Strategic Partner กับบทบาทที่จำเป็นของ HR

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เป็นที่ทราบกันดีว่าการบริหารธุรกิจในปัจจุบันนี้ ไม่ได้เน้นเพียงแค่การแข่งขันด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่กลยุทธ์ด้านบุคลากรก็นับเป็นสิ่งสำคัญต่อการบริหารองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริหารและผู้นำในองค์กรต่างก็ให้ความสำคัญในการบริหาร “คน” เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการพัฒนาพนักงาน สร้างให้พนักงานเกิดความผูกพันต่อองค์กร บริหารองค์กร รวมไปถึงรักษาผู้ที่มีความสามารถไว้ เพื่อสร้างโอกาสการแข่งขันและขับเคลื่อนผลประกอบการทางธุรกิจ
          “นับเป็นทั้งความท้าทายและโอกาสที่สำคัญของเอชอาร์” คุณภานุวัฒน์ กาญจะโนสถ ที่ปรึกษาอาวุโสบริษัทเฮย์กรุ๊ปกล่าว “ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เอชอาร์เป็นหน่วยงานที่ถูกคาดหวังให้ช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ เพราะเอชอาร์เป็นผู้ที่สามารถให้แนวทางและข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญแก่ผู้นำได้ ทั้งในเรื่องการสร้างประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานและองค์กร รวมไปถึงปัจจัยที่ผลักดันผลการปฏิบัติงานของธุรกิจ”
          อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจของ เฮย์กรุ๊ป ผู้นำทางธุรกิจส่วนใหญ่เห็นว่าบทบาทของเอชอาร์ยังไม่ได้เป็นไปตามความคาดหวัง และเอชอาร์ถึงเกือบสองในสามเองก็เห็นด้วยเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเราจะสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นได้อย่างไร
          เฮย์กรุ๊ป ได้เผยถึงกุญแจสำคัญ 6 ประการ ในการสร้างให้เอชอาร์เป็นคู่คิดเชิงกลยุทธ์ตัวจริง (Real Strategic Partner) ขององค์กร โดยไม่เพียงแต่ตอบโจทย์ธุรกิจในวันนี้เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความต้องการในอนาคตด้วย
          1. เข้าใจ สอดรับ และสนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจ
          เพื่อสร้างให้เอชอาร์เป็นคู่คิดและสามารถสร้างคุณค่าให้แก่ผู้บริหารองค์กรได้นั้น เราต้องเข้าใจและสามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์ คน และงานได้ โดยเริ่มจากการตั้งคำถาม เช่น ความต้องการด้านบุคคลากรแบบไหนที่องค์กรต้องการเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ในอีก 5 ปีข้างหน้าได้
          การหาคำตอบของคำถามนี้จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในธุรกิจ และความเข้าใจในผลกระทบของปัจจัยภายนอกต่อความต้องการด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กร รวมทั้งสภาวะทางเศรษฐกิจ กิจกรรมของคู่แข่ง แนวโน้มตลาดและอุตสาหกรรม กฎข้อบังคับต่างๆ และการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ซึ่งเอชอาร์ต้องไม่เพียงแต่เข้าใจเท่านั้น แต่ยังต้องสามารถแปลงความเข้าใจเหล่านั้นเป็นแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคลได้ โดยต้องมุ่งเน้นให้เกิดความเหมาะสมใน 5 มิติ กล่าวคือ มีจำนวนบุคคลากรที่เหมาะสม โดยมีทักษะความรู้ที่ใช่ ในตำแหน่งหน้าที่ที่ตรงกับความสามารถ ในระดับชั้นงานที่ถูกต้อง ภายใต้ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
          2. ทำสิ่งที่ควรทำ
          การจะเป็นคู่คิดด้านกลยุทธ์ขององค์กรนั้น เอชอาร์ต้องเข้าใจและสามารถลำดับความสำคัญของแผนกลยุทธและความต้องการในด้านต่างๆ เพื่อกำหนดแผนการทำงานเพื่อให้รองรับกับความต้องการในระดับต่างๆ ทั้งระดับพื้นฐานและระดับสูง และสามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมุ่งเน้นในเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลกระทบกับธุรกิจสูง และจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นให้สามารถดำเนินการตามแผนงานได้สำเร็จ ทั้งนี้ต้องไม่ลืมที่จะคำนึงถึงความต้องการที่มีความสำคัญในอนาคตด้วย ไม่ใช่ให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีผลกระทบในปัจจุบันเท่านั้น
          3. รู้ว่าจุดไหนต้องแตกต่าง และจุดไหนต้องเป็นมาตรฐาน
          ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาองค์กรพยายามสร้างระบบเอชอาร์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร ซึ่งเห็นได้ชัดว่าไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจได้ แต่นำไปสู่ความสิ้นเปลืองทั้งทางด้านทรัพยากรและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ในปัจจุบันที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ การสร้างความแตกต่างในการระบบและการให้บริการให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น เอชอาร์จำเป็นต้องเข้าใจว่าความยืดหยุ่นในระดับไหนที่สอดคล้องกับที่ต้องการ ทั้งในด้านความแตกต่างทางกลุ่มธุรกิจ ตลาด ภูมิภาค หรือความแตกต่างระหว่างกลุ่มพนักงาน
          หากเอชอาร์สามารถรักษาความยืดหยุ่นภายใต้กรอบที่เหมาะสม รวมถึงเข้าใจประโยชน์จากการสร้างระบบหรือการให้บริการที่มีรูปแบบที่แตกต่าง เราก็จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาองค์กรให้มีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนให้ทันกับสถานการณ์อย่างไม่สิ้นเปลือง
          4. สร้างแผนปฏิบัติงานที่รองรับทั้งปัจจุบันและอนาคต
          การมีรูปแบบการดำเนินงานและโครงสร้างของเอชอาร์ที่เหมาะสมในวันนี้และพร้อมรองรับการขยายตัวของความต้องการในอนาคตนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่เอชอาร์ต้องคำนึงถึงในการสร้างคุณค่าให้กับองค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้เราต้องสามารถแปลงกิจกรรมเอชอาร์ให้เป็นนโยบายและกระบวนการทำงานในรายละเอียด โดยใช้จำนวนและระดับความสามารถของผู้มีความสามารถอย่างเหมาะสม ในโครงสร้างงานและตำแหน่งงานที่เหมาะสม โดยอาศัยข้อมูลและเทคโนโลยีที่เหมาะสม นอกจากนั้นยังต้องมีการกำกับดูแลและการบริหารผลการปฏิบัติงานที่เหมาะสมเพื่อให้มั่นใจว่ารูปแบบการดำเนินงานของเอชอาร์เหมาะสมกับความต้องการในปัจจุบันและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
          5. มุ่งเน้นการนำไปปฏิบัติอย่างยั่งยืน
          โจทย์ที่ยากของเอชอาร์อย่างหนึ่งคือการสร้างหรือการออกแบบระบบเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจที่มีความหลากหลาย ซึ่งความสำคัญไม่ใช่เพียงแค่การออกแบบเท่านั้น แต่คือการนำระบบไปดำเนินงานอย่างยั่งยืน การสร้างการรับรู้และการยอมรับและในความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความคล่องตัวและความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ ทั้งนี้การดำเนินงานอย่างยั่งยืนและการสร้างความยอมรับในการเปลี่ยนแปลงนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงความต้องการในวันข้างหน้าโดยต้องออกแบบให้รองรับอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบระบบหรือกระบวนการย่อย หรือระบบที่เชื่อมโยงกันทั้งองค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ
          6. เพิ่มขีดความสามารถของเอชอาร์
          ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งสำคัญสำหรับการเป็นคู่คิดเชิงกลยุทธ์ของเอชอาร์ ที่เหมาะสมกับทั้งปัจจุบันและอนาคต คือการสร้างทีมเอชอาร์ที่มีความมั่นใจ มีความสามารถ และคล่องแคล่ว หากเอชอาร์สามารถพัฒนาทีมของตนให้มีทักษะที่มีความจำเป็นเพื่อให้ทีมสามารถเข้าใจสภาพแวดล้อมธุรกิจ สามารถแปลงกลยุทธ์องค์กรเป็นให้เป็นแผนทรัพยากรมนุษย์ตามความต้องการองค์กร และสามารถสนับสนุนองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ฝ่ายเอชอาร์ก็จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านกลยุทธ์ให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างแน่นอน
          “สิ่งสำคัญที่สุดที่สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงบทบาทเอชอาร์ให้กลายเป็น Strategic partner ได้นั้นคือการเปลี่ยนวิธีคิดและทัศนะคติของคนให้เปิดกว้าง และยอมรับความคาดหวังที่เปลี่ยนไป นอกจากนั้นยังต้องมีการวางแผนพัฒนาบุคคลากรเพื่อพัฒนาคนเอชอาร์ให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความคาดหวังขององค์กร โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจในธุรกิจขององค์กรเพื่อสร้างให้เอชอาร์มีความมั่นใจในการพูดคุย ให้คำปรึกษา และเป็น Strategic partner ให้กับองค์กร ขณะเดียวกันองค์กรก็สามารถเชื่อมั่นได้ว่าเราสามารถสร้างความสำเร็จให้ตรงกับความคาดหวังขององค์กรได้เช่นกัน” คุณภานุวัฒน์กล่าวเพิ่มเติม

