ทำงานอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพในปี 2573: ความสามารถในการทำงานที่ใดก็ได้ เป็นมากกว่าแค่ตัวแปรที่จะมาเปลี่ยนรูปแบบของการจัดการบริหารในองค์กร

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่มีมากกว่า เจ็ดพันล้านเครื่องทั่วโลกในปัจจุบัน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกกว่าสามสิบเท่าตัวภายในปี 2563 แสดงถึงเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาไปข้างหน้าแบบก้าวกระโดดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน The Internet of Things ( IoT) นั้นได้นำอุปกรณ์และเทคโนโลยีมาทำงานด้วยกัน และวิวัฒนาการของอุปกรณ์ wearables ต่างๆ เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่คนเราก็ยังได้หลอมรวมเทคโนโลยีไว้ให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา และยังมีการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง
          มาร์ค มิคาลเลฟ รองประธานประจำภูมิภาคอาเซียนของซิทริกซ์ กล่าว ได้สนทนาถึงวิวัฒนาการของการทำงานในภูมิภาคเอเชียที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และพูดถึงการทำงานอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพในปี 2573 ว่า

ผสมผสานวัฒนธรรมนานาชาติเข้าด้วยกันในที่ทำงาน
          คนทำงานในปัจจุบันมีความรู้ความสามารถและความเข้าใจในเทคโนโลยีมากขึ้น การใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 69.4 ในปี 2560 จากร้อยละ 61.1 ในปี 2556 เข้ามามีอิทธิพลต่อความคาดหวังของพนักงานในวิธีการทำงานเป็นอย่างมาก ความสะดวกสบายและประโยชน์ต่างๆจากการนำเทคโนโลยีมาประยุกค์ใช้นั้นสามารถทำให้การทำงานมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ซึ่งการทำงานจะไม่ถูกจำกัดอยู่ในมาตราการแบบเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็นวันเวลาทำงาน หรือแม้แต่สถานที่ทำงาน แต่ละคนจะมีเทคโนโลยีทีคอยอำนวยความสะดวก ทำให้สามารถทำงานเมื่อใดและที่ใดก็ได้ตามที่พวกเขาต้องการ
          ในขณะนี้หลายบริษัทมีการทำงานร่วมกับคู่ค้า ลูกค้า และหน่วยงานต่างๆในขอบเขตทางภูมิศาสตร์และโซนเวลาที่แตกต่างกัน ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องมีทั้งความยืดหยุ่นและความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและโอกาสต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เมื่อมีการติดต่อธุรกิจกับต่างประเทศต่างวัฒนธรรมตลอดเวลา
          ตัวอย่างเครื่องมือที่สามารถช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จในการตอบสนองต่อสถานการณ์เหล่านั้น เช่น เครื่องมือการประชุมผ่านวิดีโอแบบบูรณาการ ที่ช่วยให้ผู้คนสามารถติดต่อซึ่งกันและกัน ช่องทางนี้สามารถเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความสัมพันธ์ต่างวัฒนธรรม ซึ่งทำให้โลกมีการเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แบบ
          ในอนาคตอันใกล้นี้ Augmented Reality มีความคาดหวังว่าจะนำไปสู่รูปแบบของการสื่อสารและเชื่อมต่อ ที่สามารถข้ามโซนเวลาและอาณาเขตตามความต้องการของผู้ใช้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม

ส่งเสริมประสิทธิผลในการทำงานอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
          ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียังมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้มืออาชีพเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น อาทิเช่น ในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ นอกเหนือจากการเก็บเวชระเบียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพและถูกต้องแม่นยำมากขึ้นแล้ว โซลูชันแบบเสมือนได้เข้ามาช่วยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีลักษณะการทำงานที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายสถานที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา ให้มีความพร้อมที่จะเข้าถึงข้อมูลทางคลินิกที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยแบบเรียลไทม์บนอุปกรณ์ใดๆก็ได้ ซึ่งในท้ายสุดแล้วเทคโนโลยีนี้จะช่วยส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และด้านเวลาในการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยได้เร็วขึ้น
          พื้นที่การทำงานเคลื่อนที่เป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับการแปลงของแต่ละขั้นตอนการทำงาน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ซึ่งเมื่อมีความเข้าใจขั้นพื้นฐานของสองปัจจัยนี้แล้ว เราจะสามารถมองไกลไปถึงระบบไอทีที่สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น และโต้ตอบได้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลแห่งอนาคตอันใกล้นี้ เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์อาจสามารถคาดการณ์ในสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพจำเป็นต้องทำ หรือช่วยให้พวกเขามีความสามารถในการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงทางการแพทย์ตลอดเวลา โดยยังอยู่ภายใต้ความเป็นเหตุและผล การตรวจตราและการวิเคราะห์ระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว จะทำให้เกิดการทำงานของระบบสัญญาณเตือนที่สามารถช่วยธุรกิจต่างๆ ในการเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อความต้องการต่างๆได้ดียิ่งขึ้น

