สมาพันธ์ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแห่งโลก รณรงค์เรียกร้องให้เพิ่มความสำคัญและมาตราการในการจัดการภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับไวรัสอีโบลา เนื่องในวันภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโลก 13 กันยายนนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ร่วมกันป้องกันการติดเชื้อและต่อสู้กับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย 800,000 รายต่อปี

          ขณะนี้ไวรัสอีโบลากำลังแพร่ระบาดรุนแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ทางสมาพันธ์ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแห่งโลก (Global Sepsis Alliance, GSA) ได้สนับสนุนจุดยืนของมาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่เรียกร้องให้ประชาคมโลกเร่งให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้โดยด่วน ทั้งนี้ เชื้อไวรัสอีโบลาเป็นหนึ่งในเชื้อโรคหลายร้อยชนิดที่ก่อให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจนเป็นอันตรายถึงชีวิต

          ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหรือที่มักเรียกกันว่า “โลหิตเป็นพิษ” เป็นภาวะที่พบได้บ่อยจากการติดเชื้อแบบเฉียบพลันแล้วการติดเชื้อมีความรุนแรงมากขึ้น จนเข้าสู่กระแสเลือดทำให้เกิดการตอบสนองที่ผิดปกติของร่างกายต่อการติดเชื้อ นำไปสู่การทำงานที่ล้มเหลวของระบบไหลเวียนโลหิตและอวัยวะต่างๆ  ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โรคติดเชื้อเป็นสาเหตุอันดับ 2 ของการเสียชีวิตของผู้ป่วยทั่วโลก โดยพบว่าภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบมากถึง 60% และยังเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้มารดาเสียชีวิต  ปัจจุบันภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดกำลังเป็นภัยคุกคามมากขึ้นทั่วโลก โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกาได้รายงานว่า จำนวนผู้ติดเชื้อในกระแสเลือดในสหรัฐเพิ่มขึ้นจาก 621,000 รายในปี 2543 เป็น 1,141,000 รายในปี 2551 (http://www.cdc.gov/sepsis/basic/qa.html)

          ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเร่งด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบไหลเวียนโลหิตและอวัยวะต่างๆล้มเหลว อย่างไรก็ตามเราสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้อย่างน้อย 10-15% ด้วยการฉีดวัคซีน การรักษาสุขอนามัย การตรวจพบและให้การรักษาอย่างทันท่วงทีตั้งแต่ระยะเริ่มต้น นอกจากนี้ โรงพยาบาลและสถาบันสุขภาพต่างๆจำเป็นต้องทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันการติดเชื้อในสถานพยาบาล แม้ว่าเกือบ 50% ของการติดเชื้อในกระแสเลือดจะเกิดขึ้นภายนอกโรงพยาบาลก็ตาม ขณะเดียวกันแผนกฉุกเฉิน คลินิกให้บริการต่างๆ และศูนย์การแพทย์ที่ให้การบริการฉุกเฉิน ก็ควรเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นในการสังเกตอาการ การวินิจฉัย และการรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โดยอาการของผู้ต้องสงสัยว่าอาจติดเชื้อในกระแสเลือดประกอบด้วย ไข้ หนาวสั่น ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง หายใจถี่ ความดันโลหิตลดลง และหัวใจเต้นเร็วขึ้น

          สมาพันธ์ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแห่งโลก (GSA) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกประเมินศักยภาพของระบบสุขภาพในประเทศ เพื่อวางกลยุทธ์และดำเนินมาตราการในการรับมือกับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเพื่อลดผลกระทบจากโรคร้ายนี้ ได้แก่ การจัดทำแผนงานระดับชาติ และสนับสนุนเงินทุนสำหรับการรณรงค์ถึงอันตรายของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ตลอดจนสนับสนุนการทำวิจัยในระดับเดียวกับการวิจัยโรคเอดส์ ซึ่งที่ผ่านมาทำให้โลกต่อสู้กับโรคเอดส์ได้อย่างประสบความสำเร็จมาแล้ว

          สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.world-sepsis-day.org

          ติดต่อ (International Contact)
          ศ.นพ.คอนราด ไรน์ฮาร์ท
          อีเมล: [email protected]
          โทร. +49-3641-9323101

          ติดต่อ (ประเทศไทย)
          รศ.นพ.ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล
          นพ.รัฐภูมิ ชามพูนท
          สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย
          (THE THAI SOCIETY OF CRITICAL CARE MEDICINE)
          แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ชั้น 5
          ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปี เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
          โทรศัพท์: 02 718 2255 มือถือ: 083 713 4043 แฟกซ์: 02 718 2255
          อีเมล: [email protected]  [email protected]

          แหล่งข่าว: World Sepsis Day Head Office


ข่าวองค์การอนามัยโลก+องค์การอนามัยโลวันนี้

GSK ร่วมรณรงค์ "สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก 2025" ชูการป้องกันโรคสำหรับทุกวัย

องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ทุกวันที่ 24-30 เมษายนของทุกปีถือเป็น "สัปดาห์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก" ซึ่งเป็นแคมเปญด้านสาธารณสุขระดับโลกเพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันโรค โดยในปีนี้ได้กำหนดธีม "Immunization for All is Humanly Possible" เพื่อย้ำถึงความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันทั่วโลกสำหรับทุกคนว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถทำได้ ด้วยความมุ่งหวังให้ผู้คนทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ได้รับการปกป้องจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนมากยิ่งขึ้น

จากสถิติองค์การอนามัยโลกพบว่ามะเร็งปอดเป็... แอสตร้าเซนเนก้า เผยความสำเร็จในการใช้ AI คัดกรองมะเร็งปอดจากภาพเอกซเรย์ เสริมความมั่นคงด้านสุขภาพที่ยั่งยืน — จากสถิติองค์การอนามัยโลกพบว่ามะเร็งปอดเป็นสา...

ผู้แทนองค์การอนามัยโลกปลาบปลื้มพระมหากรุณ... ผู้แทนองค์การอนามัยโลกปลาบปลื้มพระมหากรุณาธิคุณ สืบสานโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารก เร่งป้องกันปัญหาการคลอดก่อนกำหนด — ผู้แทนองค์การอนามัยโลกปลาบปลื้...

องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (... การต่อสู้กับวัณโรค: ทำไมการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ — องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (TB) อาจกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักจากการติดเชื้อทั่วโลก...

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... สธ. จับมือภาคีหนุนส่งนมแม่ฟรี ดันเป้าเด็กแรกเกิดกินนมแม่ 6 เดือนแรก มากกว่าร้อยละ 50 — นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในโอกาสเ...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสาร... นมแม่มีประโยชน์ กรมอนามัย แนะ ทารก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ แนะ ทารกกินน...

หากเอ่ยถึง "โรคพาร์กินสัน" ภาพการรับรู้ขอ... "Check PD" แอปพลิเคชันตรวจหาความเสี่ยงเป็นพาร์กินสัน รู้เร็ว รักษาไว เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี — หากเอ่ยถึง "โรคพาร์กินสัน" ภาพการรับรู้ของหลายคนจะม...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. เตรียมพร้อมติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อหิวาตกโรค-แนะยึดหลัก "กินร้อน ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ" — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.)...

สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (ส... งานประกาศผลการประกวดคลิปสั้น The PAUSE Project : eyes up phone down เดินเท้าปลอดภัย — สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับองค์การอนามัยโล...

ประเทศไทย โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ... องค์การอนามัยโลกจับมือประเทศไทย และ 194 ประเทศ เร่งสร้างฉันทมติดันความเสมอภาคสุขภาพช่องปากเป็นวาระโลก — ประเทศไทย โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุม...