ผศ.ดร ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช ด้าน เศรษฐศาสตร์) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงาน กสทช มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แนวทางการกำกับดูแลอัตราค่าบริการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.... เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมานั้น ร่างดังกล่าวมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำกับอัตราค่าบริการ ที่ผู้รับใบอนุญาตเรียกเก็บจากผู้รับบริการ ทั้งผู้ประกอบการเองและผู้บริโภค ได้แก่ ค่าธรรมเนียม ค่าเช่า ค่าบริการ ค่าตอบแทน หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ให้บริการแก่ผู้รับบริการจากการให้บริการโดยตรง โดยการกำกับดูแลจะเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การกำกับดูแลอัตราค่าบริการแบบเฝ้าระวัง และการกำกับดูแลค่าบริการแบบเข้มงวด
ผศ.ดร ธวัชชัยฯ กล่าวว่า การกำกับดูแลอัตราค่าบริการแบบเฝ้าระวัง เป็นการกำกับอัตราค่าบริการต่อผู้รับใบอนุญาตที่อยู่ในตลาดไม่มีการแข่งขันที่กลไกลตลาดไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือในตลาดที่ผู้รับใบอนุญาตมีแนวโน้มหรือเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด (Significant Market Power: SMP) ประกาศฉบับนี้ได้กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตรายนั้น ต้องรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องพร้อมกับอัตราค่าบริการต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมถึงกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการหรือเงื่อนไขการให้บริการจะต้องรายงานให้ทราบทุกครั้ง เพื่อป้องกันมิให้ผู้มีอำนาจเหนือตลาดหรือผู้รับใบอนุญาตที่อยู่ในตลาดที่ไม่มีการแข่งขันแสวงหากำไรเกินควร หรือมีพฤติกรรมในลักษณะกีดกันทางการค้า รวมทั้งกำหนดอัตราค่าบริการไม่สอดคล้องกับต้นทุนการให้บริการ หรือเอาเปรียบผู้ใช้บริการ
อย่างไรก็ดี ในส่วนของการกำกับดูแลค่าบริการแบบเข้มงวด ผศ.ดร ธวัชชัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า เป็นการกำกับอัตราค่าบริการต่อผู้รับใบอนุญาตที่มีพฤติกรรมแสวงหากำไรเกินควร มีการกำหนดอัตราค่าบริการไม่สอดคล้องกับต้นทุนการให้บริการ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าว กสท. จะได้มาจากการร้องเรียนของผู้ใช้บริการทั้งจากประชาชนผู้ใช้บริการหรือผู้รับใบอนุญาตด้วยกัน หรือจากการวิเคราะห์ของสำนักงาน กสทช. หากคณะกรรมการตรวจสอบแล้วพบว่ามีการกระทำดังกล่าว ทางคณะกรรมการ จะกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตที่ถูกตรวจสอบอัตราค่าบริการจัดส่งข้อมูล ที่สอดคล้องกับวิธีการตรวจสอบอัตราค่าบริการ เช่น จำนวนผู้ใช้บริการ อัตราค่าบริการ วิธีการคำนวณอัตราค่าบริการ ข้อมูลต้นทุนการให้บริการ เป็นต้น ทั้งนี้ผู้รับใบอนุญาตที่ต้องถูกตรวจสอบอัตราค่าบริการมีระยะเวลาในการจัดเตรียมข้อมูลจำนวน 60 วัน เพื่อให้สำนักงาน วิเคราะห์ และนำเสนอต่อ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ต่อไป
“ประกาศฉบับนี้ เป็นการกำกับดูแลที่แทรกแซงเฉพาะตลาดที่มีการแข่งขันน้อย หรือผูกขาดโดยธรรมชาติ โดยมีเป้าหมายที่จะควบคุมอัตราค่าบริการ เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และป้องกันไม่ให้ผู้เล่นรายใหญ่แสวงหากำไรเกินควร โดยประกาศดังกล่าวจะมีผลต่อทั้งผู้รับใบอนุญาตด้วยกัน เช่น ผู้ให้บริการโครงข่ายกับช่องTV และ ระหว่างผู้ประกอบการกับประชาชน เช่น Cable TV กับ ผู้ใช้บริการรายเดือน ซึ่งประกาศนี้จะดูแลเฉพาะโครงสร้างอัตราค่าบริการเท่านั้น โดยผู้ประกอบการสามารถชี้แจงที่มาที่ไปของอัตราค่าบริการที่สะท้อนต้นทุนได้ โดยทางคณะอนุกรรมการส่งเสริมและกำกับดูแลการแข่งขันจะมีหน้าที่พิจารณาผู้มีอำนาจเหนือตลาดต่อไป ซึ่งผู้ที่ไม่ได้มาร่วมประชุมแต่มีความเห็นสามารถส่งมาได้ที่ สำนักงาน กสทช. ภายในวันที่ 8 มิถุนายน 2558 โดยความเห็นจากการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะดังกล่าว จะถูกนำเสนอให้ที่ประชุม กสท และ กสทช ต่อไป” ผศ.ดร. ธวัชชัยฯ กล่าว
คุณฐนนท์ศรณ์ เลิศฤทธิ์ศิริกุล ประธานนักศึกษาหลักสูตรด้านวิทยาการพลังงาน (วพน.7) นัดเพื่อนๆ ร่วมรุ่นมาพบปะสังสรรค์ อาทิ ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ ดร.ธีรอัศฐ์ สีหสินอิทธ ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ และ คุณพงศธร ทวีสิน พร้อมส่งมอบตำแหน่งประธานรุ่นคนใหม่ให้กับ คุณพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา โดยมี คุณชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติมาร่วมแสดงความยินดีในงานด้วย ที่ห้องมรกต โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์
ช่อง 7 สี เปิดบ้านต้อนรับ คณะผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ระดับท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่จากสำนักงาน กสทช. เยี่ยมชมสถานีฯ
—
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยคุณสมห...