ข้อต้องระวังหากจะใช้ยาโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ รักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          โดย ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล กรรมการ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เลขาธิการ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยและสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 
          จากความร่วมมือของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยและสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย ขอแนะนำข้อต้องระวังหากจะใช้ยาโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์รักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยยาโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ (LPV/r) เป็นยาต้านไวรัส ที่ได้รับรองให้ใช้รักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2543 ใช้ร่วมกับยาต้านเอชไอวีอีก 1-2 ชนิดในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่ในปัจจุบันมีการใช้น้อยลงเนื่องจากเป็นยาที่มีผลข้างเคียงมาก ที่พบบ่อยคือ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย ผลข้างเคียงอื่นที่อาจพบได้คือ ตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ผื่น ไขมันในเลือดสูง และมีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ นอกจากนี้การรับประทานในระยะยาวมีความสัมพันธ์กับการเกิดเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจและภาวะไตวายเรื้อรัง
          มีหลักฐานว่า LPV/r มีฤทธิ์ต่อไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดโรคซาร์สในหลอดทดลอง และมีข้อมูลในสัตว์ทดลองว่าใช้รักษาลิงที่เป็นโรคซาร์สได้ผล ทั้งมีการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยที่เป็นโรคซาร์สแบบรุนแรงพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ LPV/r ตั้งแต่แรกมีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ยาหรือได้ยาช้า เนื่องจากข้อจำกัดของกระบวนการศึกษาวิจัยในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า LPV/r ได้ผลในรักษาการติดเชื้อติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ขณะนี้กำลังมีการทำการศึกษาในประเทศจีนประมาณว่าจะมีข้อสรุปเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ LPV/r ในการรักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในอีกประมาณ 6 เดือน
          ถ้าจะมีการนำยานี้มาใช้รักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 สิ่งที่แพทย์ ผู้ป่วยและญาติต้องทราบและพึงระวังคือ
          - LPV/r เป็นยาควบคุม ไม่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป ต้องสั่งโดยแพทย์เท่านั้น 
          - ในปัจจุบัน ยาได้รับการรับรองสำหรับเป็นหนึ่งในสูตรยาเฉพาะการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีเท่านั้น ยังไม่มีการรับรองให้ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่น 
          - ควรมีการตรวจว่ามีการติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ในผู้ป่วยที่จะใช้ยา หากมีการติดเชื้อเอชไอวีอยู่ก่อน การได้รับยา LPV/r เพียงตัวเดียว ก่อให้เกิดเชื้อเอชไอวีดื้อยาได้ เนื่องจากได้รับยาเพียงชนิดเดียวไม่เพียงพอในการยับยั้งเชื้อเอชไอวี
          - มีข้อห้ามในการใช้ คือ ผู้ที่ความบกพร่องของตับอย่างรุนแรง 
          - และที่สำคัญคือ การมีปฏิกิริยาระหว่าง LPV/r กับยาทั่วไปที่อาจพบได้บ่อยและมีผลร้ายแรง
ยาที่ห้ามใช้ร่วมกันเด็ดขาดคือ ยาลดไขมันชนิดซิมวาสแตตินและยากลุ่มเออร์กอตที่รักษาไมเกรน 
          การให้ LPV/r ร่วมกับซิมวาสแตติน ทำให้ระดับยาซิมวาสแตตินสูงขึ้น เกิดภาวะการสลายตัวของกล้ามเนื้อลาย อาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อ พบเอนไซม์กล้ามเนื้อสูง อาจรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ส่วนการให้ LPV/r ร่วมกับยากลุ่มเออร์กอต ทำให้ระดับยากลุ่มเออร์กอตสูงขึ้น ทำให้หลอดเลือดส่วนปลาย เช่น แขนหรือขา หดตัวอย่างรุนแรง เกิดภาวะการขาดเลือดปลายนิ้วมือเท้าเขียวคล้ำเนื้อเน่าตาย จนอาจต้องตัดนิ้วหรือถึงแก่กรรม ถ้าเป็นที่สมองทำให้ชักหรืออัมพาตหรือไม่รู้สึกตัวได้
          ฉะนั้นหากจะมีการใช้ LPV/r เพื่อรักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 แพทย์ ผู้ป่วยและญาติต้องรับทราบและมีความรู้เกี่ยวกับประสิทธิภาพการรักษาและอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้

