สถาบันอนาคตไทยศึกษาชี้ ปฏิรูปครั้งใหม่ ต้องไม่ซ้ำรอยเดิม จะสำเร็จต้อง “เร็ว”-“เน้นผลลัพธ์”-“ปฏิบัติได้จริง”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สถาบันอนาคตไทยศึกษาเปิดเผยแนวทางเพื่อการปฏิรูปครั้งใหม่ จะต้องเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม ต้องเร่งกระบวนการให้เร็วขึ้น โดยต่อยอดจากที่เคยมีการศึกษาไว้แล้ว ข้อเสนอต้องเน้นไปที่ผลลัพธ์ และมีตัวชี้วัดชัดเจน ควรเสนอในรูปแบบของ “ข้อตกลงร่วมกัน” ระหว่างรัฐบาลกับภาคส่วนอื่นๆ ของสังคม อย่างภาคประชาชน และภาคเอกชน เพื่อร่วมกันตรวจสอบ และสร้างแรงจูงใจให้ถูกนำไปปฏิบัติจริง 
          สถาบันอนาคตไทยศึกษาได้เปิดเผยถึงแนวทางในการปฏิรูปครั้งใหม่ ในแต่ละครั้งที่บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย หรือเกิดความขัดแย้ง การปฏิรูปจะถูกหยิบยกขึ้นมาใช้เป็นกระบวนการในการหาทางออกให้กับประเทศครั้งแล้วครั้งเล่าถ้ามองย้อนกลับไปในอดีตที่ไม่ไกล ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการ “ปฏิรูป” มาแล้วอย่างน้อย 3 คณะใหญ่ ยังไม่รวมถึงคณะกรรมการปฏิรูปคณะย่อย ๆ อีกหลายคณะ ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ (คปร.) โดยมี นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ โดยมี ศ.นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) โดยมี นายคณิต ณ นคร เป็นประธาน ซึ่งข้อเสนอที่ได้จากคณะกรรมการแต่ละชุดขึ้นไปอยู่บนหิ้ง ไม่ได้ถูกหยิบขึ้นมาสานต่อ 
          ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหารสถาบันอนาคตไทยศึกษากล่าวว่า “ในวันนี้ ประเด็นการปฏิรูปก็ถูกชูขึ้นมาเช่นเคย แต่ถ้าเรายังขืนเดินซ้ำรอยเดิม และเดินหน้าปฏิรูปด้วยกระบวนการเดิมๆ ทุกอย่างก็จะจบแบบเดิมอีก และท้ายที่สุดการปฏิรูปก็จะไม่เกิดขึ้นจริง ที่ผ่านมา เราก็เคยมีคณะปฏิรูปมาแล้ว อย่างน้อยๆ ก็ 4 คณะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ใช้งบประมาณไปเกือบ 1,300 ล้านบาท ผลิตข้อเสนอ 94 เรื่อง แต่ถ้าเราลองคิดดู มีซักกี่เรื่องที่ถูกนำไปปฏิบัติจริงๆ”
          จากการศึกษา พบว่า จากบทเรียนของกระบวนการปฏิรูปที่ผ่านๆ มา แนวทางการปฏิรูปใหม่จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ หนึ่ง กระบวนการต้องเร็ว โดยเลือกปฏิรูปเรื่องสำคัญๆ เพียงไม่กี่เรื่อง ที่ผ่านมาเราคิดมาแล้วในหลายคณะกรรมการปฏิรูปแล้ว ครั้งนี้จึงไม่ควรต้องเริ่มจากศูนย์ เราสามารถต่อยอดจากข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปครั้งที่ผ่านๆ มา บวกกับสิ่งที่มีคนเสนออยู่ตอนนี้ สอง ต้องเป็นข้อเสนอที่มีตัวชี้วัดชัดเจน เน้นไปที่ผลลัพธ์ นำไปปฏิบัติได้ ตรวจสอบได้ และมีการกำหนดกรอบเวลาแน่นอน และสาม ต้องสร้างเป็น “ข้อตกลงร่วมกัน” ระหว่างรัฐบาลกับภาคส่วนอื่นๆ ของสังคม อย่างภาคประชาชน และภาคเอกชน เพื่อร่วมกันตรวจสอบ และสร้างแรงจูงใจให้นำไปปฏิบัติจริง
          เพราะที่ผ่านมา เราพบว่าคณะกรรมการปฏิรูปบางคณะใช้เวลายาวนานถึง 3 ปี เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องที่ควรปฏิรูป บางคณะเสนอข้อเสนอรวมถึง 94 ข้อ ส่วนใหญ่ของข้อเสนอมักเสนอให้รัฐบาล “ส่งเสริม” หรือ “สนับสนุน” แต่ก็ไม่ได้บอกว่ารัฐบาลต้องส่งเสริมอย่างไร และยากที่จะบอกได้ว่ารัฐบาลทำเสร็จแล้วหรือไม่ และในที่สุดก็แทบไม่มีข้อเสนอใดเลยที่ถูกนำมาใช้ แม้จะมีบางเรื่องที่ทำจนเสร็จถึงขั้นที่มีการเสนอเป็นร่างพรบ.แล้วก็ตาม 
