ธรรมศาสตร์ สร้างชื่อระดับนานาชาติอีกครั้ง ส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์คว้าเหรียญรางวัลรวมสูงสุด 19 รางวัล จากการประกวดผลงานการประดิษฐ์นานาชาติประจำปี 2015 ที่กรุงเจนีวา

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โชว์ศักยภาพนักประดิษฐ์ไทยในเวทีสากลอีกครั้ง กวาด 19 รางวัล จากการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์นานาชาติที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ด้วย 3 เหรียญทองเกียรติยศ 4 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 3 เหรียญทองแดง และ 6 รางวัลพิเศษ ที่มอบให้โดยนานาประเทศ
          ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเมธีวิจัยอาวุโส สกว. หนึ่งในทีมนักวิจัยที่นำผลงานเข้าร่วมประกวดครั้งนี้ เปิดเผยว่า ตามที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนักวิจัยธรรมศาสตร์ร่วมงานประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติครั้งที่ 43 “the 43rd International Exhibition of Inventions of Geneva” ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อวันที่ 15-19 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้น 14 ผลงาน ปรากฎว่า ผลงานของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น 19 รางวัล แบ่งเป็น3 เหรียญทองเกียรติยศ 4 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 3 เหรียญทองแดง และ 6 รางวัลพิเศษ นับเป็นความภาคภูมิใจที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยบนเวทีที่มีความสำคัญระดับโลก
          “การเข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ณ กรุงเจนีวา ในครั้งนี้ ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยท่านอธิการบดี ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ตลอดจนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทั้งด้านทุนสนับสนุนการประกวดสิ่งประดิษฐ์และงานสร้างสรรค์ในระดับนานาชาติเป็นการเฉพาะ ตลอดจนการส่งเสริมนักวิจัยที่เป็นพันธมิตรวิจัยต่างสถาบันและการวิจัยเพื่อการผลิตสู่เชิงพาณิชย์ อันนับเป็นการเปิดโลกกว้างของงานวิจัยไทยสู่ระดับสากลมากยิ่งขึ้น” ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ กล่าว
          สำหรับการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์นานาชาติแห่งเจนีวาเป็นการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญงานหนึ่งของโลก ในแต่ละปีมีนักประดิษฐ์จากนานาประเทศทั่วโลกส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดเป็นจำนวนมาก โดยในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 43 และมีการมอบรางวัลแยกตามประเภทกลุ่มผลงาน (class) ทั้งนี้ การเข้าร่วมการประกวดของทีมนักประดิษฐ์ไทยดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
3 ผลงานที่ได้รับเหรียญทองเกียรติยศได้แก่
          (1) เบ้าหล่อสำหรับซีเมนต์ผสมยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาข้อสะโพกติดเชื้อ (Spacer mold for mobile spacer in infected total knee arthroplasty) โดย รศ.นพ.ปิยะ ปิ่นศรศักดิ์ และคณะ จากคณะแพทยศาสตร์ มธ. เบ้าหล่อสำหรับซีเมนต์ผสมยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาข้อสะโพกติดเชื้อเป็นเบ้าหล่อที่ใช้ขึ้นรูปซีเมนต์ผสมยาฆ่าเชื้อให้มีลักษณะเหมือนข้อเทียมใส่ในข้อสะโพกที่ติดเชื้อเพื่อฆ่าเชื้อโรคบริเวณรอบข้อและสามารถขยับข้อต่อได้เหมือนข้อจริง มีลักษณะพิเศษคือสามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อของแต่ละบุคคลได้ ลดการสึกกร่อนของกระดูกที่เกิดจากขนาดของข้อที่ไม่เหมาะสม (Class M: Medicine - Surgery - Orthopedics - Material for the Handicapped)
          (2) ระบบย่อเชิงความหมายจากเอกสารภาษาไทยหลายเอกสารแบบอัตโนมัติ โดย ศ.ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง และคณะ จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มธ. ระบบย่อความเชิงความหมายจากเอกสารจะช่วยให้ผู้ใช้ได้อ่านข่าวสรุปย่อเพื่อประหยัดเวลาและรับรู้ความแตกต่างของข่าวจากต่างสำนักพิมพ์ได้ภาษาไทยหลายเอกสารแบบอัตโนมัติ โดยระบบย่อความฯ นี้จะนำเอกสารข่าวจากหลายแหล่งมาหาความสัมพันธ์เพื่อจัดว่า ข่าวชุดใดเป็นข่าวเดียวกันแต่ต่างสำนักพิมพ์ ข่าวชุดใดเป็นข่าวที่นำเสนอต่อเนื่องกัน ข่าวชุดใดมีความสัมพันธ์เชิงความหมายแต่ไม่ได้เป็นข่าวเดียวกัน หลังจากนั้น ทำการนำข่าวแต่ละชิ้นของชุดข่าวนั้นมาทำการสกัดใจความเพื่อให้ทราบว่าใคร ทำอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อใดเวลาใด แล้วนำใจความสำคัญเหล่านั้นมาประติดประต่อกัน โดยตัดความซ้ำ ตัดส่วนเสริมที่ไม่สำคัญประติดประต่อใจความที่เหลือแล้วทำเป็นสรุปข่าวขึ้น (Class C: Computer Sciences-Software-Electronic-Electricity-Method of Communication)
          (3) ระบบตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างอัตโนมัติด้วยสัญญาน Transcranial Doppler Ultrasound (Automatic Stroke Screening System using Transcranial Doppler Ultrasound) โดย รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. ระบบตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างอัตโนมัติโดยใช้สัญญานTranscranial Doppler Ultrasound สามารถตรวจจับสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (Cerebral emboli) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักมากกว่า80% ของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด มีค่าความไว 99% และค่าความจำเพาะ 90% สามารถใช้สนับสนุนการทำงานของแพทย์ในการเผ้าระวังสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดที่เกิดขึ้นระหว่างการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Cerebral angiography) และสามารถใช้สนับสนุนแพทย์ในการตรวจคัดกรองสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดในผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหน่วยแพทย์ห่างไกลที่ขาดแคลนบุคลากร (Class M: Medicine - Surgery - Orthopedics - Material for the Handicapped)

