กสทช.ด้านเศรษฐศาสตร์เผยอนุฯแข่งขันท้วง 5 ประเด็นร่างประกาศ ประมูลดิจิตอล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--17 พ.ค.--กสทช.

ธวัชชัยฯ/ประธานอนุกรรมการส่งเสริมการแข่งขันฯ กังวลผลประโยชน์ทับซ้อนของอนุฯดิจิตอลผ่านเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิตอล พร้อมเสนอแก้ไขร่างประกาศ 5 ข้อ หนังสือค้ำประกัน – แยกMUXกับเจ้าของช่องป้องกันการผูกขาด – เรียงลำดับการประมูลมากไปหาน้อย – เพิ่มเวลา 5 นาทีก่อนสิ้นสุดประมูล และเลื่อนเวลาชำระเงินค่าประมูลอีก 3 ปี ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กสทช.ด้านเศรษฐศาสตร์ และในฐานประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมการแข่งขัน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) เปิดเผยว่า (ร่าง)ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ....(หลักเกณฑ์การประมูลโทรทัศดิจิตอล) ซึ่ง กสท.มีมติรับหลักการเมื่อวันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2556 เป็นร่างหลักเกณฑ์ที่นำเสนอโดยผ่านความเห็นจากคณะอนุกรรมการจัดทำแผนปรับเปลี่ยนระบบการรับส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล (อนุ DSO) โดยที่คณะอนุกรรมการชุดนี้มีผู้ประกอบการโทรทัศน์ช่องหลักหลายช่องร่วมอยู่ในคณะ และผู้ประกอบการดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะเป็นผู้ร่วมในการประมูลโทรทัศน์ดิจิตอลในครั้งนี้ด้วย จึงทำให้หลักเกณฑ์ที่ออกมานั้นมีประเด็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) ไม่ชอบธรรมทั้งในขั้นตอนการดำเนินการ และอาจมีข้อกำหนดที่ขัดต่อหลักการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการส่งเสริมการแข่งขันฯจึงร่วมกันพิจารณาให้ข้อเสนอและตั้งข้อสังเกตในการปรับปรุงแก้ไขร่างประกาศดังกล่าวโดยมีประเด็นหลักๆ ที่เห็นควรแก้ไขดังนี้ 1. เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานในการวางหลักประกันการประมูล และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายใหม่และรายย่อยที่เชื่อถือได้มีโอกาสเข้าร่วมการประมูลโดยไม่ติดขัดในการต้องเร่งหาเงินสดหรือออกเช็คมาวางเป็นหลักประกัน คณะอนุกรรมการส่งเสริมการแข่งขันฯ เสนอให้เพิ่มเติมการใช้หนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินประเภทธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 (Bank Guarantee) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการวางหลักประกัน 2. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดหรือเลือกปฏิบัติในภายหลัง หลายประเทศเลือกใช้วิธีการกำหนดให้ผู้ให้บริการโครงข่าย (MUX operator) แยกออกจากผู้ให้บริการช่อง (Channel provider) (ห้าม MUX เป็นเจ้าของช่อง) เว้นแต่ในกรณีกิจการสาธารณะ (Public Service Broadcasting) ในกรณีประเทศไทยเนื่องจากผู้ให้บริการโทรทัศน์รายเดิมเป็นเจ้าของโครงข่ายและเป็นผู้ให้บริการช่องรายการ และมีแนวโน้มที่จะขอให้บริการในทั้งสองลักษณะต่อไปใน โทรทัศน์ระบบดิจิตอล จึงมีข้อกำหนดในลักษณะดังกล่าวได้ยาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการที่ผู้ให้บริการโครงข่ายและผู้ให้บริการโทรทัศน์ (ช่องรายการ) เป็นรายเดียวกันสามารถส่งผลให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) เมื่อเปรียบเทียบกับรายอื่น ซึ่งเป็นประเด็นที่อาจนำไปสู่การผูกขาด หรือลด