ปิดประตูค้าชายแดนไทย – กัมพูชา

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ รองผู้อำนวยการวิชาการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา หรือ ไอทีดี เปิดเผยถึง ผลงานวิจัย เรื่อง การค้าระหว่างประเทศทางบกด้านตะวันออก ว่า โครงการนี้เป็นการศึกษาถึงสถานการณ์ปัจจุบันของการขนส่งสินค้าข้ามแดนตามเส้นทางด้านตะวันออก ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 เส้นทางหลัก คือ 1) เส้นทาง R1 จากกรุงเทพ ฯ – อรัญประเทศ จ.สระแก้ว (ไทย) – ปอยเปต/ศรีโสภณ – พระเวท (กัมพูชา) – วังเตา (เวียดนาม) และ 2) เส้นทาง R10 จากกรุงเทพฯ – บ้านหาดเล็ก จ.ตราด (ไทย) – เกาะกง (กัมพูชา) – นามคาน (เวียดนาม) การศึกษาครอบคลุมถึงสถิติการค้าชายแดนและการค้าข้ามแดนระหว่างภาคตะวันออกของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และวิเคราะห์สถานการณ์ อุปสรรคในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า มาตรการกีดกันทางการค้า กฎระเบียบที่เกี่ยวกับการค้าและการข้ามแดน แนวโน้มและรูปแบบทางการค้า รวมถึงโอกาสในการใช้ประโยชน์จากเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจนี้ เพื่อเสนอแนะแนวทางและกลยุทธ์การพัฒนาการค้าชายแดนและการค้าข้ามแดนสำหรับภาครัฐและภาคเอกชน
          คณะผู้วิจัยพบว่าโดยรวมแล้วประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีประสิทธิภาพของกระบวนการและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนที่ดีกว่ากัมพูชาและเวียดนามค่อนข้างมาก ส่วนโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับประเทศไทยในกัมพูชาและเวียดนามนั้นมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการเข้าไปทำธุรกิจ หากต้องการเข้าไปลงทุนทำการผลิตเพื่อการส่งออก ประเทศเวียดนามจะมีความน่าสนใจมากกว่ากัมพูชา เนื่องจากเวียดนามมีประสิทธิภาพด้านต้นทุน เวลา และกระบวนการที่สูงกว่า แต่หากต้องการเข้าไปลงทุนค้าขายแล้ว พบว่าประเทศกัมพูชาดูมีศักยภาพในการนำสินค้าไทยเข้าไปค้าขายมากกว่า เนื่องจากระยะเวลาและกระบวนการในการนำเข้าสินค้านั้นรวดเร็วและสะดวกกว่าประเทศเวียดนาม แต่มีจะมีข้อเสียคือต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงกว่า
          โดยสินค้าที่มีสัดส่วนในการส่งออกไปยังประเทศกัมพูชาทางบกสูงคือสินค้าประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และอะไหล่รถยนต์ โดยมากจะเป็นการขนส่งผ่านเส้นทาง R1 ผ่านทางด่านอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดยสินค้าที่ทำการขนส่งทางบกจะมีลักษณะเฉพาะคือ สินค้าอุปโภคบริโภคที่มีปลายทางยังเขตที่อยู่ใกล้ชายแดนประเทศไทย เช่น ปอยเปต ศรีโสภณ พระตะบอง สินค้าประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และอะไหล่รถยนต์ ที่ต้องมีการกระจายสินค้าไปยังเขตต่างๆ ในประเทศกัมพูชา รวมถึงเขตที่ใกล้ชายแดนกับประเทศไทย สำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักมาก และมีจุดหมายปลายทางไปยังตอนในของประเทศกัมพูชาจะไม่นิยมใช้เส้นทางทางบก
          ในส่วนของผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าไปขายยังประเทศเวียดนามตอนใต้พบว่า ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการยังอาศัยการขนส่งทางน้ำเป็นหลัก และไม่มีแผนในการเปลี่ยนมาใช้เส้นทางการขนส่งทางบก ทั้งนี้เนื่องจากประเทศเวียดนามตอนใต้มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำและทะเลเป็นจำนวนมาก จึงมีท่าเรือทั้งท่าเรือน้ำลึกและท่าเรือแม่น้ำอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งมีต้นทุนในการขนส่งที่ถูกกว่าต้นทุนการขนส่งทางบกค่อนข้างมาก โดยเวลาที่ใช้ในการขนส่งสินค้าไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก
          สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการค้าทางบก คณะผู้วิจัย มีการข้อเสนอแนะเชิงนโยบายไว้ดังนี้ หากมีการปรับปรุงการขนส่งทางบกให้มีต้นทุนที่ถูกลง จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการนำสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อเวลาในการขนส่งไปขายในประเทศกัมพูชาตอนในมากยิ่งขึ้น เช่น ผักสด ผลไม้สด ต่างๆ และผู้ประกอบการไทยควรมองหาโอกาสในการเจาะตลาดในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งออกไปยังกัมพูชาอยู่แล้ว โดยมองการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตและรูปแบบการบริโภคของคนในประเทศกัมพูชามากยิ่งขึ้น เช่น คนในพนมเปญ ซึ่งมีความเจริญมากขึ้น และกำลังซื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจพยายามเจาะตลาดในสินค้าฟุ่มเฟือยมากขึ้น เช่น เครื่องสำอาง เครื่องประดับ สินค้าเทคโนโลยี สินค้าที่อาศัยช่องทาง MODERN TRADE เพื่อรองรับรูปแบบการบริโภคที่จะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคต สุดท้ายคือ การพยายามระงับข้อพิพาทหรือแก้ไขปัญหาความมั่นคงร่วมกัน จะช่วยพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี


ข่าวสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา+สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าวันนี้

โอกาสธุรกิจใน อินเดีย ประตูสู่เอเชียใต้

อินเดีย ตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทยในประเทศกลุ่มเอเชียใต้ ด้วยมูลค่าการค้ากว่า 8.67 พันล้านดอลล่าร์ ในปีที่ผ่านมา และจำนวนประชากร 1.21 พันล้านคน อันดับ 2 ของโลก รองจากจีน รวมถึงโอกาสในการเปิดประตูการค้าสู่ ตลาด ภูฏาน เนปาล ศรีลังกา และบังกลาเทศ ไทย และ อาเซียน จึงต้องกำหนดนโยบาย และ กลยุทธ์ต่างๆ ในการรุกตลาด อินเดีย อย่างชัดเจน ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ รองผู้อำนวยการวิชาการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา หรือ ITD เปิดเผยว่า อินเดีย เป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเป็นตลาดการค้า และการลงทุนของไทย

เมียนมาร์ : แม่เหล็กแห่งใหม่ในภูมิภาค

รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง ยังคงใช้ได้ดีกับทุกยุคทุกสมัย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD เผยผลงานวิจัยชิ้นแรกที่ว่าด้วยเรื่อง ความคิด สังคม ประเพณี วัฒนธรรม และกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ของเมียนมาร์ ซึ่งจะช่วยนักลงทุนไทย...

บทบาทของแรงงานวิชาชีพ ที่เปลี่ยนแปลงไปในอาเซียน

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา หรือ ITD ร่วมกับศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะแนวทางการปรับตัวเพื่อรองรับข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ของตลาดแรงงานวิชาชีพต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปใน เขตการค้าเสรีอาเซียน ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์...

ผลวิจัยชี้ ไทยได้เปรียบการค้าชายแดนทางบก ด้านเหนือ และตะวันตก

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา หรือ ITD เผยผลงานวิจัย “ การค้าระหว่างประเทศทางบกด้านเหนือและด้านตะวันตก ” ชี้ชัดไทยได้เปรียบการค้าด้านนี้ ภาครัฐ และเอกชนควรเตรียมพร้อมเต็มที่ ใช้โอกาสนี้ ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ต้อนรับ...

ภาพข่าว: เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ พาเหรดสุนัขทีมชาติ ตบเท้าสู่งานประกวดสุนัขระดับโลกครั้งแรกในไทย FCI Dog Show 2010

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ (กลาง) ผู้อำนวยการ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “FCI Asian and the Pacific Section Dog Show 2010” งานมหกรรมระดับ...

สสวท. จัดงาน “คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี”

ด้วยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา (ITD) และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จะจัดงานสมัชชาขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง : การสนับสนุน...

ITD Biz จัดฝึกอบรมหลักสูตร “คัมภีร์เศรษฐีออนไลน์ ชุดปลุกใจสู้ กู้วิกฤติ E-commerce Naverdie”

ITD BIZ ภายใต้การบริหารของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา และ บริษัท อินวิส จำกัด ร่วมพลิกวิกฤติเป็นโอกาส จัดฝึกอบรมหลักสูตร “คัมภีร์เศรษฐีออนไลน์ ชุดปลุกใจสู้กู้วิกฤติ E-commerce Never Die” ...

ICSD และ IISD จัดงานแถลงข่าวเรื่อง "ภาวะโลกร้อน วิกฤตเศรษฐกิจโลก และผลกระทบทางการค้าในเอเซ๊ย"

เนื่องด้วยสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนาร่วมกับศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนาที่ยั่งยืน (ICSD) ณ นครเจนีวา และสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (IISD) ณ นครเจนนีวา...