นักลงทุนทั้งรายย่อยและรายใหญ่จะเพิ่มการลงทุนในกองทุนความมั่งคั่งในฐานะกลไกในการเติบโต ผลักดันยอดทรัพย์สินส่วนบุคคลแตะ 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2561

08 May 2014
รายงานสมุดปกขาวของเคซีย์ เควิร์ก แอนด์ แอสโซซิเอทส์ แอลแอลซี (Casey, Quirk & Associates LLC) ที่ปรึกษาชั้นนำในอุตสาหกรรมการบริหารจัดการทรัพย์สินทั่วโลกระบุว่า เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก การสร้างสังคมที่มีความมั่งคั่งมากขึ้น กองทุนรายย่อยและตลาดวาณิชธนกิจในภูมิภาคจะช่วยให้มีเม็ดเงินไหลเวียนสุทธิเกือบ 50% ของเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาใหม่และโอกาสด้านรายได้สำหรับผู้จัดการกองทุนในช่วง 5 ปีข้างหน้า

ในทางตรงกันข้าม กองทุนความมั่งคั่งและหน่วยงานอื่นๆของรัฐบาลที่ควบคุมทรัพย์สินจำนวนมากซึ่งบริหารโดยมืออาชีพมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จะช่วยพิสูจน์ให้เห็นว่า การที่จะประสบความสำเร็จสำหรับบริษัทด้านการลงทุนนั้นจะเป็นเรื่องที่ลำบากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การบริหารทรัพย์สินจากภายใน

เคซีย์ เควิร์ก ระบุในรายงาน Evolving Markets: A Practical Framework for Asia-Pacific ว่า การจัดสัดส่วนของทรัพย์สินยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพราะว่านักลงทุนได้เพิ่มการลงทุนในหุ้นและพันธบัตรในต่างประเทศ การลงทุนทางเลือก ซึ่งรวมไปถึง อสังหาริมทรัพย์ กองทุนป้องกันความเสี่ยง ไพรเวทอิควิตี้ และโซลูชั่นด้านทรัพย์สินที่แบ่งออกเป็นหลายหมวดเข้าไว้ในพอร์ทการลงทุน

ยอดทรัพย์สินที่ลงทุนภายใต้การบริหารของมืออาชีพในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จะทะลุระดับ 14 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในสิ้นปี 2561 จากระดับ 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2557 และก่อให้เกิดรายได้จากค่าธรรมเนียมให้กับผู้บริหารทรัพย์สินทั่วโลกในช่วงอีก 5 ปีถัดไปเป็นจำนวน 6.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เคซีย์ เควิร์ก ระบุว่า ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และจีน จะมีสัดส่วนประมาณ 2 ใน 3 ของโอกาสทางรายได้ทั้งหมดไปจนถึงปี 2561 ตามมาด้วยเกาหลีใต้ ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน และอินเดีย จากจำนวนทั้งหมด 6.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น ทั้ง 8 ตลาดจะสร้างโอกาสทางรายได้ในรูปผลตอบแทนให้กับผู้จัดการทรัพย์สินจำนวน 5.14 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่อีก 1.09 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐคาดว่า จะมาจากเงินทุนที่ไหลเข้ามาใหม่

ในการแข่งขันให้ประสบความสำเร็จในตลาดเอเชีย-แปซิฟิกที่กำลังเติบโตสำหรับผู้ให้บริการด้านการลงทุน ผู้จัดการทรัพย์สินจะต้องทำดังต่อไปนี้:

  • จัดลำดับและให้ความสำคัญกับการคัดเลือกประเทศ
  • จับคู่ความเชี่ยวชาญให้สอดคล้องกับส่วนของตลาดที่กำลังเติบโต
  • ยกระดับโมเดลการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตลาดเอเชีย-แปซิฟิก

“แรงผลักดันไปสู่การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของตลาดการบริหารจัดการทรัพย์สินในภูมิภาค และการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มการลงทุนของนักลงทุน จะผลักดันให้ผู้จัดการทรัพย์สินในภูมิภาคออกมาปกป้องผลประโยชน์ของตนเองภายในประเทศ ในขณะเดียวกันก็นำเสนอความเชี่ยวชาญในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของพวกเขาต่อทั่วโลก” เดเนียล เซเลกฮิน หุ้นส่วนของเคซีย์ เควิร์ก ในฮ่องกงและประธานประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกล่าว “ผู้จัดการทรัพย์สินทั่วโลกอาจจะมีกลยุทธ์การบริหารที่ได้เปรียบในปัจจุบันซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้น แต่การจะประสบความสำเร็จในภูมิภาคพวกเขาจะต้องปรับใช้ศักยภาพด้านการลงทุนและวางจำหน่ายให้เหมาะสมกับความต้องการของท้องถิ่น”

เกี่ยวกับเคซีย์ เควิร์ก แอนด์ แอสโซซิเอทส์ แอลแอลซี

เคซีย์ เควิร์ก เป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นไปที่การให้คำปรึกษาแก่บริษัทด้านการบริหารการลงทุนเพียงอย่างเดียว เคซีย์ เควิร์ก ทำงานร่วมกับทีมผู้บริหารระดับอาวุโสเพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์ทางธุรกิจในเชิงกว้าง, โพสิชั่นการลงทุนและกลยุทธ์, การประเมินโอกาสในตลาด, การออกแบบองค์กร, การกำหนดโครงสร้างความเป็นเจ้าของและแรงจูงใจ และการตรวจสอบธุรกรรม ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เคซีย์ เควิร์ก ได้ให้คำปรึกษาแก่บริษัทส่วนใหญ่ที่ในกลุ่ม 50 องค์กรรายใหญ่ที่สุดในโลกในด้านการบริหารจัดการกองทุน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.caseyquirk.com