เครื่องแปลงตัวอักษรเป็นเสียงพูดควบคุมด้วยระบบไร้สายต้นแบบ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          “เพื่อออกแบบสร้างวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุมระบบไร้สาย สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบสื่อโฆษณาหรือข้อความเสียงต้อนรับต่างๆ ซึ่งระบบไร้สายสะดวกในการติดตั้งใช้งาน ลดการใช้ทรัพยากร” นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์“กอล์ฟ” นายปริญญา ปุณณะรัตน์ “ปอนด์” นายนพคุณ สามเรืองศรี โดยมีดร.วิเชียร อูปแก้ว เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ออกแบบและสร้างเครื่องแปลงตัวอักษรเป็นเสียงพูดควบคุมด้วยระบบไร้สายต้นแบบ (TEXT TO SPEECH MACHINE CONTROLLING VIA WIRELESS SYSTEM) ขึ้นมา
          เจ้าของผลงาน เล่าว่า หลักสำคัญของเครื่องแปลงตัวอักษรเป็นเสียงพูดควบคุมด้วยระบบไร้สายต้นแบบ ประกอบด้วยสองส่วน ได้แก่ ส่วนของภาคส่ง รับข้อมูลอักษรทางแป้นพิมพ์ เพื่อส่งไปยังภาครับผ่านทางโมดูลเชื่อมต่อไร้สาย และส่วนของภาครับ ทำหน้าที่รับข้อมูลจากภาคส่งแล้วแปลงเป็นเสียงออกทางลำโพง ในหลักการออกแบบวงจร แบ่งเป็น 6 ส่วนคือ 1. ส่วนโปรแกรม Arduino 2. ส่วนไมโครคอนโทรลเลอร์ เป็นส่วนที่สำคัญ เพราะเป็นส่วนที่ใช้ติดต่อกับส่วนต่างๆ เป็นส่วนที่ควบคุมข้อมูลที่ส่งมาจากคีย์บอร์ด เพื่อนำไปแสดงผลการรับค่าที่ จอ LCD และควบคุมการรับค่าไปจนกว่าจะมีการสั่งให้ส่งข้อมูลออกไปยัง โมดูล WI-FI ให้ส่งต่อไปยังภาครับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อย คือ ส่วนฮาร์ดแวร์ไมโครคอนโทรลเลอร์ และส่วนซอฟแวร์ไมโครคอนโทรลเลอร์ 3. ส่วนแสดงผล 4. ส่วน wireless 5. ส่วนโมดูลแปลอักษรเป็นเสียงพูด เป็นอีกส่วนสำคัญ เพราะเป็นส่วนที่เปลี่ยนข้อมูลที่ได้เป็นเสียงพูด ในการออกแบบเลือกใช้ Emic 2 parallax ที่มีการเชื่อมต่อ 6 พอร์ตใช้งาน และส่วนสุดท้ายคือส่วนภาคขยายสัญญาณ การขยายจากลำโพงภายนอก เนื่องจากบอร์ดมี output เป็นการส่งสัญญาณออก แบบสเตอริโอ 3.5 mm. ที่ใช้ได้กับลำโพงทั่วไปในปัจจุบัน
          สำหรับขั้นตอนการสร้างบอร์ดการส่ง-รับข้อมูลตัวอักษร ในการทำงานของบอร์ดเป็นการทำงานแบบบอร์ดถึงบอร์ด ผ่านระบบไร้สายส่งข้อมูลผ่าน Protocol เป็น ASCII Code ออกไปยังบอร์ดรับข้อมูล ประกอบด้วย 1. การทำงานภาคส่ง การส่งข้อมูลจากบอร์ดถึงบอร์ด ผ่านระบบไร้สาย โดยที่บอร์ดสำหรับส่งจะมีหน้าจอ LCD เป็นตัวแสดงผลที่พิมพ์ ก่อนจะส่งไปยัง wireless เพื่อที่จะส่งสัญญาณไปยังบอร์ดภาครับ 2. การทำงานภาครับ การรับค่าข้อมูลมาจาก WI-FI ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ประมวลผลส่งสัญญาณไปแสดงผลยังจอโน้ตบุ๊ก เพื่อเป็นการทดลองการรับส่งค่าข้อมูลก่อนที่จะใช้โมดูลเสียงเพิ่มเติมเข้าไป และเป็นการทดสอบระยะการส่งข้อมูล 3. การทำงานของบอร์ด การรับค่าข้อมูลจากคีย์บอร์ดโดยตรง เข้าที่ IC แล้วให้แสดงผลที่หน้าจอ เมื่อกด Enter ข้อมูลก็จะผ่านระบบไร้สาย ไปยังบอร์ดภาครับ และให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ประมวลผลส่งไปให้โมดูล Emic 2 แปลงเป็นเสียงส่งออกลำโพง เป็นเสียงให้ได้ยิน เพื่อตรวจสอบข้อมูลที่ป้อน กับผลที่ได้ ออกมาข้อมูลตรงกันหรือไม่
          หลักการทำงานโดยรวมของเครื่องแปลงตัวอักษรเป็นเสียงพูดควบคุมด้วยระบบไร้สายต้นแบบ คือ เมื่อผู้ใช้ป้อนข้อมูลตัวอักษรผ่านทางแป้นพิมพ์ ระบบจะประมวลผล และส่งข้อมูลไปยังภาครับผ่านทางโมดูลเชื่อมต่อไร้สายความถี่ 2.4 GHz ภาครับมีไมโครคอนโทรลเลอร์ประมวลผลสัญญาณไฟฟ้าให้โมดูล Emic2 สร้างความถี่เสียงส่งออกทางลำโพง ในการรับ-ส่งสัญญาณทำได้มีประสิทธิภาพ ส่งถูกต้อง ในระยะทางที่กำหนดโดยที่มีสิ่งกีดขวางต่างๆ และได้ไกลกว่าที่กำหนดเมื่อส่งในที่ไม่มีสิ่งใดๆ กีดขวาง สามารถส่งสัญญาณไปได้ 40 – 50 เมตร ต้นทุนในการผลิตเครื่องแปลงตัวอักษรเป็นเสียงพูดควบคุมด้วยระบบไร้สายต้นแบบ ราคาอยู่ที่ 3,000 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ดร.วิเชียร อูปแก้ว โทร.091-4062224
เครื่องแปลงตัวอักษรเป็นเสียงพูดควบคุมด้วยระบบไร้สายต้นแบบ
เครื่องแปลงตัวอักษรเป็นเสียงพูดควบคุมด้วยระบบไร้สายต้นแบบ
เครื่องแปลงตัวอักษรเป็นเสียงพูดควบคุมด้วยระบบไร้สายต้นแบบ
 