หรือจำกัดการแข่งขันได้ในภายหลัง คณะอนุกรรมการฯ จึงขอพิจารณาในประเด็นดังกล่าวอย่างรอบคอบ โดยขอเป็นผู้ยกร่างหลักเกณฑ์การเลือกใช้โครงข่ายโทรทัศน์ของผู้ให้บริการช่องรายการ เพื่อเป็นเงื่อนไขเพิ่มเติม โดยจะเร่งเสนอต่อ กสทช. โดยเร็วก่อนมีการประมูล 3. การประมูลของที่มีลักษณะทดแทนกันได้ โดยกำหนดให้มีการเรียงลำดับการประมูลแยกตามหมวดหมู่ประเภทช่องรายการนั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการจัดลำดับการประมูล โดยคณะอนุกรรมการฯเห็นว่า ลำดับที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการประมูลนั้น ควรเรียงโดยอาศัยข้อมูลความต้องการของผู้เข้าร่วมประมูล หรือเรียงลำดับตามมูลค่า หรือราคาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการประมูล ในที่นี้เมื่อไม่มีข้อมูลการประมาณการที่ชัดเจน จึงเสนอให้นำราคาขั้นต่ำในแต่ละหมวดหมู่มาเป็นเกณฑ์ในการจัดลำดับ เนื่องจากราคาขั้นต่ำในแต่ละหมวดหมู่กำหนดขึ้นจากการประเมินมูลค่าและความต้องการของผู้เข้าร่วมประมูล และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดสรรเห็นควรให้เรียงลำดับการประมูลจากราคาที่สูงสุดไปหาต่ำสุดคือเริ่มจาก Variety HD, Variety SD, ข่าวสารสาระ แล้วจบลงที่หมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว 4. โดยทั่วไปการประมูลที่เน้นประสิทธิภาพในการแข่งขันจะไม่กำหนดระยะเวลาตายตัวว่าควรจบลงภายในระยะเวลาเท่าใด แต่จะกำหนดให้หยุดลงเมื่อไม่มีการเสนอราคาเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้นเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้นคณะอนุกรรมการฯเสนอให้ เพิ่มเติมเงื่อนไขการสิ้นสุดการประมูลเมื่อไม่มีการเสนอราคาเพิ่มภายในห้านาทีนับแต่การเสนอเพิ่มราคาครั้งก่อนหน้า โดยการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้ได้ราคาประมูลที่มีประสิทธิภาพโดยเปิดให้มีการตัดสินใจอย่างเพียงพอในการประมูลรอบสุดท้าย และป้องกันการใช้ยุทธวิธีจู่โจมการประมูลโดยแย่งชิงความได้เปรียบในช่วงเวลาสุดท้ายของการประมูล 5. เพื่อให้ผู้ให้บริการสามารถมีการประมาณการรายรับรายจ่ายและบริหารเงินสดได้ง่ายขึ้น และมีเงินทุนเพียงพอในการให้บริการตามเงื่อนไขที่ กสทช.กำหนด คณะอนุกรรมการฯเสนอให้พิจารณาปรับเปลี่ยนระยะเวลาการชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในส่วนที่เกินกว่าราคาขั้นต่ำ โดยให้ดำเนินการได้ภายหลังจากผ่านพ้นระยะเวลา 3 ปี นับแต่ที่ได้รับใบอนุญาต นายธวัชชัย กล่าวว่าคณะอนุกรรมการฯจะเสนอความเห็นต่อ การประชุม กสท. ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2556 หาก กสท.มีมติรับข้อเสนอในส่วนที่ขอปรับปรุงแก้ไข จะต้องนำร่างประกาศนี้เข้าสู่ที่ประชุม กสทช. (บอร์ดใหญ่) เพื่อขอความเห็นและขอความเห็นชอบให้จัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามขั้นตอนต่อไป และเชื่อว่าหลักเกณฑ์นี้ยังมีโอกาสแก้ไขในรายละเอียดได้อีกหากผู้มีส่วนได้เสียมีความเห็นที่มีน้ำหนักเพียงพอว่าจะส่งผลกระทบต่อความไม่เป็นธรรมในแง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง โดยเฉพาะด้านการแข่งขัน ดังนั้นจึงขอให้ร่วมกันพิจารณารายละเอียดของร่างหลักเกณฑ์นี้อย่างรอบคอบเมื่อบอร์ดมีมติให้เผยแพร่ได้ และขอให้เตรียมการเสนอความเห็นในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะด้วย.. -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์+เศรษฐศาสตร์วันนี้

