สถาบันอนาคตไทยศึกษาเสนอรายงาน “2 ปีค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท:สิ่งที่คาด สิ่งที่ เกิดขึ้นจริง สิ่งที่ต้องทำต่อ”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          10 ปีที่ผ่านมา นโยบายรัฐบาลมีแต่โครงการประเภท “ลด-แลก-แจก-แถม” ในทุกรัฐบาล แต่แทบไม่มีนโยบายที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เมื่อดูจากนโยบายเศรษฐกิจหลักในรอบ 10 ปี ก็จะพบว่าโครงการส่วนใหญ่เน้น “แจก” ไม่ว่าจะเป็นแจกเงินทุน แจกปัจจัยการผลิต ลดภาษี/ดอกเบี้ย แจกอุปกรณ์การเรียน ไปจนถึงแจกเงินให้ใช้ ส่วนที่ “ไม่แจก” ก็ไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 
          พอมีการใช้นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทที่จะส่งผลกระทบโดยตรงกับความสามารถในการแข่งขัน ยิ่งทำให้จำเป็นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพแรงงานโดยเร่งด่วน นโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ นับเป็นการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของโลก ทำให้ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากทั้งฝ่ายที่หนุน และฝ่ายที่ค้าน ตั้งแต่นโยบายนี้ยังไม่ได้เริ่มบังคับใช้ โดยมีการคาดการณ์ว่าค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลต่อเศรษฐกิจในอย่างน้อย 9 เรื่อง ได้แก่ ค่าจ้างจะสูงขึ้นมาก ราคาสินค้าจะแพงขึ้นมาก จะมีคนตกงานเพิ่มขึ้น ลูกจ้างจะถูกตัดสวัสดิการอื่นๆ สถานประกอบการจะย้ายออกจากจังหวัดที่ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นมากไปอยู่ใกล้กับตลาดหรือระบบขนส่งมากขึ้น จะมีสถานประกอบการปิดกิจการเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลก็คาดว่าแรงงานระดับล่างจะได้รับประโยชน์จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ รวมถึงคาดว่าความสามารถในการแข่งขันที่คาดว่าจะลดลง 
          ปัจจุบันนี้ ได้ผ่านมา 2 ปีแล้ว นับตั้งแต่มีการใช้นโยบายนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร เหมือนหรือต่างจากที่คนคาดไว้หรือไม่ สิ่งที่เกิดขึ้นหลังประกาศใช้นโยบายนี้ที่น่าสังเกตมีดังต่อไปนี้
          ค่าจ้างเฉลี่ยทั่วประเทศปรับตัวสูงขึ้นเกือบ 40% ส่วนเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากอย่างที่คาด
แต่แรงงานระดับล่างกลับได้ค่าจ้างเพิ่มน้อยกว่ากลุ่มอื่น 1 ใน 3 ของแรงงานภาคเอกชนยังคงได้ค่าจ้างต่ำกว่า 300 บาท ในขณะที่แรงงานเอกชนทั่วประเทศได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นเกือบ 40% แรงงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะ อย่างยามรักษาความปลอดภัยกลับได้ค่าจ้างเพิ่ม 24% เท่านั้น ทั้งยังได้รับผลกระทบอื่นๆ เช่น ถูกตัดค่าตอบแทนอย่างโบนัส หรือโอทีลงเกือบ 20% มิหนำซ้ำ เงินเฟ้อของคนที่มีรายได้น้อยสูง 3.5% เพิ่มขึ้นเร็วกว่าเงินเฟ้อทั่วไปอีกด้วย
          ความสามารถในการแข่งขันแย่ลงกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เพราะประสิทธิภาพแรงงานโตไม่ทันค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ส่วนสถานประกอบการปิดกิจการเพิ่มขึ้น 1.4 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2553 แสดงให้เห็นว่าสถานประกอบการที่แบกรับต้นทุนไม่ไหว ไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้จึงต้องปิดกิจการเพิ่มขึ้นมาก 
          ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหารสถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า“สิ่งที่ต้องทำต่อมีอย่างน้อย 2 เรื่อง หนึ่งคือมุ่งปรับปรุงประสิทธิภาพแรงงาน เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน ประสิทธิภาพแรงงานไทยนั้นก็อยู่ในระดับต่ำ และไม่ค่อยโต เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2% เท่านั้น จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานอย่างน้อยถึง 5% เพื่อให้ความสามารถในการแข่งขันไม่ลดลงจากการที่ค่าจ้างเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ท้าทายมากสำหรับประเทศไทย สองคือต้องมีมาตรการดูแลสวัสดิการแรงงานระดับล่างที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นอย่างโครงการคุ้มครองทางสังคม เพราะเราเห็นแล้วว่าลำพังแค่ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอย่างเดียวไม่เพียงพอจะช่วยเพิ่มรายได้ให้คนกลุ่มนี้ได้อย่างยั่งยืน” ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวปิดท้าย
ผลการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของซีรี่ส์งานวิจัยเรื่องประสิทธิภาพแรงงานและความสามารถในการแข่งขัน โดยในรายงานชิ้นต่อไปจะอธิบายว่าทำไมประสิทธิภาพแรงงานถึงตกต่ำ และต้องทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหานี้


