นศ.มจธ. คิดค้นเครื่องเซ็นเซอร์แจ้งเตือนช่วงโคนมพร้อมผสมพันธุ์เทียมส่งผ่านแอปฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ปัจจุบันในฟาร์มโคนมทั่วไป เกษตรกรจะใช้วิธีการเฝ้าสังเกตอาการเป็นสัดของโค คือ ช่วงเวลาที่แม่โคยอมรับการผสมพันธุ์ เช่น แม่โคเดินมากกว่าปกติ มีเมือกใสไหลจากช่องคลอด แม่โคยืนนิ่งให้โคตัวอื่นขี่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญมาก เพราะอาการยืนนิ่งจะสัมพันธ์กับเวลาที่โคตัวนั้นจะเกิดการตกไข่ และเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่ควรทำการผสมเทียม โดยเฉลี่ยระยะเวลาตั้งแต่โคเริ่มยืนนิ่งให้ตัวอื่นขี่หรือปีนทับ จะใช้เวลาประมาณ 12 - 18 ชั่วโมงเท่านั้น
          ทีมนักศึกษาของห้องปฏิบัติการวิจัย Tentrack ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) โดย รศ.ดร.ราชวดี ศิลาพันธ์ และดร. ประพงษ์ ปรีชาประพาฬวงศ์ เป็นที่ปรึกษาโครงการ มีความสนใจในการใช้เทคโนโลยีมาช่วยตรวจจับอาการเป็นสัดของโค จึงได้พัฒนาระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับสภาวะการติดสัดของโคนม โดยติดเซ็นเซอร์ตามตำแหน่งต่าง ๆ บนตัวโค เพื่อตรวจจับพฤติกรรมต่าง ๆ ที่บ่งชี้ถึงสภาวะการติดสัด และพร้อมสำหรับการผสมเทียม ระบบจะทำการวิเคราะห์ข้อมูล จากนั้นจะส่งสัญญาณเตือนไปที่เซิร์ฟเวอร์หากพบสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผสมเทียม และส่งสัญญาณเตือนต่อไปที่เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือของเกษตรกรหรือผู้ใช้งาน เพื่อให้ดำเนินการผสมเทียมโคภายใน 28 ชั่วโมง มิฉะนั้น อัตราความสำเร็จของการผสมเทียมจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
          ผลงานนี้ได้ทดสอบใช้จริงแล้วที่ฟาร์มโคนมในจังหวัดราชบุรี โดยช่วงการทดสอบทางสัตวบาล เป็นผู้กำหนดช่วงเวลาในการติดเซ็นเซอร์ที่ต้องติดไว้ประมาณ 21 วันและขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นศ.มจธ. คิดค้นเครื่องเซ็นเซอร์แจ้งเตือนช่วงโคนมพร้อมผสมพันธุ์เทียมส่งผ่านแอปฯ
 
นศ.มจธ. คิดค้นเครื่องเซ็นเซอร์แจ้งเตือนช่วงโคนมพร้อมผสมพันธุ์เทียมส่งผ่านแอปฯ
นศ.มจธ. คิดค้นเครื่องเซ็นเซอร์แจ้งเตือนช่วงโคนมพร้อมผสมพันธุ์เทียมส่งผ่านแอปฯ
 
นศ.มจธ. คิดค้นเครื่องเซ็นเซอร์แจ้งเตือนช่วงโคนมพร้อมผสมพันธุ์เทียมส่งผ่านแอปฯ
 
 

ข่าววิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์+อิเล็กทรอนิกส์วันนี้

สจล. รับมอบ"ห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์กำลัง"จากบริษัท เดลต้า ฯ เพื่อให้นักศึกษา นักวิจัยพัฒนาทักษะด้านการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง

ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลดกระบัง (สจล.) ได้จัดกิจกรรมรับมอบ"ห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์กำลัง" (Delta Power Electronics Laboratory) จากบริษัท เดลต้า อิเล็กทรอนิกส์ ประเทศไทย นำโดย Mr.Jackie Chang, President of Delta Electronic Thailand Public company Limited และตัวแทนจากบริษัท ทั้งนี้ รศ. ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สจล. พร้อมด้วย รศ. ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกรียงไกร สุขสุด

สำนักงานโครงการทุนการศึกษาพานาโซนิค ในประ... พานาโซนิคเปิดรับสมัครทุนฯ พานาโซนิค ประจำปี 2565 — สำนักงานโครงการทุนการศึกษาพานาโซนิค ในประเทศไทย เปิดรับสมัคร "ทุนพานาโซนิค ปั้นวิศวะ สร้างอนาคต ประ...

บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาช... ภาพข่าว: ITEL จัดกิจกรรม " ITEL Campus Knowledge Delivery to School " ครั้งที่ 4 — บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ ITEL จัดกิจกรรม " ITEL...

นายณัฐพงศ์ วงศ์อารีย์ (ขวา) ประธานเจ้าหน้... ภาพข่าว: NATEE (นาที) ผนึกกำลังทีมบริหาร เร่งพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ — นายณัฐพงศ์ วงศ์อารีย์ (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เศรษฐี ไพร์เวท ลิมิเต็ด ...

ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมทดสอบไอซี... การพัฒนาโปรแกรมทดสอบไอซีลดเวลากระบวนการผลิตในโรงงาน งานวิจัยฝีมือล้วนๆ จากรั้วพระจอมฯ — ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมทดสอบไอซีด้วยภาษามาตรฐาน STIL ผลงา...