โอกาสธุรกิจใน อินเดีย ประตูสู่เอเชียใต้

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--24 ก.ย.--นิวส์ เพอร์เฟค คอมมิวนิเคชั่น

อินเดีย ตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทยในประเทศกลุ่มเอเชียใต้ ด้วยมูลค่าการค้ากว่า 8.67 พันล้านดอลล่าร์ ในปีที่ผ่านมา และจำนวนประชากร 1.21 พันล้านคน อันดับ 2 ของโลก รองจากจีน รวมถึงโอกาสในการเปิดประตูการค้าสู่ ตลาด ภูฏาน เนปาล ศรีลังกา และบังกลาเทศ ไทย และ อาเซียน จึงต้องกำหนดนโยบาย และ กลยุทธ์ต่างๆ ในการรุกตลาด อินเดีย อย่างชัดเจน ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ รองผู้อำนวยการวิชาการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา หรือ ITD เปิดเผยว่า อินเดีย เป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเป็นตลาดการค้า และการลงทุนของไทย แต่ในช่วงที่ผ่านมาปริมาณการค้า และการลงทุนระหว่างไทยและอินเดียยังมีค่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับขนาดตลาดของอินเดีย ยังไม่นับรวมโอกาสในการขยายตลาดสู่ประเทศใกล้เคียงกับอินเดีย โดยจากข้อมูล ตั้งแต่ เมษายน พ.ศ. 2543 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2554 ไทยมีมูลค่าการลงทุนในอินเดียรวมทั้งหมดเพียง 92.06 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 0.06 เปอร์เซ็นต์ ของเงินลงทุนต่างชาติ โดยจัดอยู่ในอันดับที่ 36 “ โอกาสการค้า และการลงทุน ในประเทศ อินเดีย ยังเปิดกว้างมากสำหรับนักลงทุนชาวไทย โดยปัจจัยสำคัญที่เข้ามาส่งเสริมการค้าระหว่างกันคือ ข้อตกลงการค้าเสรีไทย-อินเดีย ( TIFTA ) ซึ่งเป็นข้อตกลงเสรีอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงการเปิดเสรี การค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน ตลอดจนความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และข้อตกลงเสรีการค้า อาเซียน-อินเดีย( AIFTA ) ซึ่งเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน 10 ประเทศกับอินเดีย ซึ่งข้อตกลงทั้ง 2 ฉบับ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการนำมาใช้ประกอบการวางแผนธุรกิจ ตลอดจนกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม ในการทำการค้า การลงทุน กับ อินเดีย ต่อไป ” ดร.วัชรัศมิ์ กล่าว โดย ข้อตกลงการค้าเสรี ไทย-อินเดีย ( TIFTA ) เป็นความตกลงการค้าเสรีระดับทวิภาคีระหว่างไทยกับอินเดีย เริ่มเจรจาในปี พ.ศ. 2544 และลงนามเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ผลของการเจรจามีผลให้ยกเลิกภาษีในสินค้าเร่งลดภาษีจำนวน 82 รายการเหลือ 0 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของไทย ไปอินเดียเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไทยเกินดุลการค้ากับอินเดียในช่วงปี 2550-2553 สัดส่วนการใช้สิทธิภายใต้ TIFTA อยู่ที่ร้อยละ 80 โดยสินค้าที่ใช้สิทธิในระดับสูง คือ เครื่องปรับอากาศ อะลูมิเนียมเจือ เครื่องประดับ เพชร พลอย เม็ดพลาสติก และส่วนประกอบเครื่องยนต์ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในด้านการลงทุนในประเทศอินเดียสำหรับนักลงทุนชาวไทย มีอยู่ 4 อุตสาหกรรมด้วยกัน คือ 1. อุตสาหกรรมอาหาร 2. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 3. อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และ 4. อุตสาหกรรมเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่งบ้าน ส่วนข้อตกลงการค้าเสรี อาเซียน-อินเดีย ( AIFTA ) เริ่มเจรจาฉบับแรก 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ประเทศสมาชิกอาเซียน และอินเดียจะทยอยลดและเลิกภาษีศุลกากรในระยะเวลาที่แตกต่างกัน โดยอินเดียและประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และไทย ลดภาษีตามกำหนดเวลา ส่วนประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ( กลุ่ม CLMV ) ลดภาษีช้ากว่ากลุ่มแรก 5 ปี ส่วนฟิลิปปินส์ จะลดภาษีกับอินเดียช้ากว่าประเทศอื่นๆ 3 ปี ซึ่งผลจาก AIFTA เริ่มบังคับใช้ พบว่ามูลค่าการส่งออกของรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิเท่ากับ 3,683.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสินค้าที่ส่งออกภายใต้สิทธิ เท่ากับ 875.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับร้อยละ 18.63 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากการลดภาษีพึ่งจะมีผลบังคับใช้เป็นปีแรก และคาดว่าสัดส่วนการใช้สิทธิจะสูงขึ้นในปีถัดไป ทั้งนี้สินค้าส่งออกที่สำคัญจากไทยไปอินเดียที่ใช้สิทธิภายใต้ AIFTA คือ กรดเทเรฟทาลิก เครื่องยนต์ สินค้าในกลุ่มเอทิลีน ถังเชื่อเพลิงรถยนต์ ผ้าใบยางรถยนต์ ยาง และวิทยุสำหรับรถยนต์ เป็นต้น -กผ-

