“ท้องผูก”อาการยอดฮิตติดชาร์ทของคนเมือง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ปัจจุบันคนไทยมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบทำให้หลายคนละเลยความพิถีพิถันเรื่องอาหาร รวมถึงการดูแลสุขภาพของตนเอง อีกทั้งยังอยู่ภายใต้ภาวะกดดัน และความเครียดต่างๆ เป็นผลทำให้ร่างกายได้รับผลกระทบ สุ่มเสี่ยงกับการเกิดโรคต่างๆ รวมถึงภาวะอาการท้องผูก โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้าใจว่าอาการท้องผูกไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จึงละเลยให้ความสำคัญในการรักษา แต่อาการท้องผูกมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในรายที่เป็นรุนแรง ซึ่งอาจพบร่วมกับโรคลำไส้แปรปรวน ริดสีดวงทวาร ไปจนถึงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
          รศ.นพ.สมชาย ลีลากุศลวงศ์ รั้งตำแหน่งนายกสมาคมประสาททางเดินอาหาร และการเคลื่อนไหว (ไทย) กล่าวในการเสวนาหัวข้อ “ยาระบาย … สำหรับทุกคนในครอบครัว” ในงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการของผลิตภัณฑ์“ดูฟาแลค” (Duphalac) ยาระบายสำหรับทุกคนในครอบครัว ขนาดใหม่แบบซอง ถึงอาการและสภาวะของอาการท้องผูกว่า “อาการท้องผูกเป็นปัญหาที่ 1 ใน 4 ของคนไทยต้องพบเจอ โดยอาการท้องผูก เป็นอาการถ่ายอุจจาระที่เป็นไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากอุจจาระอยู่ในสภาพที่แห้ง แข็ง เกิดความทรมานในการขับถ่าย หรือขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งพบได้ในคนทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิด ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยสัญญาณของอาการท้องผูกของผู้ป่วยแต่ละกลุ่มจะแตกต่างกันออกไป 3 ประเภท กลุ่มแรกคือท้องผูกในเด็ก โดย 5-10% ของเด็กจะมีปัญหาท้องผูก ซึ่งพ่อแม่ต้องหมั่นสังเกตสัญญาณความถี่ของการอุจจาระที่บ่งบอกว่าลูกท้องผูก คือการขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เมื่ออุจจาระแข็ง จะทำให้เจ็บปวดเวลาเบ่งถ่าย หรืออาจมีเลือดติดออกมาด้วย เพราะเกิดแผลที่ผิวหนังบริเวณทวาร พอเจ็บ เด็กก็ยิ่งกลัวการขับถ่าย จึงพยายามกลั้นเอาไว้ แต่นั่นยิ่งทำให้อุจจาระแข็งมากขึ้น กลุ่มที่สองท้องผูกในคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งอันที่จริงเป็นเรื่องปกติ ที่แม่ตั้งครรภ์จะมีปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ทั้งเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ลำไส้ทำงานไม่ปกติ ฉะนั้นโอกาสที่แม่ตั้งครรภ์จะท้องผูกก็เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 3 นอกจากนี้มดลูกของแม่ตั้งครรภ์ก็จะเริ่มโตขึ้นและไปกดหลอดเลือดใหญ่ ทำให้การไหลเวียนของเลือดในส่วนล่างของร่างกายช้าลง แม่ตั้งครรภ์จึงมีปัญหาท้องผูกได้บ่อย และเมื่อพยายามเบ่ง ก็ยิ่งมีโอกาสเกิดริดสีดวงตามมา ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือท้องผูกในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุมักรับประทานอาหารได้น้อยลง บางคนรับประทานอาหารที่มีกากใยไม่ค่อยได้ ดื่มน้ำน้อยลง มีภาวะของโรคอื่น เช่น โรคเบาหวาน หรือประสาทการรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวในลำไส้น้อยลง รวมถึง กล้ามเนื้อเพื่อการขับถ่ายเสื่อมตามวัย อีกทั้งส่วนใหญ่มักมีการใช้ยาเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจมีผลทำให้ท้องผูกมากขึ้น ซึ่งการเบ่งอุจจาระมากๆ อาจทำให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียน เป็นลม ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากต่อผู้สูงอายุ”
          การรักษาภาวะอาการท้องผูก
          “บางคนอาจคิดว่าตนเองท้องผูกหากไม่ได้ขับถ่ายอุจจาระออกมาทุกๆวัน อย่างไรก็ตามการขับถ่ายมีความแปรปรวนไม่เหมือนกันในแต่ละคน ในคนไทยปกติจะมีการถ่ายเฉลี่ยจากวันละสามเวลาไปจนถึงสามครั้งต่อสัปดาห์ การเข้าใจถึงสาเหตุการป้องกัน และการรักษาจะช่วยบรรเทาอาการนี้ลงได้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ โดยแนวทางรักษานั้นต้องดูตามอาการและสาเหตุของปัญหามีทั้งการรักษาอาการด้วยการใช้ยา เช่น ยาที่ทำให้อุจจาระอ่อนนิ่ม ยาที่กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ยาระบายชนิดสวน ยาระบายชนิดเหน็บ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิต อาทิ การดื่มน้ำ กินผักผลไม้ อาหารที่มีกากใยมากๆ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น การฝึกนิสัยการขับถ่ายเป็นเวลาให้ตัวเอง” รศ.นพ.สมชายกล่าว
          สนับสนุนข้อมูลโดย “ดูฟาแลค” (Duphalac) ยาระบายสำหรับทุกคนในครอบครัว

