กรมประมง เตรียมปิดอ่าวฝั่งอันดามัน 3 เดือน ในฤดูปลามีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน เริ่ม 1 เม.ย. 62 นี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          กรมประมงเตรียมประกาศปิดอ่าวฝั่งอันดามันประจำปี 2562 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2562 ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 4,696 ตารางกิโลเมตร โดยห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในพื้นที่ดังกล่าว ในฤดูปลามีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน เพื่อคุ้มครองพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำ และสัตว์น้ำวัยอ่อน ทำให้สัตว์น้ำได้มีโอกาสแพร่ขยายพันธุ์ ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลให้มีอยู่อย่างยั่งยืนอีกด้วย 
          นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า สำหรับการประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวในวัยอ่อนฝั่งทะเลอันดามันนั้น กรมประมงได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปัจจุบัน ต่อเนื่องมาทุกปี ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 33 แล้ว โดยในปี 2562 นี้ กรมประมงยังคงใช้มาตรการจาก "ประกาศกำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง พ.ศ. 2561" เหมือนเช่นปีที่แล้ว เนื่องจากกรมประมงได้ทำการสำรวจผลการจับสัตว์น้ำในพื้นที่ดังกล่าวโดยเรือสำรวจประมง ซึ่งพบว่า มีปริมาณการจับสัตว์น้ำมากขึ้น จากช่วงก่อนมาตรการที่มีอัตราการจับสัตว์น้ำเพียง 243 กิโลกรัมต่อชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็น 368 และ 619 กิโลกรัมต่อชั่วโมงในช่วงก่อนสิ้นสุดมาตรการ และช่วงสิ้นสุดมาตรการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามาตรการดังกล่าวมีส่วนช่วยในการรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์น้ำเศรษฐกิจของประเทศไทย เช่น ปลาทู ปลาลัง และกลุ่มสัตว์หน้าดิน เช่น ปลาเก๋า กุ้งแชบ๊วย เป็นต้น
          สำหรับประกาศกรมประมงฉบับดังกล่าวได้กำหนดเครื่องมือ วิธีการทำประมงและเงื่อนไขที่สามารถทำการประมงได้ดังนี้ 
          - เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ ที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน 14 เมตร และทำการประมงในเวลากลางคืนให้ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
          - เครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตักให้ทำการประมงได้เฉพาะในเวลากลางวัน และให้ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
          - เครื่องมืออวนติดตาปลาที่มีขนาดช่องตาอวนตั้งแต่ 4.7 เซนติเมตรขึ้นไป และมีความยาวอวนไม่เกิน 2,500 เมตร ต่อเรือประมง 1 ลำ ให้ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งได้ ส่วนเครื่องมืออวนติดตาปลาที่มีช่องตาอวนตั้งแต่ 4.7 เซนติเมตรขึ้นไป และมีความยาวอวนเกิน 2,500 เมตร ต่อเรือประมง 1 ลำ ให้ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
          - เครื่องมืออวนปู อวนลอยกุ้ง อวนหมึก 
          - เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ให้ทำการประมงนอกเขต ทะเลชายฝั่ง
          - ลอบปูที่มีขนาดตาอวนโดยรอบตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป ให้ใช้ทำการประมงได้ไม่เกิน 300 ลูก ต่อเรือประมง 1 ลำ ให้ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งได้ ส่วนลอบปูที่มีขนาดช่องตาเฉพาะท้องลอบตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป ให้ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
          7. ลอบหมึกทุกชนิด
          8. ซั้งทุกชนิดที่ใช้ประกอบทำการประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง
          9. คราดหอยที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน 18 เมตร มีความยาวของปากคราดไม่เกิน 3.5 เมตร ช่องซี่คราดไม่น้อยกว่า 1.2เซนติเมตร และจำนวนของเครื่องมือคราดหอยต้องไม่เกิน 3 อัน (หน่วย) ต่อเรือกล 1 ลำ ให้ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนด 
          เครื่องมือทำการประมง รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือประมงคราดหอยที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่ จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
          10. อวนรุนเคย โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ออกตามความในมาตรา 68 แห่งพระราช
กำหนดการประมง พ.ศ. 2558
          11. จั่น ยอ แร้ว สวิง แห เบ็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก แผงยกปูจักจั่น
          12. เครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง
          13. การใช้เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส หรือการใช้เรือที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าไม่ถึง 280 แรงม้า สามารถใช้ทำการประมงได้ โดยการใช้เรือทั้งสองประเภทดังกล่าว จะต้องไม่ประกอบกับเครื่องมือทำการประมงตามประเภทที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดให้การใช้เรือประมงทุกขนาดประกอบเครื่องมือทำการประมงบางประเภทเป็นประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 15ธันวาคม พ.ศ . 2560 หรือไม่ประกอบกับเครื่องมือทำการประมงที่กำหนดห้ามตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 
          ทั้งนี้ การทำการประมงโดยใช้เครื่องมือตามข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 และเครื่องมือทำการประมงที่ใช้ทำการประมงต้องไม่เป็นเครื่องมือทำการประมง ที่ห้ามใช้ทำการประมง ตามมาตรา 67 มาตรา 69 หรือมาตรา 71 (1) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 
          ในส่วนของบทกำหนดโทษนั้น หากรายใดฝ่าฝืนต้องโทษตั้งแต่ 5,000 บาท - 30 ล้านบาท ตามขนาดของเรือประมง หรือ 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่จับได้ และจะถูกริบเครื่องมือทั้งหมด โดยการกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดในพื้นที่ปิดอ่าวฝั่งอันดามันนั้น เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมและป้องกันการทำประมงผิดกฎหมาย ที่อาจส่งผลต่อความสมดุลทางธรรมชาติและรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศไว้อย่างยั่งยืน 
          โดยในปีนี้ กรมประมงได้กำหนดจัดพิธีประกาศปิดพื้นที่ทางทะเลฝั่งอันดามันในวันที่ 28 มีนาคม 2562  ณ ท่าเทียบเรือ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเขต 3 (กระบี่) ตำบลไสไทย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ จึงขอเชิญชวนประชาชนทั่วไปและชาวประมงในพื้นที่ทุกท่านไปร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีดังกล่าว และขอให้พี่น้องชาวประมงทุกท่านให้ความร่วมมือปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อที่เราจะได้มีทรัพยากรสัตว์น้ำไว้ใช้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต อธิบดีกรมประมง กล่าวทิ้งท้าย
 
 

ข่าวพันธุ์สัตว์น้ำ+อธิบดีกรมประมงวันนี้

กรมประมง…ชวนเกษตรกรใช้งานระบบ "FisheriesFry Shop" สั่งจองลูกพันธุ์สัตว์น้ำคุณภาพดี มีมาตรฐาน ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ใช้งานง่าย ในคลิกเดียว !!!

กรมประมง…ชวนใช้งานระบบจำหน่ายพันธุ์สัตว์น้ำออนไลน์ "FisheriesFry Shop" Pre order สั่งจองลูกพันธุ์สัตว์น้ำล่วงหน้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ด้วยตนเอง หนุนกระจายลูกพันธุ์สัตว์น้ำคุณภาพดี มีมาตรฐานจากหน่วยผลิตกรมประมง 88 แห่งทั่วประเทศ นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า "ลูกพันธุ์สัตว์น้ำ" เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่มาจากโรงเพาะฟัก เนื่องจากเป็นลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่มีการเจริญเติบโตเร็ว

นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เป็นปร... กรมประมงจัดทีมเร่งอพยพพ่อ-แม่พันธุ์สัตว์น้ำในพื้นที่เสี่ยงแล้ง — นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เป็นประธานเปิดกิจกรรมย้ายพันธุ์สัตว์น้ำสู่บ้านใหม่ที่ป...

12 สิงหา มหาราชินี วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 กรมประมง ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 50 ล้านตัว ทั่วประเทศ

กรมประมง จัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 50 ล้านตัว ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ...

นายพีรภัทร แสงสุนีย์ (ที่ 3 จากขวา) รองกร... ภาพข่าว: “SYS” สานพลังชุมชนจัดโครงการ “รวมใจรักษ์หาด คืนธรรมชาติสู่ท้องทะเล” — นายพีรภัทร แสงสุนีย์ (ที่ 3 จากขวา) รองกรรมการผู้จัดการ และ ดร.เภา บุญเยี่ย...

กรมประมง...เข้มมาตรการควบคุมสัตว์น้ำต่างถิ่น หลังพบการระบาดหลายชนิด หวั่นกระทบระบบนิเวศธรรมชาติ

จากกรณีที่พบการแพร่ระบาดของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่น (Alien Species) ในประเทศไทยหลายสายพันธุ์ อาทิ ปลาซัคเกอร์ หอยเชอรี่ เต่าญี่ปุ่น รวมถึงปลาหมอสีคางดำ และปลาพีคอกแบส ที่ขณะนี้สื่อมวลชนได้นำ...

กรมประมงแจงแนวทางในการควบคุมการทำการประมง เพื่อลดอัตราการจับสัตว์น้ำขนาดเล็ก

จากข่าวที่เรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์บังคับใช้ ม.57 พระราชกำหนดการประมง 2558 เพื่อยับยั้งการทำลายพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อน เนื่องจากเครื่องมือทำการประมงในประเทศไทยมีหลายชนิด และทุกชนิดมักมีสัตว์น้ำขนาด...