วันที่ 1 กรกฎาคม 2557 ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย – มร.เธียรี่ วีโต เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เป็นผู้แทน มร.เบอนัวต์ อามงต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ การอุดมศึกษา และการวิจัย มอบอิสริยาภรณ์ Palmes Academique ชั้น Officier แด่ ผศ.วุฒิพงศ์ เตชะดำรงสิน รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีและคุณูปการที่ได้ทำเพื่อวงการวิจัยและความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศฝรั่งเศสและไทย โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ศ. ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย รศ. ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนการวิจัย ศ. นพ.วิจารณ์ พานิช กรรมการกำกับทิศทางโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ศ. ดร.อมเรศ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการ คปก. รศ. ดร.ปาริฉัตร หงสประภาส ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านจัดการทุนเครือข่ายวิจัยนานาชาติ นายดอน ปรมัตถ์วินัย อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันดีซี และนักเรียนทุนรัฐบาลฝรั่งเศส ร่วมแสดงความยินดี
ผศ.วุฒิพงศ์สำเร็จการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ทันทีที่กลับมาประเทศไทยได้ทำงานที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยสอนหนังสือและรับผิดชอบหลากหลายหน้าที่ตลอดระยะเวลา 16 ปี ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญในการพัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย จากนั้นในปี พ.ศ. 2538 ได้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ สกว. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุนโครงการวิจัยในประเทศไทย ด้วยวิสัยทัศน์และความชื่นชอบในงานวิจัยของ ผศ.วุฒิพงศ์ จึงช่วยสร้างเสริมวงการวิจัยของประเทศไทย ปัจจุบันวงการนี้เจริญก้าวหน้าไปอย่างมากโดยมี ผศ.วุฒิพงศ์รับบทบาทเป็นผู้ขับเคลื่อนคนสำคัญ
สำหรับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทย เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้จากแรงผลักดันของ ผศ.วุฒิพงศ์ นับตั้งแต่การเดินทางไปดูงานที่ประเทศฝรั่งเศสครั้งแรก อันเกิดจากการสนับสนุนของสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ซึ่ง ผศ.วุฒิพงศ์ได้สร้างสายสัมพันธ์อันแข็งแกร่งระหว่างหน่วยงานวิจัยของทั้งสองประเทศ นำมาซึ่งการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สกว. และ CNRS ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ในเวลาไม่นานต่อมานับแต่นั้นสายสัมพันธ์ด้านการวิจัยระหว่างสองประเทศนับวันจะยิ่งแน่นแฟ้นและยืนยงที่ ผศ.วุฒิพงศ์มีส่วนในการผลักดันให้เกิดกิจกรรมความร่วมมือจำนวนมาก ผ่านการจัดสัมมนาวิชาการ และการร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาเอกนับร้อยทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันและสร้างคุณประโยชน์ในฐานะกรรมการพิจารณาตัดสินทุนของสถานทูต ซึ่ง ผศ.วุฒิพงศ์ได้ใช้ประสบการณ์และการวิเคราะห์ อันเป็นกุญแจหนึ่งที่สำคัญที่นำมาให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ยังมีส่วนผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสถาบัน Ecole d’architecture de Bordeaux ตลอดจนการเดินทางไปดูงานที่ประเทศฝรั่งเศสครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นโอกาสดีในการรับทราบข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการวิจัยในประเทศฝรั่งเศส และเชื่อมั่นว่าจะนำประสบการณ์ที่ได้รับไปสร้างความร่วมมือใหม่ ๆ ต่อไปในอนาคต
รศ. ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโลยีพระจอมเกล้า เปิดเผยถึงการนำผลงานวิจัยมาร่วมจัดแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 ในฐานะหัวหน้าโครงการพัฒนาข้อมูลดิจิทัล 3 มิติ เพื่อการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษามรดกทางวัฒนธรรม ว่าโครงการนี้เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับสนับสนุนจากหลายภาคส่วน โดยเริ่มต้นจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในช่วงปี 2561-2562 และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ผ่านหน่วยบริหาร
ป.เอก การบริหารการศึกษา SPU ร่วมกับ สพม.กท 2 ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาวิชาการ ออนไลน์ "ความปกติใหม่ของการจัดการเรียนรู้"
—
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากา...
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) จัดกิจกรรมเปิดตัวหนังสือ WiTThai เล่ม 3-4
—
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย แล...
Innovative house เสริมกระบวนการวิจัยและพัฒนาให้ SMEs ไทย ยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเวชสำอาง
—
ตลอดหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศเจริญเติบโตอย่างต่...
“มิติใหม่ของข้าวเม่า” Fusion Food ฉบับบุรีรัมย์โมเดล
—
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นให้กลายเป็นผลิตภัณฑ...
งานวิจัย ยืนยัน ระบบนิเวศป่าชายเลนไทย มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เบื้องต้นพบพื้นที่ป่าชายเลน 16 อำเภอใน 8 จังหวัด คุ้มค่าแก่การอนุรักษ์
—
โดย การนำผลงานวิจัยไปใช...
ได้เวลา “รักษ์น้ำ” โดย การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และสื่อสารสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
—
"เวลาที่เราพูดถึงเรื่องน้ำ คนที่อาศัยอยู่ในเมืองมักจะล...
คณะวิศวะมหิดล เดินหน้าโครงการวิจัยระบบโลจิสติกส์กทม.และปริมณฑล รองรับ “มหานครแห่งเอเชีย”
—
ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ...
แนวทางการจัดการป่าชุมชนต้นแบบบ้านก้างปลา สู่ด่านซ้ายโมเดล เพื่อลดปัญหาเขาหัวโล้น อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
—
โดย การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และสื่อสารสังค...