Strategic Partner กับบทบาทที่จำเป็นของ HR

ข่าวผลประกอบการ+ด้านบุคลากรวันนี้

Yili กวาดรายได้ปีงบการเงิน 2567 เกือบ 115,800 ล้านหยวน ตอกย้ำสถานะบริษัทนมชั้นนำของเอเชีย

Yili Industrial Group Co., Ltd. เมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา บริษัท Inner Mongolia Yili Industrial Group Co., Ltd. (600887.SH) ได้รายงานผลประกอบการทางการเงิน ด้วยตัวเลขรายได้รวม 115,780 ล้านหยวนในปีงบการเงิน 2567 ตอกย้ำสถานะบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมชั้นนำของเอเชีย นอกจากนี้ ในไตรมาสแรกของปีงบการเงิน 2568 Yili ยังมีผลประกอบการเติบโตมากเกินคาด โดยรายได้และกำไรสุทธิต่างก็เพิ่มขึ้น แม้จะเผชิญกับสภาพตลาดที่ท้าทายก็ตาม ในปีงบการเงิน 2567Yili เสนอจ่ายเงินปันผล 7,726 ล้านหยวน ซึ่งคิดเป็นอัตราการจ่าย

มร. โรเบิร์ต โดบริค ประธานเจ้าหน้าที่บริห... SPRC รายงานผลประกอบการทางการเงินเป็นบวกในไตรมาสที่ 1 ปี 2568 — มร. โรเบิร์ต โดบริค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำ...

นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์ (ที่ 4 จากซ้าย) ประ... FPI ฉลุย! ผถห.อนุมัติปันผลอีก 0.04 บ./หุ้น รวมปี 67 จ่าย 0.08 บ./หุ้น — นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์ (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วยคณะกรรมการแ...

บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาช... "โฮมโปร-HMPRO" Q1/68 กวาดรายได้ 18,654.46 ล้านบาท ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ยังท้าทาย — บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ "โฮมโปร" รายงานผลประ...