อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

พรุ่งนี้... จะฉันจะเริ่มลดความอ้วน...
...นี่คงเป็นคำพูดที่หลายๆ คนพูดกัน... เพียงเพื่อต้องการบอกตัวเอง บอกกับเพื่อนๆ บอกกับสังคม
...ก็เพราะเป็นพรุ่งนี้ไง!! ถึงไม่ผอมสักที...
          ความอ้วนไม่เข้าใครออกใคร อย่างล่าสุดได้มีสถิติของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข บอกเกี่ยวกับสัดส่วนของเด็กไทยถึงแนวโน้มเข้าสู่ภาวะเป็นเด็กอ้วนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าในปีนี้ พ.ศ.2558 เด็กก่อนวัยเรียนของประเทศไทยจะกลายเป็นเด็กอ้วนในสัดส่วนที่สูงถึง 1 ใน 5 กล่าวคือ เด็ก 5 คน จะมีเด็กอ้วน 1 คน ส่วนเด็กในวัยเรียน จะมีสัดส่วนของเด็กอ้วนอยู่ที่ 1 ใน 10 ...เมื่อเด็กวัยเรียนอ้วนเพิ่มขึ้นทุกปี และจะเข้าขั้นวิกฤตในปีนี้ นั่นเพราะหลายๆ คนเพิกเฉยกับการลดความอ้วน... หลายๆ คนบอกว่ากินอีกนิดนึงไม่เห็นจะเป็นไรเลย พรุ่งนี้ค่อยลดก็ได้... ทั้งผู้ใหญ่หลายๆ คนก็ยังบอกว่าอ้วน ตุ้ยนุ้นน่ารักดี ผอมสิ!! ..เหมือนคนเป็นโรคขาดสารอาหาร...
          ทั้งหมดนี้เลยมีสถิติออกมาแบบนั้น ทำให้ล่าสุด โครงการปิ๊งส์ โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมมือกับ สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย สำนักโภชนาการสมวัย สำนักงานบริหารแผนงานอาหารและโภชนาการ เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เครือข่ายคนไทยไร้พุง องค์กรซ่อนอ้วน เครือข่ายลดบริโภคเค็ม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เดินหน้าจัดโครงการ ประกวดสื่อ โปสเตอร์ สติกเกอร์ และเสื้อยืด หัวข้อ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน ขึ้นเป็นปีที่2 โดยเน้นโจทย์หลักว่า “ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้” มารณรงค์ป้องกัน และลดสัดส่วนเด็กอ้วน ก่อนจะพุ่งสูงในปี 2558 นี้
          โดยอาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษากรมอนามัยและอุปนายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย?บอกว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเพิ่มของโรคอ้วนในเด็ก (Childhood obesity) เร็วที่สุดในโลก โดยเฉพาะช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนเด็กก่อนวัยเรียนอ้วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 36 และเด็กวัยเรียน (6-13 ปี) อ้วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 สาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาโรคอ้วนในเด็กไทยคือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น อาหารขยะ (Junk food) และน้ำอัดลม เป็นต้น พฤติกรรมการบริโภคของเด็กส่งผลถึงประสิทธิภาพในการเรียน สติปัญญา และคุณภาพพลเมืองในอนาคต ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ 
          “เนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าว ถ้ายังปล่อยให้เด็กอ้วนโดยไม่มีการควบคุมดูแล เด็กเหล่านี้จะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่อ้วนถึงร้อยละ 30 ถ้าปล่อยให้อ้วนไปเรื่อยๆ เด็กเหล่านี้จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่อ้วนถึงร้อยละ 80 แล้วพอผู้ใหญ่อ้วนนั้นก็จะมีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามมามหาศาล โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดัน หัวใจ หลอดเลือด ทำให้ประเทศสูญเสียเงินทองมากมายเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเหล่านี้ เป็นการทำลายเศรษฐกิจโดยสิ้นเชิง นี่คือเหตุผลหลักว่าทำไมเราต้องมาดูเรื่องอ้วนในเด็กด้วยโครงการนี้” อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ บอก
