อสังหาฯ ตุนเงินสดเสริมสภาพคล่อง รับมือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เผยผลสำรวจแผนธุรกิจเชิงตั้งรับธุรกิจอสังหาฯ ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองที่ยืดเยื้อมานาน พบว่าทุกบริษัทพัฒนาอสังหาปรับกลยุทธ์เน้นเสริมสภาพคล่องธุรกิจ โดยควบคุมค่าใช้จ่าย ชะลอเปิดโครงการใหม่ และเพิ่มกระแสเงินสดในมือให้มากขึ้น เพื่อรับมือความเสี่ยงหากเศรษฐกิจชะลอตัวเป็นเวลานานที่อาจมีผลกระทบต่อปัญหาขาดสภาพคล่องในอนาคต
          รายใหญ่เพิ่มเงินสดเสริมสภาพคล่อง
          - ควอลิตี้ เฮ้าส์ ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาได้ระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้ทำให้มีกระแสเงินสดในมือมากขึ้น จากเดิม 800-1,000 ล้านบาท ปัจจุบันเพิ่มเป็น 1,700-1,800 ล้านบาท เพียงพอรองรับการจ่ายเงินเดือนพนักงานและก่อสร้างโครงการได้ 3-4 เดือน โดยเป็นนโยบายเพื่อตั้งรับความเสี่ยงหากกำลังซื้อที่อยู่อาศัยชะลอตัว
          ตั้งงบซื้อที่ดินปี 2557 จำนวน 4 พันล้านบาท แต่ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันคงต้องชะลอการซื้อที่ดินและเปิดตัวโครงการใหม่ ออกไป
          - เอพี (ไทยแลนด์) เปิดเผยว่าจากช่วงครึ่งปีหลัง 2556 บริษัทมีกระแสเงินสดเฉลี่ย 1.5-2 พันล้านบาท รองรับการใช้จ่ายพัฒนาโครงการได้ 2 เดือน ปัจจุบันเพิ่มเป็น 2.5 พันล้านบาท รองรับการใช้จ่ายได้ 3 เดือน
          ส่วนงบซื้อที่ดินยังเตรียมไว้เท่าเดิมคือ 6 พันล้านบาท ก็เป็นการลงทุนที่ต้องใช้อย่างระมัดระวังเป็นอย่างมากในปีนี้
          - พฤกษา เรียลเอสเตท เพิ่งเสนอขายหุ้นกู้มูลค่า 2 พันล้านบาท ให้กับนักลงทุน จึงมีเงินสดในมือเพิ่มจากปลายปีก่อน 1-2 พันล้านบาท ปัจจุบันเป็น 2-3 พันล้านบาท นอกจากนี้ยังมีวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติจากธนาคาร แต่ยังไม่ได้เบิกจ่ายอีกกว่า 1 หมื่นล้านบาท เป็นเงินสำรองไว้อีกชั้นหนึ่ง
          - แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ ตั้งแต่ต้นปีเพิ่มกระแสเงินสดในมือจาก 800 ล้านบาท เป็น 1 พันล้านบาท เพื่อให้เพียงพอรองรับค่าใช้จ่ายในองค์กรและก่อสร้างโครงการไปได้อีก 6 เดือน และวางแผนบริหารกระแสเงินสด คือจัดลำดับโครงการที่จะก่อสร้างให้เสร็จก่อน-หลัง โครงการไหนที่ใกล้แล้วเสร็จจะใช้กระแสเงินสดที่มีเร่งสร้างให้จบเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้ลูกค้า และนำเงินมาใช้หมุนเวียนสร้างโครงการอื่น ๆ ต่อไป
          - แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) มีกระแสเงินสดในมือ 600 ล้านบาท เพียงพอจ่ายเงินเดือนพนักงานได้ประมาณ 1 ปีครึ่ง และยังไม่มีแผนเพิ่มเงินสดในมือ เนื่องจากใช้นโยบายสร้างบ้านเสร็จก่อนขาย จึงไม่ต้องสำรองเงินเผื่อไว้มากนัก ถึงแม้จะมีแผนเปิดตัวโครงการคอนโดฯอย่างต่อเนื่องก็ตาม
          - พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ ได้เพิ่มกระแสเงินสดในบริษัทจากเดิม 70-80 ล้านบาท เป็น 100 ล้านบาท เพื่อให้เพียงพอใช้จ่ายเงินเดือนพนักงานได้ 2 ปี
          - ธนาสิริกรุ๊ป เพิ่มกระแสเงินสดจาก 150 ล้านบาท เป็น 300 ล้านบาท กรณีสถาบันการเงินหยุดปล่อยกู้สามารถใช้จ่ายได้จาก 3 เดือน เป็น 6 เดือน
          - กานดา พร็อพเพอร์ตี้ สภาวะปกติบริษัทมีกระแสเงินสดสำรองในมือตลอดเวลาประมาณ 100 ล้านบาท สำหรับปีนี้เตรียมตั้งรับโดยบริหารกระแสเงินสดเฉลี่ยเพิ่มเป็น 150-200 ล้านบาท
          ข้อมูลเพิ่มเติมที่ : facebook.com/terrabkk

อสังหาฯ ตุนเงินสดเสริมสภาพคล่อง รับมือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

ข่าวเศรษฐกิจชะลอตัว+ควอลิตี้ เฮ้าส์วันนี้

นันยางเผยโฉมนวัตกรรม สำหรับ Gen Alpha รองเท้า "Have Fun" ไม่ต้องผูกเชือก

พร้อมเพิ่มทางเลือกคุ้มค่าด้วยสินค้าราคาประหยัด "Retake และ Retry" แบ่งเบาภาระผู้ปกครอง นันยาง ประกาศกลยุทธ์รุกตลาดรับเปิดเทอมปี 2568 มุ่งเน้นนวัตกรรมสินค้าและความคุ้มค่า เพื่อตอบรับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคเศรษฐกิจชะลอตัว โดยยังคงครองความเป็นผู้นำตลาดรองเท้าผ้าใบนักเรียนอันดับหนึ่ง ด้วยส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 45% จากมูลค่าตลาดรองเท้านักเรียนรวมกว่า 5,000 ล้านบาท ตั้งเป้าเติบโตต่อเนื่องที่ 3-5% ในปีนี้ นันยางยังคงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมเพื่อรองรับความต้องการของเด็กนักเรียนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง โดย

LDC เผยปี 68 เดินหน้าเชิงรุกเจาะตลาดภาคใต... LDC ปรับพอร์ตสาขา - รุกตลาดภาคใต้ ชูทันตกรรมพรีเมียม มองหาโอกาสใหม่ — LDC เผยปี 68 เดินหน้าเชิงรุกเจาะตลาดภาคใต้ ปักธง 3 สาขาใหม่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร และภู...

เทลสกอร์ ร่วมกับ เดอะมอลล์ ประกาศผล สุดยอ... เทลสกอร์ ร่วมกับ เดอะมอลล์ ประกาศผล สุดยอดอินฟลูเอนเซอร์แห่งปี — เทลสกอร์ ร่วมกับ เดอะมอลล์ ประกาศผล สุดยอดอินฟลูเอนเซอร์แห่งปีชี้คอนเทนต์ ครีเอเตอร์ ก้าว...

โครงการ TJRI (โครงการศึกษาวิจัยการลงทุนญี... TJRI เปิด Insight อนาคต 'ยานยนต์ญี่ปุ่น' แนะผลักดันความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น ดึงลงทุนเพิ่ม — โครงการ TJRI (โครงการศึกษาวิจัยการลงทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย) ผู้เช...