มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลิตบัณฑิตพิการ รุ่นที่ 7 เพื่อรับใช้สังคมเพิ่มอีก 9 ราย ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2555

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--13 ส.ค.--มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรประจำปีการศึกษา 2555 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2556 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีนักศึกษาผู้พิการที่สำเร็จการศึกษาเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร จำนวน 9 ราย ซึ่งนับว่าเป็นบัณฑิตพิการรุ่นที่ 7 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จะนำความรู้ความสามารถและประสบการณ์ไปทำประโยชน์และรับใช้สังคม ตรงตามเจตนารมณ์ในการเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน” และเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม แม้ว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาผู้พิการ ที่มีมาตรฐานเดียวกันกับนักศึกษา ผู้มีร่างกายปกติพร้อมจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้นักศึกษาผู้พิการสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ และให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด แต่ในความเป็นผู้พิการย่อมต้องใช้ความอดทน ความเพียรพยายาม อีกทั้งต้องมีกำลังใจที่เข้มแข็งที่จะฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ เพื่ออนาคตของตนเอง ส่วนหนึ่งของบัณฑิตผู้พิการได้สะท้อนความรู้สึกและความภาคภูมิใจที่ได้เป็นบัณฑิตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามที่ตนเองใฝ่ฝันไว้ นายวิทยา ศิริพร บัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ พิการทางการเคลื่อนไหว หนึ่งในบัณฑิตพิการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพอันดับต้นๆ ของประเทศ ในการสร้างบัณฑิตที่มีความสามารถมีคุณธรรมและคุณภาพออกสู่สังคม และได้เปิดโอกาสให้ผู้พิการอีกหลายคนได้มีโอกาสเรียนในระดับอุดมศึกษา ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่นี่ได้รับการช่วยเหลือ ดูแลเอาใจใส่จากทางมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดี มีสิ่งอำนวย ความสะดวกให้นักศึกษาผู้พิการ อาทิ ทางลาด ห้องน้ำสำหรับผู้พิการ และที่สำคัญมีศูนย์บริการนักศึกษาพิการ ที่คอยช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการเรียน การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย โดยมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาพิการ นับว่า โชคดีมากที่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของประเทศอย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีโครงการแบบนี้ให้ผู้พิการ ซึ่งนอกจากจะเปิดโอกาสให้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้แล้วก็ยังให้การช่วยเหลือสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาพิการอีกด้วย ในฐานะผู้พิการ น้องวิทยาได้ฝากไปถึงสังคมว่า อยากให้สังคมปรับเรื่องทัศนคติเกี่ยวกับผู้พิการให้มีความคิดเชิงบวก ให้มอง ผู้พิการเหมือนคนปกติ และอยากให้สังคมได้เปิดโอกาส ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพให้กับผู้พิการมากกว่าการให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งการติดตามประเมินผล และในฐานะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดกว้างรับผู้พิการให้เข้ามาเรียนได้ก็อยากฝากน้องรุ่นหลังว่า เมื่อเรามีโอกาสที่จะเข้ามาศึกษา ก็อยากจะให้ใช้โอกาสที่ได้เข้ามาศึกษาไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยที่ไหนก็ตาม อยากให้ใช้โอกาสอย่างเต็มที่ ไม่ต้องคิดว่าจะทำได้หรือไม่ เพียงแต่ขอให้ทุ่มเทและทำสิ่งนั้น อย่างเต็มที่ อย่างตั้งใจ และการเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยไม่ใช่เข้ามาเรียนแล้วจะเป็นเพียงผู้รับอย่างเดียว ขณะเดียวกันควรที่จะเป็นผู้ให้บ้างตามสมควรและโอกาส และเชื่อว่าความสำเร็จก็จะมาสู่ความมุ่งหมายที่ตั้งใจไว้อย่างแน่นอน สำหรับปีการศึกษา 2555 มีบัณฑิตพิการสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 9 คน จาก 6 คณะ ดังนี้ คณะเศรษฐศาสตร์ 1 ราย คือ นางสาวนิธินันท์ มีนสุข (พิการทางการได้ยิน) คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 2 ราย คือ นายภานุพงศ์ ก้อนกาศ (พิการทางการมองเห็น) นางสาวจุฑารัตน์ ปราบไกรศรี (พิการทางการมองเห็น) คณะศิลปศาสตร์ 1 ราย คือ นางสาวณัฐรดา บุญยืน (พิการทางการเคลื่อนไหว) คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 1 ราย คือ นางสาวหทัยรัตน์ รัตนจงกล (พิการทางการเคลื่อนไหว) คณะวิศวกรรมศาสตร์ 3 ราย คือ นางสาวสุชาดา เหล่าศรีวิจิตร (พิการทางการเคลื่อนไหว) นางสาวพรศรี ลีลาพัฒนาวงศ์ (พิการทางการได้ยิน) นายวิทยา ศิริพร (พิการทางการเคลื่อนไหว) และคณะศิลปกรรมศาสตร์ 1 ราย คือ นางสาวธนพรรณ พุทธานุภาพ (พิการทางการได้ยิน) นอกจากนี้ ผลสำเร็จตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 ซึ่งเป็นปีแรกของโครงการจนถึงปีการศึกษา 2555 พบว่า นักศึกษา ผู้พิการที่สำเร็จการศึกษาทุกคนสามารถประกอบอาชีพตามวุฒิและศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาคิดอัตราส่วนร้อยละ 100 จากจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา ซึ่งนับเป็นความพึงพอใจของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่ให้โควตาแก่ผู้พิการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย รวมถึงเป็นสถาบันอุดมศึกษานำร่องด้านการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาผู้พิการ โดยเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบในการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาผู้พิการให้สามารถเรียนร่วมกับนักศึกษาผู้มีร่างกายปกติ และได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาผู้พิการที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยเปิดรับนักศึกษาในโครงการนักศึกษาผู้พิการ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 เป็นต้นมา มีหลักเกณฑ์ในการรับผู้พิการที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.00 และสำหรับ ผู้พิการทางการมองเห็นจะต้องมีความสามารถทางการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องขยายจอภาพ โดยมีระบบการสอบแข่งขันระหว่างผู้พิการเท่านั้น ซึ่งในแต่ละปีจัดสรรโควตาแก่ผู้พิการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 56 คน เข้าศึกษาในคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัย จำนวน 15 คณะ ประกอบด้วย คณะนิติศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ ต่อมาในปี 2548 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายให้นักศึกษาผู้พิการได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงจัดตั้ง “ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ” ขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานกลางสำหรับนักศึกษาผู้พิการ อาทิ จัดสิ่งอำนวยความสะดวก อบรม ให้คำปรึกษา จัดหางานให้แก่นักศึกษาผู้พิการ และให้บริการด้านต่างๆ อย่างครบวงจร ตลอดจนเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ด้านผู้พิการด้วยการจัดทำงานวิจัย โดยปัจจุบันในปีการศึกษา 2556 มีนักศึกษาผู้พิการระดับปริญญาตรี จำนวน 73 คน (พิการทางการมองเห็น 36 คน พิการทางการเคลื่อนไหว 27 คน พิการทางการได้ยิน 9 คน ออทิสติกส์ 1 คน) ระดับปริญญาโท จำนวน 6 คน และระดับปริญญาเอก จำนวน 1 คน -นท- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน+พิธีพระราชทานปริญญาบัตรวันนี้

