“อาร์เอฟเอส” รุกจับมือ “อีซีอาร์ไอ” ยกระดับบุคลากรด้านการแพทย์ เปิดศูนย์เทรนนิ่งเครื่องมือแพทย์ครั้งแรกในไทย หวังปั้นบุคลากร 250 คนภายใน 2 ปี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

           อาร์เอฟเอส(RFS) บริษัทในเครือมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งจัดตั้งและถือหุ้นโดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับ สถาบันอีซีอาร์ไอ (ECRI Institute) จัดอบรมด้านเครื่องมือแพทย์ครั้งแรกในไทย เพื่อยกระดับคุณภาพและศักยภาพของบุคลากรในการประกอบวิชาชีพด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ตั้งเป้า 2 ปีแรกปั้นบุคลากรป้อนวงการสาธารณสุข 250 คนกับ 6 หลักสูตรเข้ม พร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2558 
          ผศ. เยาวนุช คงด่าน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์เอฟเอส จำกัด เป็นบริษัทที่จัดตั้งและถือหุ้นโดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล (Hospital Facilities Management) เพื่อสนับสนุนงานโรงพยาบาลด้านต่างๆ กล่าวว่า “บริษัทฯได้จับมือกับสถาบันอีซีอาร์ไอ (ECRI Institute) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา โดยนำผลการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในการค้นหาวิธีการดูแลผู้ป่วย เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ ให้มีมาตรฐาน ซึ่งในการเปิดศูนย์เทรนนิ่ง อบรมหลักสูตรด้านเครื่องมือแพทย์ครั้งแรกในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการ และบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ เพื่อยกระดับคุณภาพและศักยภาพของบุคลากรในการประกอบวิชาชีพด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์” 
          จากข้อมูลในอุตสาหกรรมการให้บริการทางด้านการแพทย์ ปัจจุบันมีบุคลากรประมาณ150,000 คน ซึ่งจะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจึงสามารถทำงานด้านนี้ สำหรับประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศไทยที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคต่างๆ เช่น การผ่าตัดแบบส่องกล้อง การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลและชาวต่างประเทศเข้ามารักษาในแต่ละปีมากกว่า 3,000,000 คน ส่งผลให้อุตสาหกรรมด้านเฮลธ์แคร์มีการเติบโตมาก รวมถึงอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ที่มีมูลค่ามากกว่า 30,000 ล้านบาทในปีที่ผ่าน ดังนั้นนอกจากแพทย์แล้วบุคลากรที่ต้องดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ถือเป็นส่วนสำคัญ และต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตร เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด 
          “ด้วยปัจจัยดังกล่าวทาง “อาร์เอฟเอส” (RFS) จึงเล็งเห็นว่าบุคลากรดังกล่าวถือเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการบริหารจัดการ และบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ โดยได้จัดหลักสูตรการอบรม 6 หลักสูตร ดังนี้ หลักสูตรเครื่องช่วยหายใจ หลักสูตรเครื่องดมยาสลบ หลักสูตรระบบติดตามสัญญาณชีพ หลักสูตรตู้อบเด็กทารกแรกเกิดและเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า หลักสูตรเครื่องให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและเครื่องวัดความดันโลหิต และหลักสูตรบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งบุคลากรที่เข้าอบรมแต่ละหลักสูตรจะได้รับใบรับรองจากทางสถาบันอีซีอาร์ไอ (ECRI Institute) ทั้งนี้ตั้งเป้าว่าใน 2 ปีแรกจะสามารถสร้างบุคลากรให้กับอุตสาหกรรมประมาณ 250 คน อย่างไรก็ตามเชื่อมั่นว่าหลักสูตรดังกล่าวจะช่วยยกระดับคุณภาพ และมาตรฐานบุคลากรในการประกอบวิชาด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ในประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับและแข่งขันกับบุคลากรจากต่างประเทศ เนื่องจากในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะทำให้การทำงานในสายวิชาชีพมีความเสรี สามารถเดินทางไปทำงานในประเทศต่างๆ โดยมั่นใจในศักยภาพของบุคลากรไทยสามารถแข่งขันในเวทีสากลได้” ผศ.เยาวนุช กล่าวปิดท้าย
 
 