4 ผลงานที่ได้รับเหรียญทองได้แก่

          1) เตียงพลิกตะแคงตัวระบบไฟฟ้า โดย ผศ.จิณพิชญ์ชา มะมม และคณะ จากคณะพยาบาลศาสตร์ มธ. เตียงนอนพลิกตะแคงตัวระบบไฟฟ้าจะทำงานโดยใช้ไฟฟ้ามีคุณสมบัติ 1) สามารถพลิกตะแคงตัวซ้ายและขวาระหว่าง 0-30 องศากับแนวระนาบเพื่อป้องกันการเกิดแรงกดทับบริเวณปุ่มกระดูก 2) สามารถยกหัวเตียงระหว่าง 0-60 องศากับแนวระนาบเพื่อป้องกันการเกิดแรงกดทับบริเวณท้ายทอย ใบหู ใบหน้าและเพื่อยกศีรษะสูงเวลารับประทานอาหาร หรือเวลาเปลี่ยนอิริยาบถ 3) สามารถยกส่วนข้อพับเข่า 0-45 องศากับแนวระนาบเพื่อป้องกันการเกิดแรงกดทับบริเวณใต้เข่า ข้อเข่า ส้นเท้า ตาตุ่ม เตียงพลิกตะแคงจะช่วยอำนวยความสะดวกในการพลิกตะแคงอย่างถูกต้องแก่ผู้ป่วย ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหวหรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ที่กลับไปอาศัยอยู่ที่บ้าน ลดภาระงานของพยาบาลหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน และส่งผลทำให้คุณภาพการดูแลผู้ป่วยดีมากขึ้น (Class M: Medicine - Surgery - Orthopedics - Material for the Handicapped)
          (2) เตียงปรับระดับเพื่อการจัดท่าสำหรับทารกและเด็กเล็ก (Pediatric Posture-Gyro) โดย อ.สุภาวดี ทับกล่ำ และคณะ จากคณะพยาบาลศาสตร์ มธ. เตียงปรับระดับเพื่อการจัดท่าสำหรับทารกและเด็กเล็กเป็นเตียง Multi-functionเพื่อใช้ในการพยาบาลเพื่อการจัดท่า Postural drainage สำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดิน หายใจ และทารกที่มีปัญหาทางระบบประสาท เพื่อในการจัดท่าให้ทารกและเด็กเล็กเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายเสมหะได้ดีขึ้น ลดเวลาในการรบกวนทารก/เด็กเล็กจากการจัดท่า ลดการใช้ออกซิเจน 2. เพื่อใช้ในการจัดท่าผู้ป่วยเด็ก/ทารกที่มีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร Gastroesophageal reflux disease (GERD) โดยเตียงสามารถปรับระดับ สูง-ต่ำ ซ้าย-ขวา ในองศาที่กำหนดไว้สำหรับทารกและเด็กเล็ก โดยสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย และสามารถติดตั้งบนชุดเตียงทั่วไปได้ โดยเตียงนี้จะมีที่นอนรองรับตัวเด็กซึ่งถูก ออกแบบให้รองรับตัวเด็กพร้อมทั้งมีส่วนนูนด้านเพิ่มขึ้นจากแนวระนาบเพื่อป้องกันการเลื่อนไถล ขณะเดียวกันเด็กจะถูกผูกยึดโดย safety-belt ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีลักษณะคล้ายผ้าห่อตัวเด็ก มีสีสันสดใส สามารถยึดเด็กไว้ในขณะที่เตียงถูกปรับเอียงด้านซ้าย-ขวา หรือบน-ล่างเพื่อป้องกันตัวเด็กเลื่อนไถลไปตามมุมองศา (Class M: Medicine - Surgery - Orthopedics - Material for the Handicapped)
