ญี่ปุ่นชี้การเมืองไม่สงบฉุดบรรยากาศการลงทุน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          2 กลุ่มอุตสาหกรรมใหญ่รับ หนี้เสีย ทุจริต และค่าแรงงานสูงยังเป็นจุดอ่อน
          เผยเตรียมพร้อมรับ AEC โดยยังมองไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการขยายธุรกิจ

          นายสุภศักดิ์ กฤษณามระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด (ดีลอยท์ ประเทศไทย) กล่าวว่า จากการเดินทางพบปะนักลงทุนชาวญี่ปุ่นในสองกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ คือ กลุ่มอุตสาหกรรมการเงิน และกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต พบว่านักลงทุนญี่ปุ่นมองว่าประเทศไทย ยังเป็นประเทศที่น่าสนใจลงทุนเนื่องจากมีปัจจัยเกื้อหนุนหลายด้าน อีกทั้งญี่ปุ่นมีการลงทุนในประเทศไทยมายาวนาน มีการสร้างฐานลูกค้าขนาดใหญ่และขยายกำลังการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ได้กำหนดให้ไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับว่า สถานการณ์การเมืองของไทยที่ยังคงหาข้อสรุปไม่ได้และมีแนวโน้มยืดเยื้อในขณะนี้ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ฉุด
ความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนเพิ่มของนักลงทุนญี่ปุ่น 
          “นักลงทุนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยอมรับว่ามีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาด้านเสถียรภาพของรัฐบาล และสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองไทยที่มีแนวโน้มยืดเยื้อบานปลาย ซึ่งเราก็ได้มีการประเมินสถานการณ์ตามความเหมาะสม และแจ้งลูกค้าถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นระยะๆ” นายสุภศักดิ์ กล่าว
          ทั้งนี้ สำหรับภาคการเงิน นอกจากนักลงทุนจะกังวลในเรื่องสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองแล้ว ยังมีความเป็นห่วงเรื่องการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในประเทศจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ผลกระทบในเชิงลบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ และโครงสร้างผู้บริหาร กระบวนการทางราชการ รวมถึงบทบาทของคณะ กรรมการตรวจสอบ ในขณะที่จุดแข็งของภาคการเงินไทย คือ การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมหนี้เสียได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ นักลงทุนมองว่าขนาดและมูลค่าของตลาดการเงินไทยมีความน่าสนใจ และเห็นโอกาสการลงทุนในตลาดการเงินและการเจริญเติบโตของตลาดนี้ในอนาคต
          สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน นักลงทุนญี่ปุ่นมีการขยายกำลังการผลิตในไทยมาโดยตลอด โดยมองว่า จุดแข็งของไทยคือกำลังซื้อภายในประเทศที่แข็งแกร่ง และการเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนที่มีศักยภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนจุดอ่อนที่สำคัญยังคงเป็นเรื่องความไม่มั่นคงทางการเมือง การบริหารสินค้าคงคลัง การตรวจสอบภายใน และปัญหาการทุจริตฉ้อฉล
          ทั้งนี้ นอกจากสองภาคอุตสาหกรรมหลักที่ได้กล่าวไปแล้ว จากการพูดคุย พบว่ามีอีกหลายภาคธุรกิจที่สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เช่น ธุรกิจค้าปลีก, การเงิน, อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ช, พลังงาน รวมถึงภาคการบริการอื่น อย่างไรก็ตาม จุดอ่อน จุดแข็งต่างๆ รวมถึงสถานการณ์ปัจจุบันของไทย ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนนำมาพิจารณา 
          สำหรับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC นั้น นายสุภศักดิ์เล่าว่า นักลงทุน ญี่ปุ่นมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการทำธุรกิจเป็นอย่างมาก โดยในฐานะที่ปรึกษาทางธุรกิจ ดีลอยท์ได้มีการอัพเดทสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศไทยและประเทศสมาชิก AEC และกฎหมายที่สำคัญ ให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงข้อมูลความเสี่ยงในด้านต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นและหนทางการแก้ปัญหา
          นอกจากนี้ ดีลอยท์ยังมีหน่วยงาน Japanese Service Group (JSG) ที่มีผู้บริหารและทีมงานเป็นชาวญี่ปุ่น เพื่อสร้างการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและความมั่นใจให้กับลูกค้าญี่ปุ่นโดยเฉพาะ มีการทำงานที่ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มุ่งเป้าไปที่ลูกค้าญี่ปุ่นของบริษัทและกลุ่มลูกค้าธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความเหมาะสมในการได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จาก BOI เช่น Regional Operating Headquarter (ROH) และเพื่อเพิ่มโอกาสการลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นในอนาคต 
          “เรามีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ ดีลอยท์ประเทศญี่ปุ่น และ ดีลอยท์เซ้าท์อีสต์เอเชีย เพื่อให้ มั่นใจว่าการบริการของเราได้สอดประสานไปในทิศทางเดียวกับลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้าที่มีสำนักงานใหญ่ในญี่ปุ่นและมีบริษัทลูกในประเทศไทยรวมถึงในหลายประเทศในภาคพื้นเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ นอกจากนี้เรายังร่วมมือกับลูกค้าและทีมการตลาดในการหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และนำเสนอแผนปฏิบัติการเพื่อนำมาซึ่งโอกาสที่เป็นไปได้อยู่เสมอ” นายสุภศักดิ์กล่าวสรุป

