สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ให้ความรู้ ไข้หวัด-ไข้หวัดใหญ่

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ไข้หวัดจัดเป็นการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนต้นที่พบได้บ่อย จากการสำรวจจากประเทศสหรัฐอเมริกามีรายงานผู้ป่วยเป็นไข้หวัดต้องได้รับการรักษามากกว่าหนึ่งพันล้านครั้งต่อปี ในประเทศไทยยังไม่มีการรายงานตัวเลขอย่างเป็นทางการแต่เป็นที่ทราบกันดีถึงความชุกของโรคไข้หวัดในบ้านเรา ไข้หวัดพบได้บ่อยกว่าในเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานรับเลี้ยงเด็ก
          ไข้หวัดคืออะไร และทำไมเราจึงติดไข้หวัด?
          ไข้หวัดส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายได้จากการไอและจาม แต่การติดต่อที่สำคัญที่สุดคือการสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งจากจมูก ปาก และดวงตาหลังจากสัมผัสกับบุคคลที่เป็นโรค และความเข้าใจที่ว่าเราอาจป่วยเป็นไข้หวัดได้จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงทั้งร้อนและเย็นเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอาการโดยทั่วไปของไข้หวัดมักจะเกิดขึ้น 2-3 วันหลังจากการรับเชื้อ โดยผู้ป่วยจะมีน้ำมูกไหล แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก จาม ระคายคอ อ่อนเพลีย มีไข้ต่ำ ๆ หรือไอแห้ง ๆ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการดังกล่าวได้นานถึง 1-2 สัปดาห์ในบางกรณี ในบางคนที่มีอาการนานกว่า1-2 สัปดาห์ท่านอาจมีภาวะภูมิแพ้ร่วมด้วยหรืออาจเป็นภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดซึ่งควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจเพิ่มเติม แต่หากท่านมีอาการไข้สูง หายใจลำบากร่วมกับผื่นหรืออ่อนเพลียมาก ควรพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ เนื่องจากอาจเป็นอาการนำของไข้หวัดใหญ่หรือการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่น ๆ การรักษาไข้หวัดทำได้โดยการรักษาประคับประคองตามอาการโดยไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
ไข้หวัดใหญ่คืออะไร ?
          ไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่มี 3 สายพันธุ์ใหญ่ ๆ คือสายพันธุ์ เอ บีและซี กระทรวงสาธารณสุขเผยสถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ปีนี้น่าเป็นห่วง คาดจำนวนผู้ป่วยจะมากกว่าปีพ.ศ. 2556 เชื้อต้นเหตุคือสายพันธุ์เอ เอช 1 เอ็น 1 หรือ 2009 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 - 22 มีนาคม 2557 พบผู้ป่วยทั่วประเทศ 23,899 ราย เสียชีวิต 24 ราย กลุ่มอายุที่พบป่วยมากที่สุดคือ เด็กและเยาวชน จังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ ลำปาง เชียงใหม่ ระยอง อุตรดิตถ์ และพะเยา การแพร่กระจายของไข้หวัดใหญ่ไม่แตกต่างจากไข้หวัดทั่วไป ช่วงเวลาที่พบการระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูหนาว แต่สถานการณ์ของปีนี้ยังมีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ใหม่อยู่อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะพ้นฤดูหนาวไปแล้วก็ตาม ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องเช่นรับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยโรคปอดและหัวใจเรื้อรัง หรือผู้สูงอายุโดยเฉพาะที่อายุมากกว่า 65 ปี มีโอกาสเกิดโรครุนแรงกว่าผู้ป่วยรายอื่น ผู้ป่วยที่มีอาการไข้สูง อ่อนเพลียมาก ปวดกล้ามเนื้อรุนแรง หรือมีอาการดังที่ได้แสดงในตารางที่ 1 แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำถึงการรักษา และในบางกรณีแพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้ยาต้านไวรัสร่วมด้วย 
          เราจะป้องกันการติดไข้หวัดใหญ่ได้อย่างไร?
          การติดต่อของเชื้อไข้หวัดใหญ่สามารถพบได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนจะเริ่มมีอาการจนถึง 5 วันหลังจากเริ่มป่วย ผู้ที่กำลังป่วยแนะนำให้หยุดพักงาน หมั่นล้างมือ คาดหน้ากากป้องกันเชื้อแพร่สู่คนอื่น ส่วนประชาชนทั่วไปให้ป้องกัน โดยล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ รับประทานอาหารปรุงสุกและใช้ช้อนกลางกินอาหารร่วมวงกับคนอื่น
          การป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนจะถูกผลิตใหม่ทุกปีเนื่องจากไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองตลอดเวลาในแต่ละปี ในปัจจุบันแนะนำผู้ที่มีภูมิต้านทานบกพร่อง มีโรคประจำตัวเช่นโรคปอดเรื้อรังหรือโรคหัวใจควรรับวัคซีนในทุกปี ส่วนบุคคลทั่วไปที่ต้องการรับบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อลดการป่วยและความรุนแรงของโรคในกรณีที่จะเดินทางไปในบริเวณที่มีการแพร่กระจายของโรคอยู่ก็สามารถขอรับบริการได้ที่สถานพยาบาลภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ ก่อนการเดินทางอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ทันก่อนเดินทาง ผลข้างเคียงของวัคซีนมักจะไม่รุนแรงเช่น มีอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดวัคซีน ไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อใน 1-2 วันหลังจากการฉีดวัคซีน ส่วนยาต้านเชื้อไวรัสอาจพิจารณาโดยแพทย์โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง

ข่าวสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย+สมาคมโรคติดเชื้อวันนี้

ม.มหิดล ตอบข้อสงสัย Amoxicillin สามารถใช้รักษา COVID-19 ได้หรือไม่

วิกฤติ COVID-19 ที่รุมเร้า ทำให้ทุกคนมุ่งแสวงหาหนทางรอดจากการติดเชื้อที่กำลังแพร่ระบาดดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกออนไลน์ที่มักพบว่าประชาชนมักส่งต่อข้อมูลที่แชร์ต่อกันมาจนบางครั้งส่งผลกระทบต่อสุขภาพในมิติต่างๆ ล่าสุดต่อข้อสงสัยในประเด็นที่ว่า "ยาปฏิชีวนะ Amoxicillin ใช้รักษา COVID-19 ได้หรือไม่" นั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์กำธร มาลาธรรม รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และนายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ได้ออกมาไขข้อข้องใจประชาชน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งป... ภาพข่าว: รวมสมอง ร่วมใจ “สู้ภัย COVID-19” — เมื่อเร็ว ๆ นี้ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคม...

ศ.นพ.สมชาย เอี่ยมอ่อง ประธานราชวิทยาลัยอา... ภาพข่าว: ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ จัดแถลงข่าว ปอดบวมจากอู่ฮั่น: ประเทศไทยจุดไหน “ใช่พอดี” — ศ.นพ.สมชาย เอี่ยมอ่อง ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย (...

โดย ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล กรรมการ... ข้อต้องระวังหากจะใช้ยาโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ รักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 — โดย ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล กรรมการ ราชวิทยาลัยอายุร...

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยร่วมกับ... ปอดบวมจากอู่ฮั่น: ประเทศไทยจุดไหน “ใช่พอดี” — ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย เผยการระบาดของโรคไวรัสโคโรน่...

ประชุมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งเอเชีย ปี 2016... ภาพข่าว: ประชุมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งเอเชีย ปี 2016 ครั้งที่ 8 — ประชุมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งเอเชีย ปี 2016 ครั้งที่ 8 : จากซ้ายไปขวา ศ.นพ.ธีรพงษ์ ตัณฑวิเชี...

อันตรายอุจจาระร่วง... บ่งบอกสาเหตุภาวะแทรกซ้อน

หลาย ๆ คน คงเคยเกิดอาการอุจจาระร่วงกันบ้าง ซึ่งเชื่อว่าเกือบทุกคนคงเคยมีอาการนี้มาก่อน บางคนอาจคิดว่าไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่ความจริงแล้วอาการอุจจาระร่วงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ไตวายหรือถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะใน...

ไข้เดงกีและไข้เลือดออก… มหันตภัยโรคร้ายในช่วงฤดูฝน

ศ.นพ.ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ประเทศไทย หน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ไข้เดงกี (dengue fever) และไข้เลือดออก (dengue hemorrhage fever) ...

มูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน ร่วมกับกรมควบคุมโรค จัดงาน “คุณค่าของวัคซีนเพื่อประชาชน…วัคซีนเสริมรัก สร้างรอยยิ้ม” และการเปิดตัว “แอพพลิเคชั่นสมุดวัคซีนบนมือถือ” ครั้งแรกในประเทศไทย

มูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน ร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยการสนับสนุนจากองค์กรแพทย์ต่างๆ อาทิ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์...