          (3) เครื่องตรวจจับประจุไฟฟ้าบนวัสดุอนุภาคนาโน (Nanoparticle Material Charge Detector) โดย ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. และรศ.ดร. พานิช อินต๊ะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภายใต้โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. เครื่องตรวจจับประจุวัสดุอนุภาคนาโนต้นแบบนี้จะทำงานโดยการดูดตัวอย่างวัสดุอนุภาคนาโนที่ต้องการวัดผ่านท่อเก็บตัวอย่างและถูกอัดประจุด้วยชุดให้ประจุไฟฟ้าอนุภาคแบบโคโรนา จากนั้นวัสดุอนุภาคนาโนจะผ่านเข้าไปยังชุดดักจับไอออน เพื่อกำจัดไอออนอิสระที่มีความสามารถในการเคลื่อนตัวทางไฟฟ้าสูงออกก่อน เมื่อออกจากชุดดักจับไอออนแล้ววัสดุอนุภาคนาโนที่มีประจุจะผ่านเข้าไปยังชุดตรวจจับประจุไฟฟ้าอนุภาคเชิงไฟฟ้า เพื่อตรวจวัดระดับประจุไฟฟ้าสถิตของอนุภาค โดยวัสดุอนุภาคนาโนทั้งหมดจะถูกสะสมตัวบนแผ่นตกกระทบด้วยวิธีการตกกระทบเนื่องจากความเฉื่อยและแรงทางไฟฟ้าที่จ่ายให้กับขั้วอิเล็กโทรด ซึ่งแผ่นตกกระทบจะถูกเชื่อมต่อเข้าเครื่องวัดกระแสต่ำอิเล็กโทรมิเตอร์เพื่อการวัดระดับกระแสไฟฟ้า โดยค่ากระแสไฟฟ้าที่วัดได้จะมีความสัมพันธ์กับประจุไฟฟ้าสถิตของวัสดุอนุภาคนาโน และค่ากระแสไฟฟ้าที่วัดได้จากชุดตรวจจับประจุไฟฟ้าอนุภาคเชิงไฟฟ้าจะถูกนำไปประมวลผลข้อมูลด้วยหน่วยประมวลผลข้อมูลภายใน เพื่อแสดงกราฟความเข้มข้นเชิงจำนวนของวัสดุอนุภาคนาโนเครื่องตรวจจับต้นแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถวัดจำนวนความเข้มข้นของวัสดุอนุภาคนาโนได้ในช่วง 7.45 × 108และ 7.45 × 1011 particles/m3 สอดคล้องกับค่ากระแสไฟฟ้าของอนุภาคในช่วง10 fA ถึง 10 pA ใช้เวลาในการประมวลผลน้อยกว่า 200 ms (Class C: Computer Sciences-Software-Electronic-Electricity-Method of Communication)
          (4) ระบบเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กเพื่อผลิตปุ๋ยชีวภาพ โดย ผศ.ดร.สุเปญญา จิตตพันธ์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ระบบเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กเพื่อผลิตปุ๋ยชีวภาพ ประกอบด้วย ถังน้ำขนาด 18.9 ลิตร วางบนขาตั้งเหล็กซึ่งออกแบบมาให้สามารถปรับเอียงองศาได้ และให้อากาศโดยใช้ปั๊ม ระบบนี้มีข้อดี คือ เป็นระบบที่เคลื่อนย้ายได้ ประกอบได้ง่ายและสามารถเพาะเลี้ยงในภาคสนามได้ ลดการปนเปื้อนจากภายนอกได้ ลดการระเหยของน้ำ ไม่เกิดการรั่วซึ่มของน้ำ แสงส่องผ่านได้ทั่วถึง ทำให้สาหร่ายเจริญเติบโตได้ดี สามารถเพาะเลี้ยงสาหร่ายได้ต่อเนื่องถึง 5 รอบ เป็นการลดต้นทุนในการเพาะเลี้ยงทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายและระยะเวลา และสามารถติดตั้งเป็นแหล่งผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้ครัวเรือนได้ (Class K: Agriculture-Horticulture-Gardening)