ทั้งนี้ อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ บอกเพิ่มว่า การแก้ปัญหาด้วยการลดอาหารหวานจัด มันจัด เค็มจัด จึงเป็นประเด็นหลักที่ต้องใช้รณรงค์ โดยหวานจัด คือ การที่คนเราบริโภคน้ำตาลเข้าไปเกินขนาด เพราะน้ำตาลเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแต่ถ้ากินมากจนล้นเกิน ใช้ไม่หมดน้ำตาลก็จะเปลี่ยนเป็นไขมัน พอเป็นไขมันก็จะถูกสะสมไว้ในร่างกาย ในหลอดเลือดใต้ผิวหนัง เกาะอยู่ที่พุง เป็นที่มาของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสารพัด, มันจัด คือ อาหารที่มีไขมันสูงพอกินเข้าไป เมื่อร่างกายใช้ไม่หมดก็จะเก็บไว้เช่นเดียวกัน ส่วนรสเค็มจัดนั้นถ้าร่างกายได้รับเข้าไปก็หมายถึงได้โซเดียมเข้าไปในปริมาณที่สูงเกินความต้องการของร่างกาย จะทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้ไตทำงานหนักทำให้เกิดโรคไต และนำพาไปสู่โรคความความดันโลหิตสูง และโรคอื่นก็จะตามมา... ซึ่งอันที่จริงแล้วคน 1 คนควรกินน้ำตาลไม่เกิน 6-8 ช้อนชา แต่จากสถิติคนไทยกินมากถึง 20 ช้อนชา สำหรับน้ำมันไม่ควรกินเกิน 6 ช้อนชา แต่คนไทยก็กินไปมากกว่า 10 ช้อนชา เกลือก็เช่นกันไม่ควรกินเกิน 1 ช้อนชา แต่คนไทยกินไป 2 ช้อนครึ่ง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ถ้าใช้สื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนไทยได้ง่ายขึ้นน่าจะสามารถลดภาวะโรคอ้วนได้ 
          เพื่อเป็นการรณรงค์ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้นโครงการประกวดสื่อ โปสเตอร์ สติกเกอร์ และเสื้อยืด หัวข้อ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน ปี2 (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้) จึงเกิดขึ้น โดย นายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. บอกว่า โครงการนี้จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 แล้ว ซึ่งในปีที่ 1 นั้นเป็นการประกวดสื่อคลิปออนไลน์ เรื่องสั้นและการ์ตูนวาดภายใต้หัวข้อ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” “ไม่อยากอ้วน” สำหรับปีนี้ประกวดสื่อ โปสเตอร์ สติกเกอร์ และเสื้อยืด หัวข้อ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน 2 (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้)” เพื่อรณรงค์สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในเยาวชน ผ่านกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชนในระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ที่เป็นนักเรียน นิสิตนักศึกษาทั่วประเทศ โดยหนุนเสริมให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา สถาบันการศึกษาและกลุ่มวิชาชีพด้านสื่อและกิจกรรม สามารถพัฒนาสื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม ด้วยการออกแบบ ผลิต และจัดกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์สังคมขึ้น เพื่อเป็นแนวทางเชิงรุกและเปิดโจทย์เปิดประเด็นให้เกิดสื่อกิจกรรมและสื่อสร้างสรรค์สังคมไปยังกลุ่มเยาวชนทั้งในและนอกสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอุดมศึกษา ได้มีส่วนร่วมและเสนอโครงการสื่อสร้างสรรค์และกิจกรรมสร้างสรรค์ รวมทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เยาวชนเกิดการพัฒนาทักษะและจุดประกายการสร้างเครือข่ายในการสร้างสรรค์สังคมเพื่อกลุ่มเยาวชนและโดยกลุ่มเยาวชนเอง 
          “ซึ่งคุณสมบัติผู้สมัครนั้นจะต้องเป็นเยาวชนนักเรียน นิสิตนักศึกษา อายุระหว่าง 15-25 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายถึงปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยไม่จำกัดสาขาและคณะที่ศึกษาอยู่ โดยสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการประกวดทีมละไม่เกิน 3 คน สมาชิกในทีมไม่จำเป็นต้องอยู่สถาบันเดียวกันก็ได้ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถสมัครและดูรายละเอียดได้ที่ www.PINGs.in.th หรือ www.adassothai.com หรือ www.artculture4health.com ตั้งแต่วันนี้ถึงวันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2558 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-612-6996-7 ต่อ 102 ซึ่งผลงานที่ได้ทั้งหมดนี้จะนำไปใช้ผลิตจริงเพื่อรณรงค์สู่สังคมต่อไป” นายดนัย หวังบุญชัย บอก
อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน
อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน

ข่าวอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน+กระทรวงสาธารณสุขวันนี้

พบเด็กอ้วนเกือบ 400 ล้านคนทั่วโลก สสส. สานพลัง กทม. - ภาคีเครือข่าย เดินหน้าโครงการอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน ปี 4 ผุด 23 โรงเรียนต้นแบบ ทำสื่อสร้างสรรค์ รณรงค์ลดหวาน มัน เค็ม

พบเด็กอ้วนเกือบ 400 ล้านคนทั่วโลก สสส. สานพลัง กทม. ภาคีเครือข่าย เดินหน้าโครงการอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน ปี 4 ผุด 23 โรงเรียนต้นแบบ ทำสื่อสร้างสรรค์ รณรงค์ลดหวาน มัน เค็ม เตรียมขยายผลส่งต่อโรงเรียนทั่วประเทศ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร, สำนักโภชนาการ, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานบริหารแผนงานอาหารและโภชนาการ, เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน , เครือข่ายคนไทยไร้พุง และเครือข่ายลดบริโภคเค็ม

แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สส... 'อย่าปล่อยให้เด็กอ้วนฯ ปี 4' เดินหน้าตอบโจทย์ประเทศไทย แก้ปัญหาเด็ก 'เตี้ย-อ้วน-ไอคิวต่ำ' — แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ร่วมกับ สำนักการศึ...

โครงการปิ๊งส์ โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร... ประกาศผล สสส. เดินหน้าขยายผล สื่อสร้างสรรค์ นวัตกรรมลดอ้วน — โครงการปิ๊งส์ โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุ...

นางสาวจรูญรัตน์ สาลี ผู้จัดการทั่วไป บริษ... ภาพข่าว: เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 สนับสนุนโครงการสื่อสร้างสรรค์และกิจกรรมเพื่อการรณรงค์ — นางสาวจรูญรัตน์ สาลี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เดอะไนน์ เซ็นเตอ...

โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ คว้ารางวั... ภาพข่าว: โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ คว้ารางวัล ในโครงการอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน — โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ คว้ารางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัต...

สสส. จัดพิธีประกาศผลและมอบรางวัล โครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์สื่อและกิจกรรมเพื่อการรณรงค์ หัวข้อ อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้)

โครงการปิ๊งส์ โดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักโภชนาการสมวัย สำนักงานบริหาร...

โครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์สื่อและกิจกรรม... อาวุธฯ หลากสไตล์สลายพุง-อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน — โครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์สื่อและกิจกรรมเพื่อการรณรงค์ หัวข้อ อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม ...

ภาพข่าว: อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน #2

สสส.เดินหน้ารณรงค์ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” ต่อเนื่อง ปี2 หลังพบเด็กวัยเรียนอ้วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.5 หวั่นสถานการณ์เข้าขั้นวิกฤติ เร่งใช้สื่อใหม่ โปสเตอร์ สติกเกอร์ และเสื้อยืด รณรงค์ป้องกันลดสัดส่วนเด็กอ้วน ก่อนพุ่งสูงในปี 58 ด้านนักโภชนาการชี้ลด หวาน มัน เค็ม ...

สสส. จัดแถลงข่าวโครงการ ประกวด สื่อ New media ประเภทสื่อ โปสเตอร์ สติกเกอร์ และเสื้อยืด หัวข้อ อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน2 (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้)

แผนงานสื่อศิลปะวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. เรียนเชิญสื่อมวลชนร่วมงานแถลงข่าว โครงการ ประกวด สื่อ New media ประเภทสื่อ โปสเตอร์ สติกเกอร์ และ...