หัวเหว่ยได้ให้บริการแก่ผู้ให้บริการรถไฟสาธารณะ และผู้โดยสารรถไฟทั่วโลกจำนวนมากขึ้นด้วยโซลูชั่นไอซีที พร้อมด้วยประสบการณ์การทำงาน และศักยภาพในการวิจัย R&D ที่มีมานานกว่า 15 ปี รวมทั้งความเชี่ยวชาญทางเทคนิค ตลอดจนความร่วมมือกับบรรดาพันธมิตรในภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก เมื่อช่วงปลายปี 2555 หัวเหว่ยได้วางระบบไอซีทีโซลูชั่นบนเส้นทางรถไฟเป็นระยะทางกว่า 65,000 กิโลเมตรทั่วโลก (คิดเป็นระยะทางรอบโลกประมาณ 1.38 รอบโดยประมาณ)
เกี่ยวกับการประชุม Signalling and Telecommunication: Asia
ในฐานะที่เป็นการประชุมที่มีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในวงการรถไฟเอเชีย การประชุม Signalling and Telecommunication: Asia ถูกใช้เป็นเวทีสำหรับการรวมตัวกันของเหล่าผู้เชี่ยวชาญในวงการ ผู้เข้าร่วมประชุมจากรัฐบาลประเทศต่างๆ การรถไฟ ผู้ให้บริการรถไฟใต้ดิน และบรรดาสมาคม ที่มีความสำคัญในภูมิภาค กว่า 50 ราย จะมารวมตัวกันเพื่อรับฟังความก้าวหน้าในวงการโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง ระบบส่งสัญญาณ โทรคมนาคม และระบบตัวรถไฟฟ้า โดยทางหัวเหว่ยเป็นทั้งพันธมิตร และผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของการประชุมครั้งนี้
เกี่ยวกับ บริษัท หัวเหว่ย
หัวเหว่ย เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ด้วยความทุ่มเทด้านนวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก รวมถึงการเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้บริษัทมีความได้เปรียบด้านเครือข่ายโทรคมนาคม อุปกรณ์ต่างๆ และคลาวด์คอมพิวติ้ง หัวเหว่ยยังมุ่งมั่นที่จะสร้างมูลค่าสูงสุดให้กับบรรดาผู้ให้บริการโทรคมนาคม องค์กรต่างๆ และผู้บริโภค ด้วยการนำเสนอบริการและโซลูชั่นที่สามารถแข่งขันได้ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของหัวเหว่ยเป็นองค์ประกอบสำคัญของเครือข่ายโทรคมนาคมในกว่า 140 ประเทศ ซึ่งมีผู้ใช้บริการมากกว่า 1 ใน 3 ของประชากรโลก
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.huawei.com
สามารถติดตามหัวเหว่ยทางทวิตเตอร์ได้ที่ www.twitter.com/huaweipress และยูทูบได้ที่ http://www.youtube.com/user/HuaweiPress
สำนักเลขาธิการคณะกรรมการจัดงานดิจิทัล ไชนา ซัมมิต เมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต หรือ Digital China Summit (DCS) ครั้งที่ 8 ได้เปิดฉากอย่างเป็นทางการที่นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน งานนี้จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานสำคัญหลายแห่ง ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ สำนักงานข้อมูลแห่งชาติ สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซแห่งประเทศจีน กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ และรัฐบาลประชาชนมณฑลฝูเจี้ยน รวมทั้งได้รับความร่วมมือในการจัดงานจากคณะกรรมการพัฒนา
IT Solution คืออะไร? ครบเครื่องเรื่องโซลูชันไอทีสำหรับธุรกิจยุคใหม่
—
ในยุคที่เทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญของทุกองค์กร การมี IT Solution ที่ดีไม่ใช่แค่ช่วยให้อ...
ผถห. SPREME เฮ! อนุมัติจ่ายปันผล 0.11 บ./หุ้น ปี 68 ลุยประมูล Mega Project-ปิดดีล M&A เร่งเติม Backlog ดันรายได้เติบโต 10-15%
—
ผู้ถือหุ้น บมจ.สุพรีม ...
โครงการสัมมนาวิชาการ AI & Cyber Intelligence: The Future of Human-Machine Collaboration & Security
—
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัย...
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ SPU จับมือ BDI เปิดหลักสูตร 'Intermediate Data Science' รุ่น 1 อัปสกิลสู่มืออาชีพด้านวิเคราะห์ข้อมูล
—
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาล...
PREME ลุยประมูล Mega Project-ปิดดีล M&A ดัน Backlog ทะลุ 1 พันลบ. หนุนรายได้ปี 68 เติบโต 10-15%
—
บมจ.สุพรีม ดิสทิบิวชั่น (SPREME) รุกหนักงานประมูล Me...
คินดริล จับมือ กรุงศรี ร่วมทรานส์ฟอร์มการทำงานสู่ "Modern Workplace"
—
เสริมศักยภาพการทำงานด้วย Microsoft 365 E3 เพื่อส่งมอบประสบการณ์"ชีวิตง่าย ได้ทุกวัน...
ม.กรุงเทพมอบทุน Super Tech Talent และ Tech Talent ให้เด็กสายสร้างสรรค์ร่วมขับเคลื่อนวงการ IT
—
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มอบทุน Super Tech Talent และทุน Tech Tal...
MSC คว้า 4 รางวัลใหญ่จาก IBM ในงาน IBM Executive Partner Connect 2025
—
บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ MSC ผู้นำในธุรกิจเทคโนโลยีสาร...