อนันตนาคราช ความภาคภูมิใจ นศ.ศิลปกรรม คว้ารางวัลระดับโลก

15 Jan 2014
อนันตนาคราช” ผลงานสุดเจ๋งของเด็กไทยคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันแกะสลักน้ำแข็งจากหิมะระดับโลก ในงานเทศกาลหิมะน้ำแข็งนานาชาติ ประจำปี 2557 "6 th International Collegiate Snow Sculpture Contest 2014” ณ มหาวิทยาลัยวิศวกรรมฮาร์บิน เมืองฮารบิน สาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วย “อั๋น” นายจักรกฤษ ผิวจันทร์ “บีม” นายไพบูลย์ งามวงษ์ “โอ๊ด” นายศุภชัย ทานะเวช นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ (อาทร์) นายสาธิต กระเทศ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาประติมากรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี โดยมีทีมทั้ง 61 ทีมจาก 13 ประเทศเข้าแข่งขัน ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมา คว้ารางวัลชนะเลิศ First Prize จากการแข่งขัน in the Fifth 2013 International Collegiate Snow sculpture Contest ณ มหาวิทยาลัยวิศวกรรมฮาร์บิน

เมืองฮารบิน สาธารณรัฐประชาชนจีน

อั๋น เล่าว่า จากโจทย์ในการแข่งขันให้ขนาดของหิมะมาสูง 3.5 เมตร กว้าง 3 เมตร เป็นก้อนสี่เหลี่ยม ในทีมและอาจารย์จึงได้ออกแบบเป็นผลงานชื่อ “อนันตนาคราช” ความเป็นมาคือ อนันตนาคราชพระยานาคสามเศียรสง่างามดุจดังเทพบุตรผู้ซึ่งปกครองท้องทะเล มีลำตัวที่ยาวเหมือนคลื่นในท้องสมุทรอันกว้างใหญ่แสดงถึงพลังที่แข็งแรงและในทางตรงกันข้ามก็นิ่มนวล อนันตนาคราชเป็นสัญลักษณ์ของพลังและความสมบูรณ์ของประเทศไทย เป็นหนึ่งในสิบสองนักสัตว์ ลักษณะงานเป็นนาคราช 3 เศียร โดนใช้เทคนิคพิเศษต่อเติมหิมะขึ้นไป 6.99 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นผลงานที่สูงที่สุดในการแข่งขันในครั้งนี้ โดยเป็นประติมากรรมเน้นความเป็นไทยผสมผสานสากล แสดงถึงความมีพลัง การเคลื่อนไหวของพญานาคราช เก็บลายละเอียดด้วยลายกนก

อาท เล่าว่า รับผิดชอบในส่วนคิดแบบของลวดลาย และแกะตามแบบของลวดลายที่ได้คิด ยกตัวอย่าง ใส่ลายกนกของหัวนาคแกะลายกนกหางไหล อุปสรรคในการทำงานครั้งนี้ ลายกนกมีความซับซ่อน และต้องมีการต่อก้อนหิมะ ต้องทำงานแข่งกับการละลายของหิมะ ที่สำคัญพื้นที่ในการทำงานน้อย เพราะว่า หัวนาคราชสูงขึ้นไปจากพื้นมาก ต้องใช้บันไดต่อขึ้นไปแกะถึง 2 ชั้น “กลัวความสูง และยังต้องกังวลการแตกหักของหิมะ”

โอ๊ต เล่าว่า รับผิดชอบในการตัดต่อหิมะ ต้องเสี่ยงกับความสูง โดยในการตัดต่อต้องอาศัยเทคนิคพิเศษที่ได้เรียนมาใช้ “ต้องถอดถุงมือเพื่อต่อน้ำกับหิมะ และใช้น้ำเป็นตัวเชื่อม ต้องจับและใช้เวลาค่อยข้างนานให้ติด” เครื่องมือที่ใช้เป็นเครื่องมือพิเศษที่เตรียมและดัดแปลงเอง เช่น ในการตัดหิมะ ทะลายหิมะ ต้องอาศัยเครื่องมือที่แข็งแรง โดยเครื่องมือดังกล่าวสร้างความประหลาดใจให้กับเพื่อนต่างชาติที่เข้ามาแข่งขัน

บีม เล่าว่า รับผิดชอบในส่วนของการเก็บลายละเอียดลำตัว เนื่องจากในช่วงของลำตัวนาคราช แสดงถึงการเคลื่อนไหว ต้องมีความกลมกลืน เพื่อเป็นการโชว์ผลงาน ต้องการให้แสงตกมากระทบ แล้วสะท้อน พยายามเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุด ซึ่งก่อนที่จะลงมือแกะได้มีการวางแผนในทีมว่าจะให้ผลงานที่ออกมามีลักษณะเด่นอย่างไร แสงเป็นอีกองค์ประกอบที่เมื่อกระทบกับหิมะจะทำให้ผลงานดูโดดเด่น ขอบคุณทางผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี รวมถึง ผศ.ดร.ไชยพจน์ หวลมานพ ผศ.นฤพนธ์ บูรณะบัญญัติ อาจารย์ดิษฐวัฒน์ อินนุพัฒน์ อาจารย์ทรงศักดิ์ นามโพธิ์ และอาจารย์นันทวรรณ หวลมานพ ที่ปรึกษาและให้คำแนะนำระหว่างการแข่งขัน และต้องขอขอบคุณทีมงานน้องคณะศิลปกรรมทุกคน ที่ได้ช่วยกันก่อบล็อกดินเหนียวผสมทรายผสมปูนปลาสเตอร์ เพื่อให้ทีมซ้อมแกะ ก่อนไปทำการแข่งขัน อั๋น หัวหน้าทีมกล่าวทิ้งท้าย

ชลธิชา ศรีอุบล

กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี 0-2549-4994