“ท้องผูก”อาการยอดฮิตติดชาร์ทของคนเมือง

ข่าวมะเร็งลำไส้ใหญ่+อาการท้องผูกวันนี้

ท้องผูกในผู้สูงอายุ ดูแลรักษาได้ด้วยการนวดทุยหนา โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

อาการท้องผูก เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เป็นอาการที่พบมากถึง 25-30% เมื่อเทียบกับอาการอื่น ๆ เมื่ออายุมากขึ้นลำไส้มักจะเริ่มทำงานผิดปกติ ไม่สามารถขับถ่ายได้ต่อเนื่องทุกวัน จำนวนครั้งในการขับถ่ายอุจจาระเริ่มลดลง อาจเกิดได้จากสภาพจิตใจ หรือสภาพร่างกาย เช่น อุ้งเชิงกรานทำงานผิดปกติ ส่งผลต่อคุณภาพในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เมื่อท้องผูกเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ริดสีดวง เมื่อขับถ่ายลำบากทำให้ผู้สูงอายุต้องออกแรงเบ่งอุจจาระแรง ๆ อาจทำให้

ใครที่ไม่ขับถ่ายนานเกิน 3 วัน ของเสียมีลั... ไม่ถ่ายเกิน 3 วันเป็นประจำ อันตรายไหม? — ใครที่ไม่ขับถ่ายนานเกิน 3 วัน ของเสียมีลักษณะเข็งและยากต่อการขับถ่าย ใช้แรงเบ่งมาก รวมถึงมีอาการท้องอืด ปวด...

เจ๊ดา ดารุณี นำทีมน้องๆ รู้ทันโรคอันตราย “มะเร็งลำไส้ใหญ่”!!! ใน “อโรคา ปาร์ตี้”

ใครที่มีอาการท้องผูก จุกเสียดแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย อย่าชะล่าใจ เพราะนี่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งรายการ “อโรคา ปาร์ตี้” วาไรตี้ไม่มีโรค พฤหัสบดีที่ 10 ก.ค.นี้ แขกรับเชิญทั้ง 5 ท่าน...

หากคุณมีอาการถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว และถ่ายมีม... รู้เท่าทัน "โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง" ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ — หากคุณมีอาการถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว และถ่ายมีมูกเลือดเป็นระยะเวลานานกว่า 4 สัปดาห์ สิ่งเห...

โรงพยาบาลเมดพาร์ค เปิดตัวแคมเปญ "Stay Hea... รพ.เมดพาร์ค ชูแคมเปญใหม่ ชวนประชาชน ตรวจคัดกรองมะเร็งระบบทางอาหาร — โรงพยาบาลเมดพาร์ค เปิดตัวแคมเปญ "Stay Healthy, Stay Safe from Cancer" ชวนประชาชนตรวจคั...

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยเงียบที่เราสามารถป้องก... "ส่องกล้องลำไส้ใหญ่" ใครบ้าง?... ที่ควรตรวจ — มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยเงียบที่เราสามารถป้องกันได้ การตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่เป็นเหมือนการตรวจสุขภาพประจ...

แม้ว่าโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จะพบมากในผู้ที่มี... "มะเร็งลำไส้ใหญ่" ตรวจพบก่อน เพิ่มโอกาสรักษาหาย — แม้ว่าโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จะพบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่ความจริงแล้วไม่ว่าเพศหรือวัยไหนก็มีสิทธิ์...