เตรียมพร้อมสำหรับประชากรสูงอายุ
          ภูมิภาคเอเชียประกอบไปด้วยประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ซึ่งแต่ละประเทศนั้นมีความหลากหลายทางด้านระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และคุณค่าทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม ประเทศในภูมิภาคนี้ยังมีสิ่งหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน คือ การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงวัย อาทิ อัตราส่วนระหว่างประชากรวัยทำงาน และประชากรสูงวัยในประเทศสิงคโปร์ ที่คาดว่าจะลดลงอย่างมาก จาก 8 ต่อ 1 คน เหลือแค่ 3.5 ต่อ 1 คน ในปี 2573 อีกหนึ่งตัวอย่างที่คล้ายคลึงกัน คือ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรสูงวัยที่มีแนวโน้มจะเติบโตขึนถึง 3 เท่า ภายในปี 2593 นับตั้งแต่ปี 2543 ประชากรศาสตร์ดังกล่าวมีผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
          นอกจากความพยายามจากรัฐบาลที่ตั้งใจจะทำให้สถานที่ทำงานเป็นมิตรกับครอบครัวมากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยแล้ว เทคโนโลยีก็ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจช่วยประเทศต่างๆ ในแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเตรียมการทำงานที่ยืดหยุ่น เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมหรือพื้นที่ทำงานเคลื่อนที่ต่างๆ ที่สะดวกขึ้น จะช่วยให้บริษัทสามารถดึงดูดและรักษาพนักงานไว้ได้
          ในภูมิภาคที่ประเทศส่วนใหญ่นั้นให้ความสำคัญกับครอบครัวมากกว่าสถาบันอื่นๆนั้น เทคโนโลยีจะเป็นแรงผลักดันให้มีการเตรียมการทำงานที่ยืดหยุ่นขึ้น เพื่อเอื้อให้พนักงานสามารถมีเวลาให้กับครอบครัวและดูแลผู้สูงวัยได้มากขึ้น โซลูชัน เช่น ระบบเครือข่ายคลาวด์ (cloud networking), เดสก์ทอปและแอพพลิเคชันเสมือนจริง (desktop and application virtualization)สามารถช่วยให้ความต้องการนั้นเป็นจริงได้ ภายในอนาคตอันใกล้นี้โซลูชันเหล่านี้อาจเป็นคำตอบสำหรับการแก้ปัญหาดังกล่าวที่มีมากขึ้นทุกๆปีเมื่อประชากรสูงวัยมีมากขึ้น
          มูลค่าของเทคโนโลยีนั้นไม่สามารถประเมินได้ หากแต่ว่าจะมีการประเมินในด้านที่ให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ ความก้าวหน้าและนวัตกรรมเทคโนโลยีจะขับเคลื่อนอนาคตของการทำงานไปสู่ภูมิปัญญาทางเทคโนโลยี ที่ไร้ ขอบเขตทางด้านกายภาพและภูมิศาสตร์ ซึ่งมีความร่วมมือนั้นเป็นสลักสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด
          ในการปลดล็อคศักยภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียนั้น ภาคธุรกิจจำเป็นที่จะต้องหาแนวทางใหม่ในการจัดการบริหารงานของตนเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นสื่อสารเพื่อเข้าถึงพนักงาน และการประสานงานกันทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคของตน ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ไม่ว่าจะเป็น ระบบเสมือนจริง(virtualization), ระบบเครือข่าย (networking), โซลูชันการจัดการคลาวด์และระบบการจัดการเคลื่อนที่ (cloud and mobility management solutions) จะทำให้องค์กรเพิ่มพูนความคล่องตัวทางธุรกิจได้ดีขึ้น และยกระดับความสามารถในการลดค่าใช้จ่าย นวัตกรรม ประสิทธิผลทางการผลิต ความคล่องตัว และความพึงพอใจของพนักงานได้อีกด้วย


ข่าวและเทคโนโลยี+เทคโนโลยีวันนี้

FoSTAT และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จับมือ ProPak Asia 2025 จัดสัมมนา ปั้นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสู่มาตรฐานสากล ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2025 งานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักร และโซลูชันด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหาร อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์ ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไทยให้แข็งแกร่งเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจประเทศ เพื่อเดินหน้ายกระดับองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการในทุกภูมิภาค ดังนั้นทั้ง 3

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐม... ธนาคารกรุงไทย ร่วมฉลองครบรอบ 150 ปี กระทรวงการคลัง เคียงข้างไทยในทุกก้าวสำคัญ — นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้เกียร...

สำนักเลขาธิการคณะกรรมการจัดงานดิจิทัล ไชน... นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน เปิดฉากการประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต ครั้งที่ 8 — สำนักเลขาธิการคณะกรรมการจัดงานดิจิทัล ไชนา ซัมมิต เมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...