กรมประมงเปิดตัว สินสมุทร “มัดหมี่” หลังเพาะพันธุ์สำเร็จ โชว์ศักยภาพการเพาะพันธุ์ปลาทะเลด้วยระบบจัดการน้ำหมุนเวียน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ดร.จุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจการค้าของตลาดปลาทะเลสวยงามต่างมีความคาดหวังว่าจะได้ปลาที่มาจากการเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากในระยะที่ผ่านมาการค้าปลาทะเลสวยงามเป็นการใช้ประโยชน์จากปลาที่จับได้ในธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการรบกวนระบบนิเวศของท้องทะเล จนเกิดกระแสแรงต่อต้านของนักอนุรักษ์ธรรมชาติ กรมประมงในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจ
          ในการเพิ่มพูนผลผลิตสัตว์น้ำให้แหล่งเพาะเลี้ยงและทุกแหล่งทรัพยากร จึงได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชนิดต่างๆ ขึ้นมาเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในธรรมชาติ และทดแทนการจับจากธรรมชาติ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยในส่วนการเพาะพันธุ์ปลาทะเลสวยงามนั้น ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาทะเลสวยงามเป็นอย่างมาก โดยในปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ปลาทะเลสวยงามเพื่อตอบสนองการเจริญเติบโตของตลาดปลาสวยงามได้หลากหลายชนิด เช่น ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาสลิดหินนีออน ปลาผีเสื้อ และปลาสินสมุทรไบคัลเลอร์ เป็นต้น
          นายสุทธิชัย ฤทธิธรรม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร เปิดเผยว่า ล่าสุดทางศูนย์ฯ ได้ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลา “สินสมุทรมัดหมี่” หรือ “Vermiculated Angelfish” ชื่อวิทยาศาสตร์ว่าChaetodontoplus mesoleucus ซึ่งอยู่ในครอบครัวของปลาสินสมุทร รูปร่างลักษณะของปลาชนิดนี้ จะมีหัวสีเหลือง มีลายทางสีดำพาดเป็นแนวตั้งที่บริเวณตา ลำตัวช่วงแรกสีขาว กลางลำตัวมีสีดำแซมขาว และครึ่งหลังมีสีดำ มีหางสีเหลืองลายข้างตัวสีขาวเส้นละเอียดบนพื้นดำมองดูคล้ายเส้นหมี่ หรือ เส้นด้าย จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อ ในภาษาไทยว่า “สินสมุทรมัดหมี่” โดยปกติจะสามารถพบปลาชนิดนี้ได้ตามแนวปะการังบริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศไทย และทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแฟซิฟิก 
          สำหรับการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ เริ่มแรกทางศูนย์ฯ ได้ดำเนินการรวบรวมพันธุ์มาจากตลาดปลาสวยงามทั่วไป โดยนำมาเลี้ยงรวมกันในบ่อระบบน้ำหมุนเวียน จัดระบบนิเวศให้คล้ายกับธรรมชาติ และออกแบบให้สามารถรวบรวมไข่ปลาได้โดยง่าย โดยยึดหลักการเลี้ยง 3 ประการ คือ มีคุณภาพน้ำที่ดี อาหารครบถ้วน มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และสร้างแหล่งอาศัยคล้ายกับที่อยู่อาศัยเดิมในธรรมชาติ จนล่าสุดในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา ปลาสินสมุทรมัดหมี่ได้มีการวางไข่เป็นลักษณะไข่ลอย กลม ใส มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร และใช้เวลาประมาณ 18 - 20 ชั่วโมง จึงเริ่มฟักออกมาเป็นตัว จากนั้นจึงนำลูกปลาไปอนุบาลในถังไฟเบอร์กลาสหรือบ่อคอนกรีต โดยลูกปลาจะเริ่มกินอาหารหลังจากฟักเป็นตัว 24-32 ชั่วโมง ให้อาหารโดยแพลงก์ตอนพืช โรติเฟอร์ และโคพีพอด กินอาร์ทีเมียแรกฟักได้เมื่ออายุ 10 วัน ลูกปลาในระยะแรกจะมีสีดำ ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ เมื่ออายุ 25-30 วัน จึงทำการย้ายลูกปลาไปยังระบบน้ำหมุนเวียน โดยมีการจัดสภาพนิเวศแบบสมดุล ประกอบด้วย ระบบกรองชีววิทยา สาหร่าย ที่หลบซ่อนและหมุนเวียนน้ำด้วยแรงลม หลังจากนี้ เลี้ยงลูกปลาด้วยแพลงก์ตอนสัตว์ตลอดช่วงเวลาของการพัฒนาการ ซึ่งเราจะสามารถพบพฤติกรรมการหลบซ่อนและลูกปลาพัฒนารูปร่างเหมือนตัวเต็มวัยในระยะเวลาประมาณ 35-40 วัน โดยตัวโตเต็มที่จะมีขนาดราว 17 เซนติเมตร
          นายสุทธิชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตาม มีผู้เลี้ยงปลาทะเลบางรายได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ปลาชนิดนี้ยากต่อการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในบริเวณกักขัง และมีรายงานว่าปลาวางไข่ในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ผลจากการศึกษาครั้งนี้ กลับพบว่าปลาสินสมุทรมัดหมี่เลี้ยงง่ายภายใต้หลักเกณฑ์ข้อปฏิบัติของทางศูนย์ฯ และเมื่อปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในบ่อเลี้ยงแล้วจะวางไข่ได้เองตามธรรมชาติ อัตรารอดในการอนุบาลค่อนข้างสูง โตเร็ว มีการพัฒนารูปร่างเหมือนตัวเต็มวัยในระยะเวลาสั้นๆ นอกจากนี้ ปลาจากโรงเพาะฟักจะมีแนวโน้มว่าสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้อีกด้วย ซึ่งจะเป็นแผนงานในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงของทางศูนย์ฯในลำดับต่อไป โดยคาดว่าในอนาคตจะมีการถ่ายทอดเทคนิควิธีการไปยังเกษตรกรเพื่อพัฒนาศักยภาพตลาดปลาทะเลสวยงามของไทยต่อไป
 