ข่าวเครื่องแปลงตัวอักษรเป็นเสียงพูด+วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์วันนี้

สจล. รับมอบ"ห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์กำลัง"จากบริษัท เดลต้า ฯ เพื่อให้นักศึกษา นักวิจัยพัฒนาทักษะด้านการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง

ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลดกระบัง (สจล.) ได้จัดกิจกรรมรับมอบ"ห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์กำลัง" (Delta Power Electronics Laboratory) จากบริษัท เดลต้า อิเล็กทรอนิกส์ ประเทศไทย นำโดย Mr.Jackie Chang, President of Delta Electronic Thailand Public company Limited และตัวแทนจากบริษัท ทั้งนี้ รศ. ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สจล. พร้อมด้วย รศ. ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกรียงไกร สุขสุด

สำนักงานโครงการทุนการศึกษาพานาโซนิค ในประ... พานาโซนิคเปิดรับสมัครทุนฯ พานาโซนิค ประจำปี 2565 — สำนักงานโครงการทุนการศึกษาพานาโซนิค ในประเทศไทย เปิดรับสมัคร "ทุนพานาโซนิค ปั้นวิศวะ สร้างอนาคต ประ...

ปัจจุบันในฟาร์มโคนมทั่วไป เกษตรกรจะใช้วิธ... นศ.มจธ. คิดค้นเครื่องเซ็นเซอร์แจ้งเตือนช่วงโคนมพร้อมผสมพันธุ์เทียมส่งผ่านแอปฯ — ปัจจุบันในฟาร์มโคนมทั่วไป เกษตรกรจะใช้วิธีการเฝ้าสังเกตอาการเป็นสัดของโค ค...

บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาช... ภาพข่าว: ITEL จัดกิจกรรม " ITEL Campus Knowledge Delivery to School " ครั้งที่ 4 — บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ ITEL จัดกิจกรรม " ITEL...

นายณัฐพงศ์ วงศ์อารีย์ (ขวา) ประธานเจ้าหน้... ภาพข่าว: NATEE (นาที) ผนึกกำลังทีมบริหาร เร่งพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ — นายณัฐพงศ์ วงศ์อารีย์ (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เศรษฐี ไพร์เวท ลิมิเต็ด ...