ข้อต้องระวังหากจะใช้ยาโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ รักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
 
ข้อต้องระวังหากจะใช้ยาโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ รักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

ข่าวราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย+สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยวันนี้

ภาพข่าว: รวมสมอง ร่วมใจ “สู้ภัย COVID-19”

เมื่อเร็ว ๆ นี้ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย มีความเป็นห่วงผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิดไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก จึงได้จัดงานแถลงข่าว รวมสมอง ร่วมใจ “สู้ภัย COVID-19” นำโดย ศ.นพ.สมชาย เอี่ยมอ่อง ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล, พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ , รศ.นพ.นิธิพัฒน์

ศ.นพ.สมชาย เอี่ยมอ่อง ประธานราชวิทยาลัยอา... ภาพข่าว: ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ จัดแถลงข่าว ปอดบวมจากอู่ฮั่น: ประเทศไทยจุดไหน “ใช่พอดี” — ศ.นพ.สมชาย เอี่ยมอ่อง ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย (...

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยร่วมกับ... ปอดบวมจากอู่ฮั่น: ประเทศไทยจุดไหน “ใช่พอดี” — ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย เผยการระบาดของโรคไวรัสโคโรน่...

อันตรายอุจจาระร่วง... บ่งบอกสาเหตุภาวะแทรกซ้อน

หลาย ๆ คน คงเคยเกิดอาการอุจจาระร่วงกันบ้าง ซึ่งเชื่อว่าเกือบทุกคนคงเคยมีอาการนี้มาก่อน บางคนอาจคิดว่าไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่ความจริงแล้วอาการอุจจาระร่วงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ไตวายหรือถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะใน...

มูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน ร่วมกับกรมควบคุมโรค จัดงาน “คุณค่าของวัคซีนเพื่อประชาชน…วัคซีนเสริมรัก สร้างรอยยิ้ม” และการเปิดตัว “แอพพลิเคชั่นสมุดวัคซีนบนมือถือ” ครั้งแรกในประเทศไทย

มูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน ร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยการสนับสนุนจากองค์กรแพทย์ต่างๆ อาทิ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์...

นายเฉลิมพล สมาคม (ที่4 ทางซ้าย) ผู้จัดการ... บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) รับรางวัล Healthy Organization Award — นายเฉลิมพล สมาคม (ที่4 ทางซ้าย) ผู้จัดการทั่วไปสายงานสนับสนุนการผลิต บริษัท ไท...

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับภาคี... สมาคมโรคเบาหวานฯ จัดงานมหกรรมสุขภาพ วันเบาหวานโลก 2566 ชูแคมเปญ "รู้ว่าเสี่ยง รู้แล้วต้องเปลี่ยน" — สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับภาคีเครือข่ายคนไท...

ว่าที่ร้อยตรีจิรชัย สาฤาษี ผู้จัดการทั่วไ... บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี รับรางวัล Healthy Organization Award ประจำปี — ว่าที่ร้อยตรีจิรชัย สาฤาษี ผู้จัดการทั่วไปสายงานสนับสนุนการผลิต บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี ...

โรงพยาบาลลานนา รับการตรวจรับรองมาตรฐานห้อ... โรงพยาบาลลานนา รับการตรวจรับรองมาตรฐานห้องไต — โรงพยาบาลลานนา รับการตรวจรับรองมาตรฐานห้องไต.นพ.ศุภชัย สินไตรรัตน์ กรรมการบริหาร โรงพยาบาลลานนา และ พญ...