ข่าวสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา+สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าวันนี้

ปิดประตูค้าชายแดนไทย – กัมพูชา

ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ รองผู้อำนวยการวิชาการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา หรือ ไอทีดี เปิดเผยถึง ผลงานวิจัย เรื่อง การค้าระหว่างประเทศทางบกด้านตะวันออก ว่า โครงการนี้เป็นการศึกษาถึงสถานการณ์ปัจจุบันของการขนส่งสินค้าข้ามแดนตามเส้นทางด้านตะวันออก ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 เส้นทางหลัก คือ 1) เส้นทาง R1 จากกรุงเทพ ฯ – อรัญประเทศ จ.สระแก้ว (ไทย) – ปอยเปต/ศรีโสภณ – พระเวท (กัมพูชา) – วังเตา (เวียดนาม) และ 2) เส้นทาง R10 จากกรุงเทพฯ – บ้านหาดเล็ก จ.ตราด (ไทย) – เกาะกง (กัมพูชา) – นามคาน (เวียดนาม)

เมียนมาร์ : แม่เหล็กแห่งใหม่ในภูมิภาค

รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง ยังคงใช้ได้ดีกับทุกยุคทุกสมัย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD เผยผลงานวิจัยชิ้นแรกที่ว่าด้วยเรื่อง ความคิด สังคม ประเพณี วัฒนธรรม และกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ของเมียนมาร์ ซึ่งจะช่วยนักลงทุนไทย...

บทบาทของแรงงานวิชาชีพ ที่เปลี่ยนแปลงไปในอาเซียน

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา หรือ ITD ร่วมกับศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะแนวทางการปรับตัวเพื่อรองรับข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ของตลาดแรงงานวิชาชีพต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปใน เขตการค้าเสรีอาเซียน ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์...

ผลวิจัยชี้ ไทยได้เปรียบการค้าชายแดนทางบก ด้านเหนือ และตะวันตก

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา หรือ ITD เผยผลงานวิจัย “ การค้าระหว่างประเทศทางบกด้านเหนือและด้านตะวันตก ” ชี้ชัดไทยได้เปรียบการค้าด้านนี้ ภาครัฐ และเอกชนควรเตรียมพร้อมเต็มที่ ใช้โอกาสนี้ ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ต้อนรับ...

ภาพข่าว: เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ พาเหรดสุนัขทีมชาติ ตบเท้าสู่งานประกวดสุนัขระดับโลกครั้งแรกในไทย FCI Dog Show 2010

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ (กลาง) ผู้อำนวยการ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “FCI Asian and the Pacific Section Dog Show 2010” งานมหกรรมระดับ...

สสวท. จัดงาน “คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี”

ด้วยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา (ITD) และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จะจัดงานสมัชชาขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง : การสนับสนุน...

ITD Biz จัดฝึกอบรมหลักสูตร “คัมภีร์เศรษฐีออนไลน์ ชุดปลุกใจสู้ กู้วิกฤติ E-commerce Naverdie”

ITD BIZ ภายใต้การบริหารของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา และ บริษัท อินวิส จำกัด ร่วมพลิกวิกฤติเป็นโอกาส จัดฝึกอบรมหลักสูตร “คัมภีร์เศรษฐีออนไลน์ ชุดปลุกใจสู้กู้วิกฤติ E-commerce Never Die” ...

ICSD และ IISD จัดงานแถลงข่าวเรื่อง "ภาวะโลกร้อน วิกฤตเศรษฐกิจโลก และผลกระทบทางการค้าในเอเซ๊ย"

เนื่องด้วยสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนาร่วมกับศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนาที่ยั่งยืน (ICSD) ณ นครเจนีวา และสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (IISD) ณ นครเจนนีวา...