          ทางสถาบันฯ หวังว่ารายงานจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการการพูดคุยเรื่องปฏิรูป และเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้การปฏิรูปต้องซ้ำรอยเดิม จึงต้องการที่จะเสนอกระบวนการปฏิรูปในรูปแบบใหม่ๆ ใน 2 เรื่องด้วยกัน หนึ่งเพื่อให้กระบวนการปฏิรูปครั้งใหม่ดำเนินการได้เร็วขึ้น และไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ ทางสถาบันฯ จึงได้รวบรวมข้อเสนอที่มีอยู่ทั้งในปัจจุบัน อย่างข้อเสนอของ 7 องค์กรเอกชน องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น รวมถึงสิ่งที่ได้จากคณะกรรมการปฏิรูปในครั้งก่อนหน้าจากคณะสมัชชาปฏิรูป และคปร. นำมากลั่นกรอง และสรรหาจุดร่วม/จุดเด่น เพื่อให้ได้ประเด็นสำคัญๆ ที่มีความจำเป็นต้องปฏิรูปโดยเร่งด่วน รวม 8 เรื่อง เช่น การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยการเปิดเผยข้อมูล เพิ่มบทลงโทษ และเร่งดำเนินคดีคอร์รัปชั่น การสร้างกลไกตรวจสอบ ควบคุม ถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐให้เข้มแข็งขึ้น โดยการจัดตั้งสำนักงบประมาณของรัฐสภา การสร้างเพิ่มธรรมาภิบาลในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง และการเพิ่มธรรมาภิบาลของการบริหารงานองค์กรอิสระ โดยการเผยแพร่รายงานประจำปี เป็นต้น
          นอกจากนี้ ทางสถาบันฯ ก็ได้จัดทำ “ตัวอย่างข้อเสนอแนวทดลอง” ในเรื่องคอร์รัปชั่นเพื่อเป็นต้นแบบของข้อเสนอที่มีรายละเอียดที่จะสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีตัวชี้วัดที่เน้นผลลัพธ์ซึ่งจะช่วยในการติดตามประเมินผล พร้อมทั้งมีกำหนดเวลาในการปฏิบัติชัดเจนว่าแต่ละเรื่องควรบรรลุเป้าหมายโดยใช้เวลาเท่าใด การปฏิรูปในรูปแบบนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะเพื่อนบ้านของเราอย่างมาเลเซียเองก็มี “โครงการปฏิรูปภาครัฐ” ที่รัฐบาลมาเลเซียให้คำมั่นกับประชาชนไว้ และดำเนินการด้วยวิธีการเดียวกันนี้ คือมีการวางแผนปฏิบัติการโดยละเอียด มีการระบุตัวผู้รับผิดชอบในแต่ละแผนงาน และมีการประเมินผลความสำเร็จจากตัวชี้วัดที่มุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์เช่นกัน ที่สำคัญคือรัฐบาลมาเลเซียสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วย โดยเฉพาะเรื่องคอร์รัปชั่น จากที่เคยอยู่อันดับ 60 ในปี 2554 ก็ขยับขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 53 ในปี 2556 
          “ทุกวันนี้คนไทยเอาแต่เถียงกันแต่เรื่องที่เห็นไม่ตรงกัน ทำให้เราลืมไปว่ามีอีกหลายเรื่องที่เราเห็นร่วมกันอยู่ จากที่ได้ทบทวนงานปฏิรูปทั้งของเก่าและของใหม่ ก็ได้เห็นว่ามีหลายเรื่องที่หลายฝ่ายก็เห็นตรงกันอยู่ อย่างเรื่องการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น และการใช้อำนาจรัฐในทางที่ไม่ควร ถ้าจะปฏิรูปเราก็น่าจะเริ่มจากเรื่องที่เราเห็นตรงกันก่อนได้” ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวปิดท้าย


