วว.ลงนามความร่วมมือสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย ...รับรองผลิตภัณฑ์ที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และนายพิพัฒน์ วีระถาวร นายกสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBIA) ลงนามบันทึกข้อตกลงความภายใต้โครงการด้านการรับรองผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ (Compostable Bioplastics) ณ ห้องประชุม ชั้น 36 อาคารซันทาวเวอร์ บี เมื่อเร็วๆ นี้ 
          นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้ว่าการ วว. ชี้แจงว่า พลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพ คือ พลาสติกที่เมื่อผ่านกระบวนการหมักทางชีวภาพ (composting) ในโรงปุ๋ยหมัก จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ สารประกอบทางอินทรีย์ และมวลชีวภาพ และต้องไม่ทิ้งสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่า สิ่งแปลกปลอม หรือสารพิษไว้ตามที่ระบุไว้ตามมาตรฐานการทดสอบ (กลุ่มสหภาพยุโรป: EN 13432, ประเทศสหรัฐอเมริกา:ASTM D-6400 และระดับนานาชาติ: ISO 17088:2008) พลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพมีแหล่งกำเนิดได้ทั้งจากวัตถุดิบชีวมวล (biomass) หรือวัตถุดิบทางการเกษตรที่สามารถสร้างขึ้นจากวัตถุดิบที่ปลูกทดแทนใหม่ได้ (renewable resources) หรือ ปิโตรเคมี (non-renewable resources or fossil) โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจะมีตราสัญลักษณ์ตามมาตรฐานที่ได้ 
          การมีตราสัญลักษณ์ฯ อยู่บนผลิตภัณฑ์จะช่วยผู้บริโภคให้สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมตามวัตถุประสงค์ และช่วยให้ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายได้รับผลประโยชน์จากการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการยอมรับของประชาชน และส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแก่ผู้ผลิตเองในระยะยาว ตราสัญลักษณ์จึงเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยรักษาธรรมชาติผ่านทางการผลิตและการบริโภคของประชาชน          
          สำหรับบทบาทหน้าที่ของ วว. โดยสำนักรับรองระบบคุณภาพ (สรร.) ทำหน้าเป็นหน่วยรับรอง (Certification Body) ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลจากหน่วยรับรองระบบงาน (Accreditation Bodies) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ที่สลายตัวได้ทางชีวภาพตามมาตรฐานสากล และตามหลักเกณฑ์การพิจารณาให้การรับรอง 
          ในส่วนของสมาคมฯ จะเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้ในการรับรองผลิตภัณฑ์ที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ เพื่อส่งเสริมการตลาดและสร้างมาตรฐานการย่อยสลายทางชีวภาพให้กับสินค้า 
          โดยขอบเขตการรับรองผลิตภัณฑ์ที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ นั้น จะครอบคลุมการรับรองผลิตภัณฑ์สำหรับวัตถุดิบ (Basic Materials) ส่วนประกอบ (Component, Constitute) และผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย (finished Products) ซึ่งได้ผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานระหว่างประเทศ เช่น ISO 17088 หรือมาตรฐานระดับภูมิภาค เช่น EN 13432 หรือมาตรฐานระดับประเทศ เช่น ASTM D 6400 หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า
          “...ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นโอกาสที่ดีสำหรับ วว. และ TBIA ในการได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านพลาสติกชีวภาพของไทย ให้ได้รับอนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่สลายตัวได้ทางชีวภาพของสมาคมฯ เพื่อเป็นการส่งเสริมการตลาด และสร้างมาตรฐานการย่อยสลายทางชีวภาพให้กับสินค้า และเป็นการเผยแพร่ตราสัญลักษณ์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป...”ผู้ว่าการ วว.กล่าวสรุปในตอนท้าย

ข่าวสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย+สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพวันนี้

วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน. — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โด...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...