วพน.7 พบปะสังสรรค์

คุณฐนนท์ศรณ์ เลิศฤทธิ์ศิริกุล ประธานนักศึกษาหลักสูตรด้านวิทยาการพลังงาน (วพน.7) นัดเพื่อนๆ ร่วมรุ่นมาพบปะสังสรรค์ อาทิ ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ ดร.ธีรอัศฐ์ สีหสินอิทธ ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ และ คุณพงศธร ทวีสิน พร้อมส่งมอบตำแหน่งประธานรุ่นคนใหม่ให้กับ คุณพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา โดยมี คุณชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติมาร่วมแสดงความยินดีในงานด้วย ที่ห้องมรกต โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์

อสมท. ทำหนังสือ ถึง กสทช. แจ้งระงับการให้บริการโครงข่ายดิจิตอลทีวีและเยียวยา สปริงนิวส์

ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ครั้งที่38/2559 วันจันทร์ที่ 7...

กสทช. ธวัชชัยห่วง หลังคลื่นความถี่สิ้นสุดการใช้งานและถือครอง เมษา 60 ยังไม่มีแผนฯรองรับ

ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ 37/2559 วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคมนี้...

กสทช.ธวัชชัย ชี้ผู้ประกอบการทีวีรายเดิมไม่ได้มีรายได้ลดลง แต่คำนวณเฉพาะผลประกอบการทีวีดิจิตอลเท่านั้น

ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ครั้งที่ 20/2559 วันที่ 20...

กสทช. พบ Blogger “คุยเรื่องคลื่นความถี่ : จากเวทีโลก(WRC) สู่แผนแม่บทฯ กสทช

ขอเชิญร่วมงานและทำข่าวงาน กสทช. พบ Blogger"คุยเรื่องคลื่นความถี่ : จากเวทีโลก(WRC) สู่แผนแม่บทฯ กสทช."วันเสาร์ที่ 13 ก.พ. 59 ณ หอประชุมชั้น 1 สำนักงาน กสทช. 13.30 น. ลงทะเบียน 14.00 น. กล่าวต้อนรับ โดย นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์...

กสทช. เตรียมผลักดันโครงการจัดทำการวิจัยวัดความนิยม (เรตติ้ง) เสนอกองทุน กทปส. สนับสนุนอีกครั้ง หลังปรับโครงสร้าง ดึงทั้งอุตสาหกรรมร่วม

ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 ม.ค. ที่ผ่านมา ตน...

กสทช.ร่วมกับMUX แถลงความคืบหน้าสัญญาณดิจิตอลทีวี พบปัญหาอยู่ที่การประชาสัมพันธ์ใช้สายอากาศนอกอาคาร หรือในอาคารแบบมีไฟเลี้ยง

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 58 นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ และนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช. และผู้ประกอบการโครงข่ายดิจิตอลทีวีภาคพื้นดิน ทั้ง 4 รายได้แก่ กองทัพบก ไทยพีบีเอส อสมท. ...

กสทช เปิดรับฟังความคิดเห็น แนวทางการกำกับดูแลอัตราค่าบริการผู้รับใบอนุญาตบรอดแคส กรณี ผูกขาดและพบการร้องเรียนเอาเปรียบ

ผศ.ดร ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช ด้าน เศรษฐศาสตร์) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงาน กสทช มีการประชุมรับฟังความคิด...

ภาพข่าว: ร่วมเวทีระดับประเทศ (K-T Digicon 2015)

ดร.องอาจ สิงห์ลำพอง กรรมการผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ดิจิตอลทีวี ร่วมงาน KOREA-THAILAND DIGITAL CONTENT CONFERENCE 2015 (K-T Digicon 2015) ประเทศเกาหลี โดยมี แจยู ชเว ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ไอซีทีและการวางแผนในอนาคต ให้การต้อนรับ ณ ประเทศ...