3 ผลงานที่ได้รับเหรียญเงิน ได้แก่
          (1) แกนเหล็กเพื่อตัดแนวกระดูกในการทำผ่าตัดข้อไหล่เทียมรายบุคคล (Patient Specific Drill-Guide forAssisting Shoulder Arthroplasty Surgery) โดย รศ.ดร.นพ.บัญชา ชื่นชูจิตต์ นพ.อดินันท์ อภิวัฒน์การุญ นพ.พิงควรรศ คงมาลัย คณะแพทยศาสตร์ มธ. ร่วมกับ ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป ดร.ณัฐพล จันทร์พาณิชย์ จากMTEC สวทช. แสดงผลงานการผ่าตัดเปลี่ยนข้อไหล่เทียมในผู้ป่วยที่มีข้อไหล่เสื่อมโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ โดยใช้คอมพิวเตอร์วางแผนการผ่าตัดล่วงหน้า ร่วมกับใช้เทคโนโลยีการขึ้นรูปสามมิติจากเลเซอร์ printer ทำให้เราสามารถกำหนดแกนของหัวกระดูกต้นแขน และทิศทางตำแหน่งการเจ้าสกรูที่กระดูกสะบัก ทางคณะผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนาแม่แบบการเจาะรายบุคคล ซึ่งออกแบบโดยใช้ข้อมูลคอมพิวเตอร์เอกซเรย์ของผู้ป่วย และตำแหน่งทิศทางการเจาะจะคำนวณจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการผลิตที่ใช้เทคนิคการขึ้นรูปแบบชั้น จึงมีข้อดีในเรื่องของรูปทรงที่รับกับการวิภาคและมีความแม่นยำในการกำหนดตำแหน่ง งานประดิษฐ์ชึ้นนี้จึงนับว่าช่วยศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ในการผ่าตัดให้สะดวกมากขึ้น เพิ่มความมั่นใจในการผ่าตัด รวมถึงคนไข้ที่มีผลการรักษาดีขึ้น (Class M: Medicine - Surgery - Orthopedics - Material for the Handicapped)
          (2) Ba + BuaLeaf: The Green-shared Products with Integrated Design โดย ผศ. ดร. เขียนศักดิ์ แสงเกลี้ยง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มธ. เป็นนวัตกรรมด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ จากวัสดุจากธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีเอกลักษณ์ สร้างมูลค่าเพิ่มทางการออกแบบและแนวคิดเชิงสร้างสรรค์อย่างหลากหลาย (Class H: Furnishing-Interior Architecture)
          (3) โคมไฟ S-Pleating โดย อ.พยัพ ภักดีเหลา และน.ส.พิไลพร นุ่นมา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มธ. โดยแรงบันดาลใจในการสร้างพื้นผิวของโคมไฟมาจากหลังคาที่มีการสลับช่องของพื้นผิวและที่ว่าง รูปทรงที่มีลักษณะบิดเกลียว ทำให้เกิดช่องว่างของพื้นผิวภายในทำให้แสงและเงาที่ลอดผ่านมีความหลากหลายแตกต่างกันไป ตามจังหวะและรูปแบบการบิด (Class H: Furnishing-Interior Architecture)

