โครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วน: มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ในฐานะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ดำเนินโครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วน : มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 โดยมีกรอบวงเงิน 78,294.85 ล้านบาท ประกอบด้วย
          (1) โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระยะเร่งด่วน วงเงินรวม 37,602.84 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำโดยการจัดทำระบบประปาหมู่บ้านและระบบชลประทานเพื่อกักเก็บน้ำ และการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยโดยการจัดทำระบบป้องกันน้ำท่วม พัฒนาระบบการระบายน้ำ ระบบผันน้ำ และระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงการศึกษาสำรวจและออกแบบโครงการขนาดใหญ่ที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปีงบประมาณ 2559
          (2) โครงการพัฒนาระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน วงเงินรวม 40,692.01 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงบูรณะทางหลวง การปรับปรุงทางจักรยาน การติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างและป้ายจำกัดความเร็ว แก้ไขจุดเสี่ยง การเพิ่มช่องจราจร การขยายเส้นทางการปรับปรุงถนนทางแยกและทางกลับรถ
          การดำเนินโครงการดังกล่าวจะสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตได้ตามเป้าหมายผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ ซึ่งโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วนเป็นโครงการขนาดกลางและขนาดเล็กมีพื้นที่ดำเนินการกระจายในภูมิภาคต่างๆ และมีความพร้อมสามารถดำเนินการได้ทันทีในปี 2558 โดยคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายเงินได้ 32,954.72 39,756.31 และ 5,583.82 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2558 2559 และ 2560 ตามลำดับ
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงการคลังกู้เงินตราต่างประเทศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในกรอบวงเงินไม่เกิน 80,000 ล้านบาท และถ้าภาวะตลาดการเงินในประเทศเอื้ออำนวยและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการเงิน การคลัง และตลาดทุน กระทรวงการคลังสามารถกู้เป็นเงินบาทแทนการกู้เงินตราต่างประเทศได้
          เพื่อเตรียมการจัดหาเงินกู้สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาการจัดหาเงินกู้และบริหารเงินกู้ โดยคณะทำงานฯ ได้พิจารณาสภาวะของตลาดการเงินและสภาพคล่องทั้งต่างประเทศและในประเทศ ต้นทุนการกู้เงินของรัฐบาล และรูปแบบ การเบิกจ่ายเงินกู้แล้ว เห็นควรกู้เงินบาทจากสถาบันการเงินในประเทศแทนการกู้เงินตราต่างประเทศสำหรับใช้ในการดำเนินโครงการในไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2558 (เมษายน – มิถุนายน 2558) โดยมีวงเงินกู้ 10,000 ล้านบาท สำหรับวงเงินกู้สำหรับไตรมาสที่ 4 (กรกฎาคม-กันยายน 2558) จะพิจารณาในโอกาสต่อไปเมื่อทราบผลการลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานเจ้าของโครงการ ซึ่งคาดว่าจะสามารถผูกพันสัญญาได้ครบถ้วนทุกโครงการไม่เกินเดือนมิถุนายน 2558
          นอกจากนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลางได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานเจ้าของโครงการภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2558 เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายเงินกู้ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 โดยได้เร่งรัดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่ได้รับอนุมัติไว้เพื่อให้มีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเร็วตามนโยบายของรัฐบาลโดยสำนักงบประมาณจะเร่งจัดสรรเงินกู้ให้แก่หน่วยงานเจ้าของโครงการผ่านระบบ e-Budgeting และหน่วยงานเจ้าของโครงการสามารถเบิกจ่ายเงินกู้ได้ทันทีตามงวดการเบิกจ่ายผ่านระบบ GFMIS ทั้งนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจะได้ติดตามการดำเนินโครงการและประเมินผลการดำเนินงานเพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีเป็นระยะๆ ต่อไป


ข่าวสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ+ธีรัชย์ อัตนวานิชวันนี้

กรุงไทยจับมือ สบน. พลิกโฉมการซื้อขายพันธบัตรสู่ระบบดิจิทัล ครั้งแรกแบบ Real Time ผ่านวอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง

ดร. อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัว วอลเล็ต สบม. (วอลเล็ตสะสมบอนด์มั่งคั่ง) เพื่อรองรับการซื้อขายพันธบัตรแบบดิจิทัล ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่พลิกกระบวนท่าการซื้อขายพันธบัตร

สบน.ชี้แจงเกี่ยวกับการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ

นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ชี้แจงเกี่ยวกับ การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2562 ครั้งที่ 1 และนิยามหนี้สาธารณะ ดังนี้ การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2562...

สบน. ชี้แจงหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2561

นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ชี้แจงประเด็นปรากฏข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เกี่ยวกับตัวเลขหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2561 โดยเปรียบเทียบกับตัวเลขหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2557...

รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2560

นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ ได้รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2560 มีจำนวน 6,185,431.38 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น หนี้รัฐบาล 4,759,892.16 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 967,318.90 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน ...

ผลการดำเนินธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ แถลงว่าสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ดำเนินธุรกรรม Bond Switching ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2560 โดยดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ได้ครบตามวง...

ความคืบหน้าในการแก้ไขกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ

นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ แถลงว่า สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้เสนอแก้ไขกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559 ปัจจุบันคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายแล้วเสร็จ...

รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2559

นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษา ด้านตลาดตราสารหนี้ ได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะ คงค้าง ดังนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 สิงหาคม 2559 มีจำนวน 5,949,330.64 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.64 ของGDP โดย...

รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2559

นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ดังนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 30 มิถุนายน 2559 มีจำนวน 5,924,055.53 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.83 ของ GDP โดยแบ่งเป็น...