ข่าวสถาบันอนาคตไทยศึกษา+สถาบันอนาคตไทยศึกษวันนี้

ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนมุมมองบทบาท AI ในตลาดทุน

ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมด้วย Associate Professor Sean Cao (Ph.D.) จาก University of Maryland คุณนันท์มนัส เปี่ยมทิพย์มนัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ. ไทยพาณิชย์ คุณชลเดช เขมะรัตนา นายกสมาคม ฟินเทคประเทศไทย ดร. ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ สถาบันอนาคตไทยศึกษา ผศ. ดร. สัมพันธ์ เนตยานันท์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองในงานสัมมนา Capital Market Research Forum ครั้งที่ 3/2566 หัวข้อ Capital Market

สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ... “สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ฉายภาพประเทศไทย 4 หลังเผชิญวิกฤตการณ์โควิด" — สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา ฉายภาพประเทศไทย 4 ระยะหลั...

สถาบันอนาคตไทยศึกษาเปิดผลการศึกษาชิ้นล่าสุดเกี่ยวกับ ข้อตกลง TPP กับประเทศไทย

เหลืออีกไม่ถึง 1 สัปดาห์จะถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สิ่งที่น่าจับตาคือนโยบายของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งหนึ่งในนั้นมีข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP (Trans-Pacific Partnership)...

โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย

สถาบันอนาคตไทยศึกษาเปิดผลการศึกษาชิ้นล่าสุดเรื่อง "โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย" ชี้ปัญหาการศึกษาส่งผลต่อโอกาสของเด็กไทย และยังส่งผลต่ออัตราเติบโตของเศรษฐกิจไทย ถึงปัจจุบัน ประเทศมีต้นทุนเสียโอกาสสะสมแล้ว 11%ของ GDP หรือคิดเป็น 1.5 ล้านล้าน...

สถาบันอนาคตไทยศึกษา จัดงานแถลงผลการศึกษาเรื่อง “10 ข้อเท็จจริงชีวิตคนกรุงเทพ”

ที่ผ่านมา คนมักจะให้ความสำคัญและจับตามองนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตประจำวันของคนนั้นมาจากรัฐบาลท้องถิ่นมากกว่า จึงเป็นที่มาของรายงานชิ้นใหม่ของสถาบันอนาคตไทยศึกษาเรื่อง "10 ข้อ...

สถาบันอนาคตไทยศึกษาแนะ เพิ่มลดหย่อนภาษีเพื่อการลงทุนชั่วคราว กระตุ้นเศรษฐกิจ ฟื้นความเชื่อมั่น เพิ่มผลิตภาพระยะยาว

ตัวเลขเศรษฐกิจที่เพิ่งออกมาเร็วๆ นี้ รวมทั้งการส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ที่ติดลบกว่า 6% นั้นสะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะชะลอตัวเพราะตัวขับเคลื่อนปกติของเศรษฐกิจไทย ไม่ว่าจะเป็นการบริ...

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า จัดงาน ThaiPublica Forum 2015 ครั้งที่ 1 และเสวนาพิเศษ “ประเทศไทย...คนป่วยคนใหม่ของเอเชีย?”

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมงาน “ThaiPublica Forum 2015 ครั้งที่ 1 และเสวนาพิเศษ “ประเทศไทย...คนป่วยคนใหม่ของเอเชีย?” ในวันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2558 เวลา 9.30...

เศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเงินฝืดหรือไม่?

อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. 58 อยู่ที่ -0.52% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้น 0.12% เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว โดยราคาน้ำมันยังเป็นปัจจัยหลักที่ดึงให้ดัชนีราคาลดลง ดัชนีราคาพลังงานลดลง 12.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน อัตราเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่องกัน...