3 ผลงานที่ได้รับเหรียญทองแดง ได้แก่
          (1) ระบบควบคุมแสงแดดอัตโนมัติด้วยพฤติกรรมมนุษย์ (Automatic Daylight Control System based on Human Behavior) โดย ดร.ชาวี บุษยรัตน์ อ.พฤฒิพร ลพเกิด นายพิสัย สีบำรุงสาสน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มธ. ระบบควบคุมแสงธรรมชาติแบบอัตโนมัติสามารถปรับเปลี่ยนปริมาณแสงธรรมชาติที่ส่องผ่านเข้ามาในอาคารให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ติดตั้งเข้ากับหน้าต่างอาคารหรือช่องเปิดอื่นๆเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน ช่วยเหลือผู้พิการ หรือใช้ในการพัฒนาสมาร์ทโฮม (Class D: Building-Architecture-Civil Engineering-Construction-Material-Woodwork)
          (2) เครื่องผลิตไบโอดีเซลพลังงานต่ำ Purified biodiesel production unit using a continuous flow multimodes-double feed microwave heating โดย ผศ.ดร.มาลี สันติคุณาภรณ์ และคณะ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. (Class A: Mechanics –Engines-Machinery-Tools-Industrial Processess-Metallurgy)
          (3) ถุงเลือกผ่านแก๊สและเม็ดขัดผิวจากพอลิเมอร์ชีวภาพอลิแลคไทด์ โดย รศ.ดร.ปกรณ์ โอภาประกาศิต และคณะ จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มธ. สิ่งประดิษฐ์นี้เป็นผลิตภัณฑ์เม็ดขัดผิวจากโคพอลิเมอร์พอลิแลคไทด์ ซึ่งสามารถเชื่อมขวางได้ โดยสามารถปรับแต่งขนาด ลักษณะพื้นผิว ความนิ่ม และเก็บกักสารสำคัญไว้ในเม็ดได้ จึงใช้ทดแทนผลิตภัณฑ์เดิมที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างสูง นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ถุงพลาสติกที่มีความสามารถเลือกผ่านแก๊สCO2/O2 ได้ โดยผลิตจากสารเติมแต่ง ที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งเหมาะกับการใช้งานเป็นทางด้านบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (Class Q: Food Stuffs-Drinks-Cosmetics-Paramedical-Health-Hygiene)

6 ผลงานที่ได้รับรางวัลพิเศษ (Special Prize) ได้แก่
          (1) รางวัลพิเศษจากประเทศการ์ตาร์ -- แกนเหล็กเพื่อตัดแนวกระดูกในการทำผ่าตัดข้อไหล่เทียมรายบุคคล โดย รศ.นพ.บัญชา ชื่นชูจิตต์ และคณะ จากคณะแพทยศาสตร์ มธ.
          (2) รางวัลพิเศษจากประเทศไต้หวัน-- เตียงพลิกตะแคงตัวระบบไฟฟ้า โดย ผศ.จิณพิชญ์ชา มะมม และคณะ จากคณะพยาบาลศาสตร์ มธ.
          (3) รางวัลพิเศษจากประเทศโปแลนด์--ระบบเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กเพื่อผลิตปุ๋ยชีวภาพ โดย ผศ.ดร.สุเปญญา จิตตพันธ์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ.
          (4) รางวัลพิเศษจากประเทศมาเลเซีย-- Ba + BuaLeaf: The Green-shared Products with Integrated Designโดย ผศ. ดร. เขียนศักดิ์ แสงเกลี้ยง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มธ.
          (5) รางวัลพิเศษจากประเทศโปแลนด์- เครื่องผลิตไบโอดีเซลพลังงานต่ำPurified biodiesel production unit using a continuous flow multimodes-double feed microwave heating โดย ผศ.ดร.มาลี สันติคุณาภรณ์ และคณะ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ.
          (6) รางวัลพิเศษจากประเทศอิหร่าน-- เครื่องตรวจจับประจุไฟฟ้าบนวัสดุอนุภาคนาโน (Nanoparticle Material Charge Detector) โดย ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. และรศ.ดร.พานิช อินต๊ะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภายใต้โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว.
 

ข่าวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์+ผดุงศักดิ์ รัตนเดโชวันนี้

วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนัก... รวมใจ ให้โลหิต 1 พฤษภาคม วันแรงงานไทย May Day : Give Blood Save Lives — ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีมหาวิทยา...

พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เ... สัญญาณเตือนระดับชาติ! มธ. ชี้ชัด "สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ" ตัวเร่งวิกฤตเศรษฐกิจไทย — พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เผยตัวเลขผู้สูงวัยเตรียมพุ่งสูง...

นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ประธานเจ้าหน้า... แว่นท็อปเจริญ จับมือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนาม MOU ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต พัฒนาศักยภาพสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง — นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ประ...

ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวย... สวทช. คว้า 2 รางวัลผลิตสื่อสร้างสรรค์จากเวที Commu Max Competition จากผลงาน Thailand's Food Bank และ Innovation Grows@TSP — ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนง...

นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ... AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน — นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสื... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...

อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเ... อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม — อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...

ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุ... นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์ — ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เผยผลการสำรวจ... มธ. เผย 'บัณฑิตธรรมศาสตร์' กวาดตำแหน่งงานในตลาดสูงถึง 92% ครอบคลุมกลุ่มสายสังคม วิทย์เทคโน วิทย์สุขภาพ พร้อมชี้ 'Soft Skills - ประสบการณ์ตรง' ทักษะเด่นบัณฑิต มธ. — มหาวิทยาลัย...