ข่าวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน+วิศวกรรมชีวการแพทย์วันนี้

'สินิตย์' เตรียมเยือนกัมพูชา ร่วมวงประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลักดันร่างวิสัยทัศน์ฯ ภายหลังปี 2568 และการพัฒนาที่ยั่งยืน

'สินิตย์' เตรียมประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 21 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา 10 พ.ย.นี้ ร่วมสรุปผลการดำเนินงาน ทั้งการอัปเกรด ATIGA การฟื้นฟูเการท่องเที่ยวหลังโควิด-19 ผลการประเมินความพร้อมของติมอร์-เลสเต เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ก่อนชงสุดยอดผู้นำอาเซียน พร้อมถกรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน-ขนส่ง-เกษตรและป่าไม้ ผลักดันแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน และความเป็นกลางทางคาร์บอน นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรี

ภายใต้สภาพแวดล้อมของการเปลี่ยนแปลงที่ผันผ... เปิดรับสมัครแล้ว!!! หลักสูตร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขั้นสูง (Advance HR : Survival Beyond Tomorrow) — ภายใต้สภาพแวดล้อมของการเปลี่ยนแปลงที่ผันผวน รวดเร็ว ...

ดร.ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ที่ปรึกษาสมาคมส... 40 ปี สวนสยาม เปิดตัวสยามอะเมซิ่งพาร์ค เชิญสักการะพระบรมสารีริกธาตุจากศรีลังกา ขยายเวลาเปิดบริการสวนสนุกถึง 4 ทุ่ม — ดร.ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ที่ปรึกษาสม...

ธนาคารไทยพาณิชย์เดินหน้าส่งเสริมการสร้างเ... ไทยพาณิชย์ จัดงานจับคู่ธุรกิจ Myanmar-Thai Business Matching Day เปิดโอกาสธุรกิจระหว่างเครือข่ายเอสเอ็มอีเมียนมา-ไทย — ธนาคารไทยพาณิชย์เดินหน้าส่งเสริมการ...

วันที่ 22 กรกฎาคม 2562 ได้มีการจัดพิธีเปิ... อพวช.ร่วมสมาคมวิทย์ฯ เปิดค่ายประกวดโครงงานวิทย์ ASPC 2019 — วันที่ 22 กรกฎาคม 2562 ได้มีการจัดพิธีเปิด "ค่ายประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซี...

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เดินหน้าขับเคลื่อน ก... “คุณวุฒิวิชาชีพ โอกาสในการทำงานในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” — สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เดินหน้าขับเคลื่อน การเทียบเคียงกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ สู่ กรอบคุณวุฒิอ้างอิ...

ศ.ดร.กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม คณบดีคณะเศรษฐศาส... มข. จับมือ สสว. จัดสัมมนาฟรี ! “รุกตลาดใกล้ บุกตลาดใหญ่” เชิญผู้เชี่ยวชาญตลาดต่างประเทศ ร่วมให้ความรู้พร้อมคำแนะนำการลงทุน ใน 4 ประเทศ จีน อินเดีย พม่า กัมพูชา สนใจสมัครด่วน! รับจำนวนจำกัด — ศ.ดร.กัลปพฤ...

ศ.ดร.กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม ผู้อำนวยการศูนย์... ECBER มข ร่วม กับ สสว. เชิญชวนผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมเครือข่าย SMEs เชื่อมสู่ตลาดอาเซียน +8 พร้อมเป็นพี่เลี้ยงนำบุกตลาด จีน อินเดีย พม่า และกัมพูชา — ศ.ดร.กัลปพฤ...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ผศ... ภาพข่าว: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัลผลงานวิจัยระดับดี งานวันนักประดิษฐ์ ปี 2562 — คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ผศ.ดร. จักรกฤษณ...

ศ.ดร.กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม ผู้อำนวยการศูนย์... ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สสว. เชิญชวนผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมเครือข่าย SMEs เชื่อมสู่ตลาดอาเซียน +8 พร้อมเป็นพี่เลี้ยงนำบุกตลาดขนาดใหญ่ที่น่าจับตาถึง 4 ประเทศ ทั้ง จีน อินเดีย พม่า และกัมพูชา — ศ.ดร.กัลปพฤ...