ข่าวพันธุ์สัตว์น้ำ+อธิบดีกรมประมงวันนี้

กรมประมง…ชวนเกษตรกรใช้งานระบบ "FisheriesFry Shop" สั่งจองลูกพันธุ์สัตว์น้ำคุณภาพดี มีมาตรฐาน ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ใช้งานง่าย ในคลิกเดียว !!!

กรมประมง…ชวนใช้งานระบบจำหน่ายพันธุ์สัตว์น้ำออนไลน์ "FisheriesFry Shop" Pre order สั่งจองลูกพันธุ์สัตว์น้ำล่วงหน้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ด้วยตนเอง หนุนกระจายลูกพันธุ์สัตว์น้ำคุณภาพดี มีมาตรฐานจากหน่วยผลิตกรมประมง 88 แห่งทั่วประเทศ นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า "ลูกพันธุ์สัตว์น้ำ" เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่มาจากโรงเพาะฟัก เนื่องจากเป็นลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่มีการเจริญเติบโตเร็ว

นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เป็นปร... กรมประมงจัดทีมเร่งอพยพพ่อ-แม่พันธุ์สัตว์น้ำในพื้นที่เสี่ยงแล้ง — นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เป็นประธานเปิดกิจกรรมย้ายพันธุ์สัตว์น้ำสู่บ้านใหม่ที่ป...

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.30 น. น... กรมประมงเปิดตัว... “แหล่งน้ำหนองหัวลิง จ.มุกดาหาร” หลังหนุนนำร่องเข้าโครงการธนาคารผลผลิตด้านการประมงปี 63 — วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.30 น. นายมีศ...

นายบรรจง จำนงศิตธรรม รองอธิบดีกรมประมง ใน... Mermaid Show กลับมาแล้ว!! กรมประมงเชิญชวนชมการแสดงเหล่านางเงือกแสนสวย อวดลีลาใต้สายน้ำ ณ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยอง 29 ก.พ. – 1 มี.ค. 2563 นี้ — นายบรรจง จำ...

กรมประมง โดยสำนักงานประมงจังหวัดนครศรีธรร... ประมงเมืองคอนโชว์ผลงานฟื้นทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ จับมือประมงพื้นบ้านร่วมกันทำซั้งเชือก – กระโจมบ้านปลา — กรมประมง โดยสำนักงานประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช...

กรมประมง เตรียมปิดอ่าวฝั่งอันดามัน 3 เดือน ในฤดูปลามีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน เริ่ม 1 เม.ย. 62 นี้

กรมประมงเตรียมประกาศปิดอ่าวฝั่งอันดามันประจำปี 2562 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2562 ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 4,696 ตารางกิโลเมตร ...

12 สิงหา มหาราชินี วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 กรมประมง ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 50 ล้านตัว ทั่วประเทศ

กรมประมง จัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 50 ล้านตัว ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ...

นายพีรภัทร แสงสุนีย์ (ที่ 3 จากขวา) รองกร... ภาพข่าว: “SYS” สานพลังชุมชนจัดโครงการ “รวมใจรักษ์หาด คืนธรรมชาติสู่ท้องทะเล” — นายพีรภัทร แสงสุนีย์ (ที่ 3 จากขวา) รองกรรมการผู้จัดการ และ ดร.เภา บุญเยี่ย...

กรมประมง...เข้มมาตรการควบคุมสัตว์น้ำต่างถิ่น หลังพบการระบาดหลายชนิด หวั่นกระทบระบบนิเวศธรรมชาติ

จากกรณีที่พบการแพร่ระบาดของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่น (Alien Species) ในประเทศไทยหลายสายพันธุ์ อาทิ ปลาซัคเกอร์ หอยเชอรี่ เต่าญี่ปุ่น รวมถึงปลาหมอสีคางดำ และปลาพีคอกแบส ที่ขณะนี้สื่อมวลชนได้นำ...

กรมประมงแจงแนวทางในการควบคุมการทำการประมง เพื่อลดอัตราการจับสัตว์น้ำขนาดเล็ก

จากข่าวที่เรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์บังคับใช้ ม.57 พระราชกำหนดการประมง 2558 เพื่อยับยั้งการทำลายพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อน เนื่องจากเครื่องมือทำการประมงในประเทศไทยมีหลายชนิด และทุกชนิดมักมีสัตว์น้ำขนาด...