ธรรมศาสตร์ กับ 14 บัณฑิตพิเศษใหม่แกะกล่อง ผลผลิตสะท้อนศักยภาพ “ดินแดนแห่งเสรีภาพ”และ “ความเท่าเทียม”

มธ. เผยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรปีนี้ มีบัณฑิตพิเศษ 14 คน จากหลากหลายสาขาทั้งสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สะท้อนอุดมการณ์มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน มอบโอกาสทางการศึกษาให้ทุกคนอย่างเท่าเทียม ความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษาเป็นสิทธิที่คนทุกคนพึงได้สอดคล้องกับปณิธานของ "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ที่ยึดมั่นในการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน ที่เปิดโอกาสให้ผู้พิการได้รับการศึกษาเรียนรู้อย่างเท่าเทียม โดยที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายเปิดรับนักศึกษาพิการมา 12 ปีแล้ว สามารถผลิตบัณฑิตคุณภาพออกสู่ตลาด

มธ. จัดสัมภาษณ์พิเศษ 2020 สู่บทบาทใหม่มหาลัยเพื่อประชาชน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ เรียนเชิญร่วมงานแถลงข่าว Thammasat Transformation 2020: สู่บทบาทใหม่ของมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน พร้อมกัน ในวันพุธที่ 29 สิงหาคม 2561 เวลา 10.00– 12.00 น. ณ ห้องกระจก คณะวิทยาการเรียนรู้...

ธรรมศาสตร์คว้า 5 ดาวการประเมินมาตรฐานสากลของคิวเอส สถาบันระดับโลก ตอกย้ำความสำเร็จนโยบายความเป็นนานาชาติและมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน

คิวเอส สถาบันจัดอันดับและประเมินมาตรฐานด้านการศึกษาระดับโลก มอบคะแนนประเมินคุณภาพ 5 ดาวแก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน 5 ด้าน ความเป็นนานาชาติ ความพร้อม...

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เผยความสำเร็จแบบก้าวกระโดด ทั้งด้านการวิจัยและความเป็นนานาชาติ ขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ สู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของอาเซียน

ศ.ดร.สมคิดเลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีนโยบายในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยในด้าน การส่ง...

ธรรมศาสตร์ ฉลองครบรอบ 80 ปี เคียงคู่สังคมไทย

ในโอกาสครบรอบ 80 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 27 มิถุนายน มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรม “ธรรมศาสตร์ประกาศนาม” เพื่อให้ประชาชน ศิษย์เก่า และนักศึกษาปัจจุบัน ได้มีโอกาส ร่วมฉลองการครบรอบในครั้งนี้...

มธ. เปิดแผนปี’56 ชูยุทธศาสตร์ 6 I พร้อมเปิด 6 หลักสูตรใหม่ทั้งนานาชาติและภาคภาษาไทย เดินหน้าสู่ความเป็นผู้นำระดับเอเชีย

เผยความสำเร็จปีที่ผ่านมา ผลงานโดดเด่นด้านงานวิจัยสร้างชื่อระดับโลก ทั้งสายวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พร้อมมุ่งสานต่อนโยบายหลัก ด้านวิจัย นานาชาติ และความรับผิดชอบต่อสังคม...

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานแถลง “นโยบายและทิศทางของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2556”

ด้วย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยให้มีความโดดเด่นและชัดเจน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ภายใต้กลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยตามแนวนโยบายหลัก 3 ประการ คือ การมุ่งสู่ความเป็น...

ภาพข่าว: วันธรรมศาสตร์ทำนา ปีที่ 7

ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ (กลาง) อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน “วันธรรมศาสตร์ทำนา เศรษฐกิจพอเพียง ปีที่ 7” ซึ่งเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกที่ดีในการทำหน้าที่เพื่อรับใช้สังคมตามอุดมการณ์ “มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน”...