ข่าวดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ+ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุวันนี้

SME D Bank ร่วมเปิดโครงการปั้น SMEs - Startup ก้าวสู่ตลาดทุนไทย เดินหน้าพันธกิจด้านงานพัฒนาส่งเสริมผู้ประกอบการเติบโตเข้มแข็งยั่งยืน

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดยนายโมกุล โปษยะพิสิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยผู้บริหาร เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ "Acceleration Program Road to LiVE เส้นทางเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาดทุน" ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง SME D Bank บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี จำกัด หรือ "ดีลอยท์ ไทยแลนด์" ภายใต้การสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) หรือ SET และ LiVE Platform คัดเลือกผู้ประกอบการ SMEs และ Start up ที่มีศักยภาพ และต้องการเติบ

นายชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริห... เคทีซีเปิดเวทีเสวนา “KTC FIT Talks 6 “เจาะลึก..อะไรจะเกิดขึ้น? เมื่อมาตรฐาน TFRS9 เข้ามา” — นายชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส – คอร์ปอเรท ...

ดีลอยท์แนะผู้นำเข้าเสียภาษีโปร่งใส ชวนสมัครใจร่วมตรวจสอบตนเอง

ดีลอยท์แนะผู้ประกอบการนำเข้าไทยเข้าร่วมโครงการของศุลกากรตรวจสอบตนเองด้วยความสมัครใจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นทางธุรกิจให้ถูกต้องโปร่งใส เร่งปรับธุรกรรมนำเข้าส่งออกภายใน ให้สอดคล้องกับเกณฑ์การเปิดรับ ก่อนวันสุดท้ายของการเปิดรับ 31 ธ.ค.ปีนี้...

เขียนโดย ดร.สหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล (รองผู... ประเทศไทยและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในมุมมองของภาคธุรกิจ — เขียนโดย ดร.สหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล (รองผู้อำนวยการ) และ ดร.วีระชัย วิวัฒน์ชาญกิจ (ที่ปรึกษาอาวุโ...

ภาพข่าว: เคทีซีจับมือดีลอยท์ ทู้ชฯ จัดสัมมนาพิเศษติดอาวุธสื่อ KTC 501: แนวโน้มและทิศทางมาตรฐานการรายงานทางการเงินของประเทศไทย

นายชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส – คอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ “เคทีซี” หรือบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ นายชวาลา เทียนประเสริฐกิจ หุ้นส่วนด้านการสอบบัญชี...

บทความเรื่อง "โอกาสและความท้าทายของภาคการผลิตไทย" โดย ดีลอยท์ ประเทศไทย

โอกาสและความท้าทายของภาคการผลิตไทย โดย ดร.สหนนท์ ตั้งเบ็ญจสิริกุล บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด (ดีลอยท์ ประเทศไทย) เป็นที่ทราบกันดีว่า ภาคการผลิตมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ และสร้าง ความมั่งคั่ง...

Gossip News: WORLD โชว์งบการเงินโปร่งใส...

มาแล้วๆๆๆ เจอกันแน่ปลายเดือนนี้...ได้เวลาแล้วที่ บมจ.เวิลด์ คอร์ปอเรชั่น (WORLD) จะประกาศผลประกอบการทั้งปีของปี 56/57 หลังจากที่ได้เรียกใช้บริการของ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ ที่ปรึกษา จำกัด ที่ดำเนินการตรวจสอบระบบทางบัญชีกันแบบละ...