ข่าวสถาบันอนาคตไทยศึกษาชี้+สถาบันอนาคตไทยศึกษาวันนี้

สถาบันอนาคตไทยศึกษาชี้นโยบาย Digital Economy ต้องตอบโจทย์การสร้างมูลค่าเพิ่ม..ไม่ใช่เน้นที่การเพิ่มหน่วยงานภาครัฐ แต่ต้องให้เอกชน-วิชาการจับมือกันสร้างธุรกิจ

สถาบันอนาคตไทยศึกษาเผยผลการศึกษาเกี่ยวกับนโยบาย Digital Economy เป็นนโยบายที่ช่วยในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และอาจจะช่วยให้เราหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางได้ แต่เพื่อให้แนวคิดนี้สามารถนำไปใช้ให้เกิดผลจริงอย่างเป็นรูปธรรม Digital Economy จำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่การสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นหลัก ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหารสถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวเสริมว่า “ที่ต้องเน้นไปที่การสร้างมูลค่าเพิ่ม เพราะไม่ใช่ทุกอย่างที่เป็นดิจิตอลจะมีมูลค่าเพิ่มสูง ในขณะที่สินค้าบางอย่างที่

สถาบันอนาคตไทยศึกษาชี้ 7 สาเหตุที่ประสิทธิภาพแรงงานไทยต่ำ เสนอทางออกด้วยการพัฒนาคลัสเตอร์ในภูมิภาค

สถาบันอนาคตไทยศึกษาได้เปิดเผยผลงานวิจัยชิ้นล่าสุดเกี่ยวกับประสิทธิภาพแรงงาน และความสามารถในการแข่งขันซึ่งพบว่า ความสามารถในการแข่งขันของไทยต่ำกว่าเมื่อ 10 ปีก่อนเล็กน้อย แต่ยังตามหลังอีกหลายประเทศ ...

ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้า... ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนมุมมองบทบาท AI ในตลาดทุน — ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไ...

สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ... “สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ฉายภาพประเทศไทย 4 หลังเผชิญวิกฤตการณ์โควิด" — สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ฉายภาพประเทศไทย 4 ระยะหลั...

สถาบันอนาคตไทยศึกษาเปิดผลการศึกษาชิ้นล่าสุดเกี่ยวกับ ข้อตกลง TPP กับประเทศไทย

เหลืออีกไม่ถึง 1 สัปดาห์จะถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สิ่งที่น่าจับตาคือนโยบายของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งหนึ่งในนั้นมีข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP (Trans-Pacific Partnership)...

โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย

สถาบันอนาคตไทยศึกษาเปิดผลการศึกษาชิ้นล่าสุดเรื่อง "โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย" ชี้ปัญหาการศึกษาส่งผลต่อโอกาสของเด็กไทย และยังส่งผลต่ออัตราเติบโตของเศรษฐกิจไทย ถึงปัจจุบัน ประเทศมีต้นทุนเสียโอกาสสะสมแล้ว 11%ของ GDP หรือคิดเป็น 1.5 ล้านล้าน...

สถาบันอนาคตไทยศึกษา จัดงานแถลงผลการศึกษาเรื่อง “10 ข้อเท็จจริงชีวิตคนกรุงเทพ”

ที่ผ่านมา คนมักจะให้ความสำคัญและจับตามองนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตประจำวันของคนนั้นมาจากรัฐบาลท้องถิ่นมากกว่า จึงเป็นที่มาของรายงานชิ้นใหม่ของสถาบันอนาคตไทยศึกษาเรื่อง "10 ข้อ...